Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/27523
Title: ความใกล้ชิดชุมชนกับการออกเสียง (ħ) ของผู้พูดภาษาไทยถิ่นใต้พลัดถิ่น ที่ หมู่บ้านบางบัวทอง ตำบลบางรักพัฒนา อำเภอบางบัวทอง จังหวัดนนทบุรี
Other Titles: Community closness and the pronunciation of (ħ) in the Southern Thai dialect of displaced Sounthern people in Bang Bua Thong Village Tambon Bang Rak Phatthana Amphoe Bang Bua Thong Nontaburi
Authors: จุฑาภรณ์ พูลเพิ่ม
Advisors: อมรา ประสิทธิ์รัฐสินธุ์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะอักษรศาสตร์
Advisor's Email: Amara.Pr@Chula.ac.th
Subjects: ภาษาไทยถิ่นใต้ -- การออกเสียง
ชุมชน -- ไทย -- บางบัวทอง (นนทบุรี)
Southern Thai language -- Pronunciation
Communities -- Thailand -- Bang Bua Thong (Nonthaburi)
Issue Date: 2554
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: เสียง ฮ ขึ้นจมูก [ħ] ซึ่งเป็นเสียงปฏิภาคกับเสียง ง ในภาษาไทยมาตรฐาน เป็นเสียงหนึ่งที่แสดงอัตลักษณ์ของภาษาไทยถิ่นใต้ งานวิจัยในอดีตที่ศึกษาการแปรของเสียงนี้ โดย ปาลีรัฐ ทรัพย์ปรุง (2536) แสดงให้เห็นว่า การออกเสียงนี้กำลังจะหายไปจากภาษาไทยถิ่นใต้จังหวัดสงขลา แต่ในกรณีที่คนไทยถิ่นใต้ย้ายไปอยู่เป็นชุมชนพลัดถิ่นที่อื่น ซึ่งมีความใกล้ชิดและความสัมพันธ์กันอย่างแน่นแฟ้น คำถามจึงเกิดขึ้นว่าความใกล้ชิดชุมชนจะทำให้คนไทยถิ่นใต้ออกเสียง [ħ] มากน้อยเพียงใด งานวิจัยนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์การแปรในการออกเสียง (ħ) ตามตัวแปรความใกล้ชิดชุมชน เพศและอายุ และวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างความใกล้ชิดชุมชนกับ เพศ และอายุ ของผู้พูดภาษาไทยถิ่นใต้พลัดถิ่น ที่หมู่บ้านบางบัวทอง ตำบลบางรักพัฒนา อำเภอบางบัวทอง จังหวัดนนทบุรี ข้อมูลการออกเสียง (ħ) ได้มาจากการสนทนาต่อเนื่องของผู้บอกภาษาจำนวน 60 คน ส่วนข้อมูลความใกล้ชิดชุมชน ได้มาจากการถามคำถามเพื่อทดสอบความใกล้ชิดชุมชนของผู้บอกภาษาจำนวน 10 ข้อ ผลการวิจัยพบว่า โดยทั่วไปผู้พูดภาษาไทยถิ่นใต้พลัดถิ่นในชุมชนนี้ออกเสียงท้องถิ่น [ħ] มากกว่าเสียงมาตรฐาน [ŋ] โดยกลุ่มผู้พูดที่ออกเสียงท้องถิ่น [ħ] มากที่สุด ได้แก่ กลุ่มมีอายุ 65-75 ปี รองลงมาคือกลุ่มอายุ 45-55 ปี และกลุ่มอายุ 25-35 ปี ตามลำดับ และน้อยที่สุดคือ กลุ่มอายุ 5-15 ปี ผลการศึกษาด้านความสัมพันธ์ระหว่างการออกเสียง [ħ] กับเพศของผู้พูด พบว่าเพศหญิงใช้เสียงท้องถิ่น [ħ] มากกว่าเพศชาย ส่วนผลการศึกษาความใกล้ชิดชุมชน พบว่า ความใกล้ชิดชุมชนลดหลั่นกันตามอายุ กล่าวคือ ผู้พูดยิ่งมีอายุมากก็จะยิ่งมีความใกล้ชิดชุมชนมาก และเมื่อวิเคราะห์ตัวแปรเพศพบว่า เพศหญิงมีความใกล้ชิดชุมชนมากกว่าเพศชาย เมื่อพิจารณาความสัมพันธ์ระหว่างความใกล้ชิดชุมชนกับเพศ อายุและตัวแปรภาษา พบว่า ผู้พูดเพศหญิงและผู้พูดอายุมาก มีความใกล้ชิดชุมชนมากกว่าผู้พูดเพศชาย และผู้พูดอายุน้อย ส่งผลให้ผู้พูดเพศหญิงใช้เสียงท้องถิ่น [ħ] มากกว่าผู้พูดเพศชาย และผู้พูดอายุมากใช้เสียงท้องถิ่น [ħ] มากกว่าผู้พูดอายุน้อย แสดงให้เห็นว่าความใกล้ชิดชุมชนเป็นตัวแปรสำคัญในการกำหนดรูปแบบการใช้ภาษาของผู้พูด ผู้วิจัยคาดว่าภาษาไทยถิ่นใต้ในชุมชนนี้จะยังไม่สูญหายไป ถึงแม้ผลการวิจัยแสดงว่าการออกเสียงท้องถิ่น [ħ] จะลดน้อยลงตามอายุ แต่โดยรวมแล้วผู้บอกภาษาในตำบลบางรักพัฒนาแห่งนี้ ออกเสียงท้องถิ่นมากกว่าเสียงมาตรฐาน ผู้วิจัยคิดว่าความใกล้ชิดชุมชนที่แน่นแฟ้นจะทำให้ภาษาไทยถิ่นใต้ในชุมชนนี้คงอยู่ต่อไป
