Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/27595
Title: ผลของการใช้การสอนตนเองต่อการลดความหุนหันของเด็กอายุ 10-12 ปี ในสถานสงเคราะห์เด็ก
Other Titles: Effects of unsing self-instruction in the reduction of impulsivity of ten to twelve year old institutionalized children
Authors: อรพินทร์ อนงคณะตระกูล
Advisors: สมโภชน์ เอี่ยมสุภาษิต
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Issue Date: 2528
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการใช้การสอนตนเองต่อการลดความหุนหันของเด็กอายุ 10-12 ปี ในสถานสงเคราะห์เด็ก กลุ่มตัวอย่างเป็นเด็กอายุ 10-12 ปี ในสถานสงเคราะห์เด็กชายบ้านปากเกร็ด จำนวน 30 คน ซึ่งทำแบบวัดความหุนหัน MFFT ได้คะแนนผิดพลาดสูงมากกว่ามัธยฐานของเด็กวัยเดียวกัน และใช้เวลาสนองตอบต่ำกว่ามัธยฐานของเด็กวัยเดียวกัน โดยที่มัธยฐานของคะแนนผิดพลาดและเวลาสนองตอบนี้เทียบจากตารางเกณฑ์ปกติซึ่ง Salkind (1978) จัดทำขึ้นสุ่มเด็กเป็นกลุ่มสอนตนเอง กลุ่มสอนกลวิธี และกลุ่มฝึกทำกิจกรรมในเครื่องมือฝึก กลุ่มละ 10 คน การวิจัยใช้การทดลองแบบมีกลุ่มควบคุมทดสอบก่อนทดลอง หลังทดลอง และติดตามผล แต่ละกลุ่มได้รับการฝึก 9 ครั้ง ครั้งละ 20-60 นาที เป็นเวลา 3 สัปดาห์ ผู้วิจัยให้กลุ่มตัวอย่างทำแบบวัดความหุนหัน MFFT ซ้ำในระยะหลังทดสอบ และติดตามผล การวิเคราะห์ข้อมูลใช้วิธีการวิเคราะห์ความแปรปรวนสองทางแบบวัดซ้ำแล้วทดสอบความแตกต่างรายคู่ ด้วยวิธีของ Tukey ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มสอนตนเองมีความหุนหันลดลงจากระยะก่อนทดลองโดยด้านคะแนนผิดพลาดในระยะหลังทดลองและติดตามผลต่ำกว่าระยะก่อนทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และด้านเวลาสนองตอบในระยะหลังทดลองและติดตามไม่แตกต่างจากก่อนทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 กลุ่มสอนตนเอง กลุ่มสอนกลวิธี และกลุ่มฝึกทำกิจกรรมในเครื่องมือฝึกมีความหุนหันไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
Other Abstract: The purpose of this study was to study the effects of Self-Instruction in the reduction of impulsivity of 10-12 year old institutionalized children. The subjects were thirty 10-12 year old children from Parkred Home for Boys whose scored fell above the sample median for errors, and below the sample median for latency on the MFFT. These thirty subjects were randomly assigned to 3 groups : a self-instruction group, a strategy approach group and a group using exercise forms. Each group included ten children. This study used the ABF control group design. All subjects were administered the MFFT as a posttest and a follow up test. The data were analyzed through the two-way analysis of variance with repeated measures an Tukey’s pairwise comparisons. Results indicated that subjects using self-instruction had lower impulsivity scores: for this group there was a reduction of error scores form the pretest to the posttest and follow-up significant at the .05 level; there was no significant reduction of latency scores from the pretest to the posttest and the follow up. There was no significant difference on impulsivity scores among the three groups, i.e. self-instruction, strategy approach and exercise forms.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2528
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: จิตวิทยาการศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/27595
ISBN: 9745660507
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Orapin_An_front.pdf425.92 kBAdobe PDFView/Open
Orapin_An_ch1.pdf1.69 MBAdobe PDFView/Open
Orapin_An_ch2.pdf543 kBAdobe PDFView/Open
Orapin_An_ch3.pdf481.68 kBAdobe PDFView/Open
Orapin_An_ch4.pdf496.14 kBAdobe PDFView/Open
Orapin_An_ch5.pdf355.62 kBAdobe PDFView/Open
Orapin_An_back.pdf771.88 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.