Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/27534
Title: การบังคับใช้กฎหมายป้องกันการผูกขาดในประเทศไทย
Other Titles: Enforcement of anti-trust laws in Thailand
Authors: วิบูลย์ ตั้งกิตติภาภรณ์
Advisors: ไชยยศ เหมะชัยตะ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Subjects: กฎหมายป้องกันการผูกขาด -- ไทย
Antitrust law -- Thailand
Issue Date: 2525
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การแข่งขันเป็นหลักเกณฑ์ขั้นพื้นฐานของระบบเศรษฐกิจแบบทุนนิยม ด้วยความคาดหวังว่าระบบการแข่งขันจะทำให้ราคาสินค้าขึ้นลงตามกลไกของตลาดอย่างอิสระอันจะทำให้ผู้บริโภคสามารถซื้อสินค้าที่มีคุณภาพในราคาที่ยุติธรรม แต่นั่นเป็นได้เพียงความคาดหมายทางทฤษฎีเท่านั้น ในสภาพความเป็นจริงแห่งสังคมระบบทุนนิยม ระบบการแข่งขันหาได้ดำรงอยู่อย่างอิสระไม่ ทั้งนี้เพราะระบบการแย่งแข่งขันมักจะถูกแทรกแซงโดยผู้ประกอบการที่ไร้จรรยาด้วย การจำกัดทางการค้าหรือการปฏิบัติทางการค้าที่ไม่ยุติธรรมในรูปแบบต่างๆ เพื่อครอบงำตลาดและสร้างอำนาจผูกขาดขึ้น การเอารัดเอาเปรียบผู้บริโภคและความปั่นป่วนของตลาดย่อมเกิดตามมาจนเป็นผลให้เกิดความขัดแย้งทางสังคม ด้วยเหตุนี้ระบบการผูกขาดจึงเป็นสิ่งเลวร้ายที่สังคมไม่พึงปรารถนาในที่สุดกฎหมายป้องกันการผูกขาดจึงได้ก่อกำเนิดขึ้นและได้พัฒนามาจากผลแห่งความไม่ซื่อตรงในการใช้อำนาจทางเศรษฐกิจและจากความเชื่อมั่นในหลักการที่ว่า การค้าอิสระที่ใช้อำนาจอย่างเหมาะสมแล้วสามารถให้โอกาสแก่ปัจเจกชนและทำให้คนมีความริเริ่มอย่างไม่หยุดยั้ง การแข่งขันทำให้บรรลุถึงสมรรถภาพสูงสุดในการใช้ทรัพยากรตอบสนองต่อความต้องการของผู้บริโภคและนำมาซึ่งความเจริญก้าวหน้าอย่างสูงสุดทางเทคโนโลยี แต่วัตถุประสงค์ของกฎหมายป้องกันการผูกขาดหาได้มีจุดหมายอยู่ที่ “ระบบการแข่งที่สมบูรณ์” หรือ “การแข่งขันที่บริสุทธิ์” เพราะการแข่งขันที่สมบูรณ์แบบนั้นไม่อาจค้นพบได้ในวงการตลาดที่แท้จริง ดังนั้นในโลกแห่งความเป็นจริงการแข่งขันที่เป็นไปได้สำหรับกฎหมายป้องกันการผูกขาด คือ “การแข่งขันที่ใช้การได้” ซึ่งหมายถึงการแข่งขันที่เป็นจริงนั่นเอง การศึกษาเกี่ยวกับกฎหมายป้องกันการผูกขาด จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องเข้าใจอย่างลึกซึ้งถึงโครงสร้าง รูปแบบและกลไกแห่งอำนาจครอบงำของการผูกขาด จึงเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ที่จะต้องก้าวล่วงเข้าไปศึกษาถึงวิชาเศรษฐศาสตร์ในบางแขนง และเนื่องจากประเทศไทยเป็นประเทศที่กำลังพัฒนา การศึกษากฎหมายป้องกันการผูกขาดของประเทศที่มีความเจริญก้าวหน้าทางพาณิชยกรรมและอุตสาหกรรม เช่น สหรัฐอเมริกา อังกฤษ และประชาคมตลาดร่วมยุโรป ย่อมเป็นแนวทางที่ดีสำหรับนำมาประยุกต์ปรับปรุงระบบกฎหมายป้องกันการผูกขาดของไทย การศึกษากฎหมายของต่างประเทศนี้จะศึกษาถึงวิวัฒนาการ ทฤษฎี และนิติวิธีของกฎหมายดังกล่าวเพื่อนำเอาความคิดและหลักปรัชญาของกฎหมายมาประยุกต์ใช้กับกฎหมายไทย โดยคำนึงถึงนโยบายเศรษฐกิจ จริยศาสตร์และวัฒนธรรมประเพณีทางการค้าของสังคมไทย กฎหมายป้องกันการผูกขาดของไทยได้ตราขึ้นบังคับใช้เมื่อปี พ.ศ.2480 ซึ่งได้แก่พระราชบัญญัติป้องกันการค้ากำไรเกินควร ต่อมาได้มีการตราพระราชบัญญัติป้องกันการทุ่มตลาดในปี พ.ศ.2507 และพระราชบัญญัติสมาคมการค้าและพระราชบัญญัติหอการค้าในปี พ.ศ.2509 เพื่อคุ้มครองผลประโยชน์ของผู้ประกอบการและผู้บริโภค แต่กฎหมายแต่ละฉบับหาได้มีการบังคับใช้อย่างจริงจังไม่ แม้ว่ารัฐจะมีการปรับปรุงแก้ไขเสมอมาจนถึงปัจจุบันนี้รัฐก็ได้ตราพระราชบัญญัติกำหนดราคาสินค้าและป้องกันการผูกขาด พ.