Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/27413
Title: บทบาทและฐานะของครูโสตทัศนศึกษาในโรงเรียนระดับมัธยมศึกษา เขตกรุงเทพมหานคร
Other Titles: Roles and status of the audio-visual teacher in secondary school : Bangkok methopolis
Authors: สุวรรณา โชติสุกานต์
Other author: สุนันท์ ปัทมาคม
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.บัณฑิตวิทยาลัย
Issue Date: 2523
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยนี้มีความมุ่งหมายเพี่อศึกษาถึง บทบาทและฐานะของครูโสตทัศนศึกษาในโรงเรียนระดับมัธยมศึกษา เขตกรุงเทพมหานคร ผู้วิจัยได้ดำเนินงานโดยส่งแบบสอบถามไปยังตัวอย่างโรงเรียนที่สุ่มตามอัตรส่วนจำนวนโรงเรียนในแต่ละเขตการศึกษาจำนวน 20 โรงเรียน แบบสอบถามที่ส่งไปยังโรงเรียนดังกล่าวแบ่งออกเป็น แบบสอบถาม ก. สำหรับครูโสตทัศนศึกษาของตัวอย่างโรงเรียน และแบบสอบถาม ข. สำหรับครูผู้สอน สายวิชาละ 2 คน ผลของการวิจัยปรากฎว่า บทบาทของครูโสตทัศนศึกษาในโรงเรียนระดับมัธยมศึกษา คือ การให้บริการและการผลิตสื่อการสอน ตลอจนการให้คำแนะนำเกี่ยวกับการนำสื่อการสอนไปใช้ประกอบการสอนของครูผู้สอน อย่างไรก็ตามครูโสตทัศนศึกษาส่วนมากจะให้บริการด้านสื่อการสอน เช่น การฉายสไลด์, ฟิล์มสตริป และภาพยนตร์ประกอบการสอนของครูผู้สอน มากกว่าการผลิตสื่อการสอน และการให้คำแนะนำเกี่ยวกับการนำสื่อการสอนไปใช้ประกอบการสอน ทั้งนี้ก็เนื่องมาจากครูโสตทัศนศึกษาในโรงเรียนระดับมัธยมส่วนมากไม่ได้สำเร็จการศึกษาด้านโสตทัศนศึกษามาโดยตรง ส่วนในด้านฐานะของครูโสตทัศนศึกษานั้น ครูผู้สอนส่วนมากเห็นคุณค่าและความสำคัญของครูโสตทัศนศึกษาว่า เป็นบุคคลที่สามารถช่วยเหลือให้คำแนะนำในด้าน การเลือก การผลิต และการนำสื่อการสอนไปใช้ประกอบการสอนให้แก่ครูผู้สอน เพื่อช่วยให้การเรียนการสอนบรรลุตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ หน่วยงานโสตทัศศึกษาของโรงเรียนนั้นขึ้นอยู่กับฝ่ายวิชาการ โดยส่วนมากจะมีห้องฉายภาพยนตร์ และห้องปฏิบัติการทางเสียง โสตทัศนูปกรณ์ที่ครูผู้สอนใช้มากที่สุด คือ เทปบันทึกเสียงและสไลด์ ครูผู้สอนส่วนมากชอบใช้บริการด้านโสตทัศนศึกษาของโรงเรียน และต้องการให้หน่วยงานโสตทัศนศึกษาของโรงเรียนจัดการฝึกอบรมเพื่อแนะนำการผลิตและการใช้สื่อการสอนและเทคโนโลยีทางการศึกษาแก่ครูผู้สอน
Other Abstract: The purpose was to study roles and status of Audio-visual teacher in secondary schools of Bangkok Metropolis. Questionnaires were sent to 20 schools which were randomly selected from each academic territory. The questionnaires consist of two sections; section A. for Audio-Visual teachers and section B. for classroom-teachers. The results were : The Audio-Visual teachers’ roles, which generally were supposed to be giving Audio-Visual services, utilization instruction, and producing media, were actually concentrated on operating Audio-Visual equipment instead. This was due to the fact that most of the Audio-Visual teacher in secondary schools did not specialize or major in this field. The status of Audio-Visual teachers: They wee recognized as being essential in giving advices in appropriate media selection, production and utilization so that the objectives could be achieved. Most school Audio-Visual Sections were usually operating under the office of Academic affairs in school, and generally consist of a projecting and recording room. The equipments most frequently used were tape recorders and slide projectors. Most teachers requested for the Audio-Visual training course and urged that advices be given in Audio-Visual utilization.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2523
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: โสตทัศนศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/27413
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Suwanna_Ch_front.pdf465 kBAdobe PDFView/Open
Suwanna_Ch_ch1.pdf677.29 kBAdobe PDFView/Open
Suwanna_Ch_ch2.pdf1.58 MBAdobe PDFView/Open
Suwanna_Ch_ch3.pdf306.15 kBAdobe PDFView/Open
Suwanna_Ch_ch4.pdf1.46 MBAdobe PDFView/Open
Suwanna_Ch_ch5.pdf679.23 kBAdobe PDFView/Open
Suwanna_Ch_back.pdf963.63 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.