Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/27430
Title: การวิเคราะห์การอ้างเหตุผลของนักวิชาการ
Other Titles: An analysis of academicians arguments
Authors: กรรณิการ์ แสนศักดิ์
Advisors: สมหวัง พิธิยานุวัฒน์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Issue Date: 2528
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยนี้มีความมุ่งหมายที่จะศึกษาถึงความถูกต้องและความบกพร่องของการอ้างเหตุผลของนักวิชาการ ที่มีบทความลงพิมพ์ในวารสารภาษาไทยสาขาการศึกษาที่พิมพ์ในระหว่างปี พ.ศ. 2523-2524 ทั้งการอ้างเหตุผลในการเขียนบทความและการอ้างเหตุผลในการให้สัมภาษณ์ ผู้วิจัยใช้วิธีการวิเคราะห์เนื้อหาในการรวบรวมข้อมูล การตัดสินความถูกต้องและความบกพร่องของการอ้างเหตุผลที่พบดำเนินการตามหลักวิธีการทางตรรกศาสตร์ ผลการศึกษาวิจัยครั้งนี้พบว่า 1.การอ้างเหตุผลที่พบในบทความหรือบทสัมภาษณ์ ส่วนใหญ่เป็นการอ้างเหตุผลบกพร่องที่เกิดจาก สาเหตุหลายประการ คือ ความบกพร่องทางด้านเนื้อหา ความบกพร่องจากการใช้ภาษา ความบกพร่องจากการทิ้งเหตุผล และความบกพร่องจากการใช้วิธีผิด ตามลำดับ 2.เมื่อศึกษาเปรียบเทียบสัดส่วนของการอ้างเหตุผลถูกต้องในบทความและบทสัมภาษณ์ปรากฏว่า ไม่แตกต่างกัน ในทำนองเดียวกันเมื่อศึกษาเปรียบเทียบระหว่างบทความในวารสารที่ได้รับการยอมรับว่ามีคุณภาพดีและวารสารอื่นในสาขาการศึกษาเช่นเดียวกันก็พบว่าสัดส่วนของการอ้างเหตุผลถูกต้องไม่แตกต่างกันเช่นกัน
Other Abstract: The purpose of this research was to study the fallacies of academicians whose articles were published in Thai educational periodicals during the year of 2523-2524. These arguments were both in writing articles and in giving interviews. Data were collected and analyzed by using the content analysis technique. The arguaeorise (อ่านไม่ออก) were judged correct or incorrect by means of logic. The findings of the research were as follow: 1.Most fallacious arguments found in the articles and interviews were caused by content fallacy, linguistic fallacy, psychological fallacy and logical fallacy respectively. 2.The comparative study of the academicians’ arguments in the articles and interviews indicated that:- there were no differences in the proportion of correct arguments in these two sources and these were no differences when the comparative study of the academicians’ arguments were undo between the arguments in the articles of admitted-best-quality periodicals and other educational periodicals.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2528
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิจัยการศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/27430
ISBN: 9745641189
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Ganniga_Sa_front.pdf369.15 kBAdobe PDFView/Open
Ganniga_Sa_ch1.pdf654.66 kBAdobe PDFView/Open
Ganniga_Sa_ch2.pdf882.16 kBAdobe PDFView/Open
Ganniga_Sa_ch3.pdf682.41 kBAdobe PDFView/Open
Ganniga_Sa_ch4.pdf389 kBAdobe PDFView/Open
Ganniga_Sa_ch5.pdf468.43 kBAdobe PDFView/Open
Ganniga_Sa_back.pdf1.13 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.