ศ.2522 ขึ้น แต่เมื่อวิเคราะห์กฎหมายฉบับใหม่นี้แล้วจะพบว่ากฎหมายยังมีช่องว่างอยู่ ทั้งนี้เพราะความไม่แน่ชัดของบทบัญญัติและการใช้อำนาจดุลพินิจแก่ผู้ใช้กฎหมายมากเกินไปโดยไม่มีองค์กรหรือกลไกควบคุมการใช้อำนาจอย่างเหมาะสม พระราชบัญญัติดังกล่าวจึงทำให้ผู้ประกอบการขาดความมั่นใจและไม่มีหลักประกันที่ดีพอในการตัดสินใจประกอบธุรกิจการค้า นอกจากนี้ความไม่จริงใจของผู้ใช้กฎหมายยังทำให้ผู้บริโภคไม่ได้รับความคุ้มครองอย่างเป็นธรรมเท่าที่ควร ทั้งนี้อาจเนื่องมาจากความบกพร่องในระบบบริหารงานของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องด้วย เพื่อแก้ไขปัญหาที่กำลังเกิดขึ้นอยู่ในขณะนี้ นอกจากการพัฒนาทางด้านนโยบายเศรษฐกิจแล้ว การปรับปรุงกฎหมายป้องกันการผูกขาดให้สมบูรณ์และสอดคล้องกับสภาพความเป็นจริง จึงเป็นสิ่งที่ควรได้รับความสนใจและปฏิบัติมาตรการต่างๆ ที่เหมาะสมควรถูกนำมาใช้ เช่น การออกระเบียบข้อบังคับเพื่อควบคุมปัจจัยต่างๆที่มีอิทธิพลต่อการผูกขาด การเชิญผู้ประกอบการเข้าร่วมประชุมหารือกับหน่วยงานของรัฐเพื่อวางกฎเกณฑ์ในการปฏิบัติทางการค้า การให้คำปรึกษาหารือและออกหนังสือรับรองและการสอบสวนโดยเปิดเผยหากเกิดความขัดแย้งขึ้นระหว่างผู้ประกอบการกับผู้บริโภค ทั้งนี้เพื่อสร้างความเป็นธรรมให้แก่ทุกฝ่ายเมื่อเกิดการกระทำความผิดขึ้นอย่างเห็นได้ชัด กฎหมายควรกำหนดโทษทางอาญาหรือค่าเสียหายทางแพ่งอย่างเหมาะสมเพื่อป้องกันมิให้เกิดการกระทำ เพื่อผูกขาดหรือทำลายระบบการผูกขาดที่เกิดขึ้นแล้วและยับยั้งมิให้เกิดการกระทำผิดขึ้นอีกในอนาคต แต่อย่างไรก็ตาม แม้กฎหมายจะได้รับการปรับปรุงให้อยู่ในสภาพที่ดีเลิศ แต่ถ้าผู้ใช้กฎหมายไม่มีความจริงใจและไม่มีความมุ่งมั่นที่จะสร้างสรรค์ระบบเศรษฐกิจให้ก้าวหน้าอย่างแท้จริงแล้ว กฎหมายย่อมไม่ต่างอะไรไปจากกระดาษที่เปื้อนหมึกเท่านั้นเอง
Other Abstract: Competition is the basic principle of capitalistic economy with the expectation that prices are freely determined by market mechanism which in turn enables the consumers to obtain quality goods at reasonable prices. Nevertheless, that is only expectation in theory, in the real capitalistic market, competition is not as free as it is supposed to be due to the undue interference of unscrupulous enterpreneurs by means of restraint of trade and unfair trade practices in various forms dominating the market and gaining monopoly. This entails advantages over consumers and instability of the market and will lead to social conflicts. Therefore, monopoly is condemnable as well as undesirable, from which Anti-trust law took its origin and development from the abuses of economic powers, and it is believed that free trade provides opportunities for individuals and endless initiative. Competition results optinum exploitation of resources and full satisfactions to consumers as well as the most advanced technology. Nevertheless, the purposes of Anti-trust law are not focussed at "complete competition” or "pure competition”, for they never exist in reality, the possible competition under Anti-trust law is "workable competition" which means real competition. To study Anti-trust law, it is necessary to examine the structure, forms and mechanism of monopoly, it is unavoidable to venture into some branches of economics. Since Thailand is still a developing country, a study