Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/27452
Title: | ความคาดหวังของคณะกรรมการร่างจรรยาครู ครู ผู้ปกครอง และนักเรียนต่อจริยธรรมที่สำคัญสำหรับครู |
Other Titles: | The expectation of teacher ethics drafting committee, teachers, parents and students on important ethics for teachers |
Authors: | สุริยา จารยะพันธุ์ |
Advisors: | ดิเรก ศรีสุโข |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย |
Issue Date: | 2527 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความคาดหวังของกรรมการร่างจรรยาครู ครู ผู้ปกครอง และนักเนียนที่มีต่อจริยธรรมที่สำคัญสำหรับครู และที่ควรกำหนดเป็นจรรยาครู การวิจัยนี้ใช้แบบสอบถามซึ่งประกอบด้วยข้อถามด้านจริยธรรมพื้นฐาน และจริยธรรมสำหรับวิชาชีพจำนวน 80 เป็นเครื่องมือรวบรวมข้อมูล ข้อมูลที่ใช้วิเคราะห์ได้จากตัวอย่างกรรมการร่างจรรยาครูของคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ ครู ผู้ปกครอง นักเรียน ในเขต กรุงเทพมหานคร รวมทั้งสิ้น จำนวน 1,442 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานของคะแนนความคาดหวัง และเปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างคะแนนเฉลี่ยความคาดหวังของประชากรทั้ง 4 กลุ่มเป็นรายข้อโดย F-test และศึกษาว่ากลุ่มใดคาดหวังแตกต่างกันที่ระดับความมีนัยสำคัญที่ .05 โดยเทคนิค เชฟเฟ ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. กรรมการร่างจรรยาครู ครู ผู้ปกครอง และนักเรียน คาดหวังต่อจริยธรรมที่สำคัญสำหรับครู ในระดับสูง คือสำคัญอย่างยิ่งจำนวน 12 ข้อ สำคัญมาก 67 ข้อ และสำคัญพอควร 1 ข้อ จริยธรรมที่ได้รับความคาดหวังในระดับสำคัญอย่างยิ่งได้แก่ มีความซื่อสัตย์สุจริตไม่ฉ้อราษฎร์บังหลวง ไม่ประพฤติตัวเสเพลเป็นนักเลงการพนันหรือชอบอบายมุข ยึดมั่นในสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ ไม่ละทิ้งการสอน เคารพและปฏิบัติตามกฎหมาย ไม่ทำผิดเรื่องชู้สาว ไม่ลักทรัพย์ ไม่นำผลงานทางวิชาการของตนไปใช้ในทางทุจริตหรือเป็นภัยต่อมนุษยชาติ ให้คะแนนอย่างเที่ยงตรง รักและศรัทธาในอาชีพครูอุทิศตนเพื่อศิษย์และการศึกษา มีระเบียบวินัย ต้องรักษาชื่อเสียงมิให้ขึ้นชื่อว่าประพฤติชั่ว 2. เปรียบเทียบความคาดหวังที่มีต่อจริยธรรมที่สำคัญสำหรับครูของประชากรทั้ง 4 กลุ่มปรากฏว่า ประชากรทั้ง 4 กลุ่ม มีความคาดหวังแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญที่ .05 จำนวน 55 ข้อ โดยแตกต่างกันเป็นรายคู่จำนวน 45 ข้อ คู่ที่แตกต่างกันเป็นจำนวนสูงสุดได้แก่ ครูกับนักเรียน คู่ที่สอดคล้องกันมากที่สุดได้แก่นักเรียนกับผู้ปกครอง กรรมการร่างจรรยาครูคาดหวังค่อนข้างต่ำกว่า ครู ผู้ปกครอง และนักเรียน 3. ประชากรทั้ง 4 กลุ่ม คาดหวังต่อจริยธรรมที่ควรกำหนดเป็นจรรยาครูในระดับสูง โดยคาดหวังว่าควรกำหนดเป็นจรรยาครูอย่างยิ่ง จำนวน 3 ข้อ ได้แก่ ไม่ประพฤติตัวเสเพลเป็นนักเลงการพนันหรือชอบอบายมุข มีความซื่อสัตย์สุจริตไม่ฉ้อราษฎร์บังหลวง ยึดมั่นในสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ เปรียบเทียบความคาดหวังที่มีต่อจริยธรรมที่ควรกำหนดเป็นจรรยาครูของประชากรทั้ง 4 กลุ่ม ปรากฏว่าประชากรทั้ง 4 กลุ่มมีความคาดหวังแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญที่ .05 จำนวน 72 ข้อ แตกต่างกันเป็นรายคู่จำนวน 67 ข้อ โดยทั่วไปพบว่านักเรียนและผู้ปกครองคาดหวังสูงกว่าครูและกรรมการร่างจรรยาครู 4. เมื่อเปรียบเทียบความคาดหวังของประชากรทั้ง 4 กลุ่มต่อจรรยาครูของคณะกรรมการศึกษาแห่งชาติ (ระบุเป็นจริยธรรมในแบบสอบถามจำนวน 29 ข้อ) ซึ่งกำหนดเป็นหมวดอุดมการณ์ของครู 2 ข้อ หมวดเอกลักษณ์ของครู 13 ข้อ หมวดมาตรฐานการปฏิบัติตนของครู 14 ข้อ ปรากฏว่าประชากรคาดหวังในระดับสำคัญอย่างยิ่งจำนวน 8 ข้อ เป็นหมวดอุดมการณ์ของครู 1 ข้อ ได้แก่ รักและศรัทธาในอาชีพครูอุทิศตนเพื่อศิษย์ และการศึกษา หมวดเอกลักษณ์ของครู 1 ข้อ ได้แก่ ให้คะแนนอย่างเที่ยงตรง และหมวดมาตรฐานปฏิบัติตนของครู 6 ข้อ ได้แก่ มีความซื่อสัตย์สุจริตไม่ฉ้อราษฎร์บังหลวง ไม่ยุยงผู้คนให้เกิดความแตกร้าวกัน ยึดมั่นในสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ ต้องรักษาชื่อเสียงมิให้ขึ้นชื่อว่าประพฤติชั่ว ไม่นำผลงานทางวิชาการของตนไปใช้ในทางทุจริตหรือเป็นภัยต่อมนุษยชาติ ไม่ละทิ้งการสอน จรรยาครูของคณะกรรมการศึกษาแห่งชาติที่นอกเหนือจากนี้อีก 21 ข้อ ได้รับความคาดหวังในระดับสำคัญมาก |