Other Abstract: The nasalized voiceless pharyngeal fricative [ħ], which corresponds to [ŋ] in Standard Thai, is a distinctive marker of Southern Thai dialect. The previous study of the social variation of this sound by Paleerat Sapproong (1993) showed that this sound was disappearing from Songkhla Southern Thai dialect. It is interesting to find out whether Southern Thai people who move to other parts of Thailand would maintain the pronunciation of [ħ], especially when they live in a closely-knit community with high degree of solidarity. Therefore, this study aims to investigate the relationship between the pronunciation of (ħ) and community closeness, age, and sex of displaced southern people in Bang Bua Thong village, Tambon Bang Rak Phatthana, Amphoe Bang Bua Thong, Nontaburi Province, Thailand. The data of (ħ) pronunciation was collected by recording conversations of sixty displaced southern Thai speakers in a community in Nontaburi. The degree of community closeness was acquired by asking ten questions to test how close each speaker was to their community. The result of the analysis shows that in general the vernacular [ħ] was used more frequently than the standard [ŋ], that the older the speaker is, the more use of [ħ] and that women use [ħ] more than men. Regarding the community closeness, the study also shows that the older the speaker, the more community closeness and that women are closer to the community than men. Considering the relationship between the linguistic variable and all the social variables, it can be concluded that since the female speaker and the older age groups are closer to the community than men and the younger groups, the female and older speakers consequently use the vernacular [ħ] more frequently than the male and younger groups. This study shows that community closeness is an important factor that determines the form of the language used in a community. From the findings of this study, it can be inferred that the vernacular sound marking the identity of Southern Thai dialect would not be lost in this displaced community due to community closeness or solidarity among the members.
Description: วิทยานิพนธ์ (อ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2554
Degree Name: อักษรศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: ภาษาศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/27523
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2011.1435
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2011.1435
Type: Thesis
Appears in Collections:Arts - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
jutaporn_po.pdf1.34 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.