into the Anti-trust law of the industrialised countries e.g. the U.S , the U.K. and the EEC. will very well serve as a guideline for the adaptation and improve ment to the Anti-trust laws; in Thailand.lt is advisable to examine these foreign laws, its development, theories and process as well as its philosophy in order to obtain a proper application to the Thai law by taking into account the economic policy, ethics and local trade custom. The first Anti-trust; legislation in Thailand was enacted in 1937, i.e. The Prevention of Excessive Profit Act, and in 1964 The Prevention of Market Domination Act was passed, and in 1966 another two statutes came into existence, namely, The Trade - Associations Act and The Chamber of Commerce Act, aiming at protecting both the enterpreneurs and consumers. However, there was no effective enforcement, despite subsequent amendments, and eventually the Price-Fixing and Anti-Monopoly Act was passed in 1979 hut there are still loopholes due to the uncertainty of the privisions and broad discretion vested in the enforcing authority without proper mechanism to check the exercise of powers. Enterpreneurs gain no confidence from this Act and it does not provide sufficient assurance for any commercial decision In addition the lack of good faith in enforcing this Act provides consumers with inadequate protection. This may be due to the mischief in the administration of the authority concerned. To redress these problems, it is necessary, apart from the implementation of economic policy, to amend the Anti-trust legislations in order to solve the existing problems which are interesting to all. Appropriate measures are such as, regulation on the control over factors influencing monopoly, consultations between enterpreneurs and goverment authority to lay down practical guidelines, giving advice and affirmation, open investi¬gations in case of conflict between enterpreneurs and consumers in order to secure justice to all. Where there are obvious offences, criminal liability should be imposed, as well as civil redress where damages are suffered. This will prevent monopoly or eliminate monopoly already existing and deter future repetitions. However, even if the best amendment were achieved, the law is of no difference from a piece of ink-stained paper, if appropriate application and proper intention to achieve progress cannot be found in the enforcing authority
Description: วิทยานิพนธ์ (น.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2525
Degree Name: นิติศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: นิติศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/27534
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Viboon_Ta_front.pdf896.4 kBAdobe PDFView/Open
Viboon_Ta_ch1.pdf2.44 MBAdobe PDFView/Open
Viboon_Ta_ch2.pdf1.97 MBAdobe PDFView/Open
Viboon_Ta_ch3.pdf4.02 MBAdobe PDFView/Open
Viboon_Ta_ch4.pdf4.75 MBAdobe PDFView/Open
Viboon_Ta_ch5.pdf2.46 MBAdobe PDFView/Open
Viboon_Ta_back.pdf140.64 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.