Other Abstract: | The main purpose of this study was to investigate the expectation of the Ethic Drafting Committee, teachers, parents and students of the significance of morals for teachers and its essences to be counted as important teachers, ethics. A set of 80-item questionnaires consisting’s of a sample of fundamental moral and codes of professional ethics were used as instruments. A number of 1442 samples composing of some members of the Ethics Drafting Committee of the National Education Council, teachers, parents and students in Bangkok Metropolitan was used in the main study. The data were then analyzed by means of means, S.D., and F-tests to test the significant difference among the 4 groups of the samples. Schaffer Tests were also applied as posterior tests when the differences existed at p = .05 The finding can be summarized as follow : 1. The samples in the Ethics Drafting Committee, teachers, parents and students expected that 12, 67 and 1 codes of the moral were essentially, very and moderately important, respectively. The expected essential codes were : to be honest (e.g. not to corrupt), not to be delinquent (e.g. not to be a gamble, a rowdy or a habitual drinker), to trust in the nation religion and royalty, to have responsibility in teaching, to believe and to follow laws and regulations not to be adulterous, not to thieve, not to misuse any of academic outcome, to be fair in assigning grades and marks, to love and trust in this teaching profession, to devote all his strength for his students and education, to be in good discipline, and to be well-behave. 2. The expectations of the 4 groups of subjects in 55 items were significantly different and 45 items of them were in pairwise (p = .05). The number of pairs of such differences between the groups of the teachers and the students was the highest. The groups of the parents and the students had similar expectations. However, among the 4 groups, the members of the Ethic Drafting Committee as a group had the lowest expectations. 3. All the 4 groups of the subjects thought that 3 codes of ethics should be assigned as essential ones. They were : not to be delinquent (e.g. not to be gamble or a habitual drinker), to be honest (e.g. not to corrupt) and to trust in the nation, religion and royalty. Generally speaking, the teacher and the members of the Ethic Drafting Committee had lower expectations of the moral codes that to be in the teachers’ codes of ethics 4. The 4 groups of subjects had 8 expectations of the teachers’ codes of ethics at essential level and 21 at important level. The most expected essential codes were to be honest (e.g. not to corrupt), not to provoke violations, to trust in the nation, religion, and royalty, to have well behaves, not to misuse any of academic outcomes, to be fair in grade and mark assignment, to love and have faith in the teaching profession, to devote all strength for his students and education and to have full responsibility in teaching. However, the lowest expectation of all the subjects in the 4 groups were to economize and to live in simple life to suit the nature of his profession. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2527 |
Degree Name: | ครุศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | วิจัยการศึกษา |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/27452 |
ISBN: | 9745638994 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Grad - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Suriya_Ch_front.pdf | 565.65 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Suriya_Ch_ch1.pdf | 461.14 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Suriya_Ch_ch2.pdf | 864.77 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Suriya_Ch_ch3.pdf | 408.6 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Suriya_Ch_ch4.pdf | 957.67 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Suriya_Ch_ch5.pdf | 681.74 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Suriya_Ch_back.pdf | 1.25 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.