Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/27602
Title: การออกแบบพิกัดสำหรับอาคารของโรงเรียนมัธยมศึกษา
Other Titles: Modular design for secondary school building
Authors: สมชาย เอกปัญญากุล
Advisors: วิมลสิทธิ์ หรยางกรู
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Issue Date: 2519
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ปัจจุบันนี้ สภาวะทางการเมือง เศรษฐกิจและสังคมของชาติได้ก่อให้เกิดปัญหาและอุปสรรคต่อการพัฒนาการศึกษาเป็นอย่างมาก ในขณะที่อัตราการเพิ่มของนักเรียนในระดับต่างๆ สูงขึ้น จนการจัดสรรงบประมาณตามปรกติ ไม่อาจตอบสนองความต้องการได้อย่างเพียงพอ นอกจากนี้ยังได้รับกระทบกระเทือนจากโครงการอื่นๆ ของรัฐ เช่น การป้องกันประเทศ และการรักษาความสงบภายใน ซึ่งจะเป็นผลให้งบที่ได้รับเพิ่มไม่เป็นไปตามอัตราส่วน ของปริมาณนักเรียนที่เพิ่มขึ้น ประกอบกับปัญหาเงินเฟ้อ ซึ่งเกิดขึ้นตั้งแต่ ปี พ.ศ. 2517 อันเป็นผลให้ค่าของเงินลดต่ำลง จนเป็นอุปสรรคต่อการลงทุนเพื่อการศึกษาโดยเฉพาะอย่างยิ่ง การก่อสร้างอาคารสถานที่เรียน ทำให้ไม่สามารถขยายการศึกษาให้เป็นไปตามเป้าหมายที่กำหนดไว้ได้ ระดับมัธยมศึกษานับเป็นการศึกษาระดับหนึ่งที่ปริมาณความต้องการมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นในอัตราส่วนที่สูงมาก ถึงแม้กรมสามัญศึกษาระดับหนึ่งที่ปริมาณความต้องการมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นในอัตราส่วนที่สูงมาก ถึงแม้กรมสามัญศึกษาได้พยายามใช้มาตรการแก้ปัญหาเฉพาะหน้าด้วยการเปิดรับนักเรียน 2 ผลัด และการศึกษาผู้ใหญ่แล้ว ก็ยังมิอาจแก้ปัญหาดังกล่าวให้ลดน้อย หรือหมดสิ้นลงได้ โดยเฉพาะปัญหา การขาดแคลนอาคารสถานที่เรียนที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน มีราคาสูงมาก การสร้างตามแบบรายการไม่อาจทำได้จำต้องตัดรายการหรือลดรูปแบบรายการลงเสมอ ทำให้การประมูลล่าช้า จึงปรากฎว่ามีการตัดฝากงบประมาณข้ามปีอยู่เป็นประจำ เป็นเหตุให้อาคารที่ก่อสร้างไม่สามารถสนองประโยชน์ได้เต็มที่และทันเวลามากยิ่งขึ้น โครงการออกแบบพิกัดสำหรับอาคารของโรงเรียนมัธยมศึกษาที่มีนักเรียน 1200-1800 คน มีจุุดมุ่งหมายเพื่อที่จะแก้ปัญหาดังกล่าวในระยยะยาว อันได้แก่ การลดค่าลงทุนในด้านการก่อสร้างอาคารสถานที่เรียนด้วยการปรับปรุงระบบและวิธีการก่อนสร้างให้สอดคล้องกับภาวะกาลทางเศรษฐกิจ และสภาพการศึกษาใหม่ ตามแนวทางของคณะกรรมการปฏิรูปการศึกษา เพื่อให้ได้แนวทางในการปรับปรุงแก้ไขระบบการก่อสร้างอาคารเรียนใหม่ การศึกษานี้ได้แบ่งการวิเคราะห์ออกเป็น 2 ตอน คือ ในตอนแรกเป็นการวิเคราะห์ข้อมูลเบื้องต้นทางการศึกษา และสภาพแวดล้อมทางกายภาพ เพื่อนำมาใช้เป็นตัวกำหนดรูปลักษณะอาคารของโรงเรียนมัธยมใหม่ ส่วนในตอนที่ 2 เป็นการวิเคราะห์ระบบการก่อสร้างอาคารเรียนและอาคารทั่วๆไปในปัจจุบัน เพื่อใช้เป็นประโยชน์ตรงต่อการออกแบบ ทั้งนี้ขอบข่ายของการวิเคราะห์จะมีเนื้อหาสาระครอบคลุ่มในสิ่งสำคัญๆ ดังต่อไปนี้ คือ 1.วัสดุก่อสร้างและแรงงาน (Materials & Labour) 2. เครื่องทุ่นแรง หรือเครื่องมือพิเศษ (Equipment) 3. เทคนิคการก่อสร้าง (Technology) 4. การขนส่ง (Transportation) 5. การจัดการหรือการบริหารงานก่อสร้าง (Construction Management) 6. ปัญหาการเงินทุน (Finance) 7. ภาษี, เงินส่วนเกินและรายจ่ายพิเศษ (Tax, Margin and Contingencies) ผลจากการวิเคราะห์ตามเนื้อหาสาระดังกล่าวได้ชี้ให้เห็นว่า ระบบวิธีการก่อสร้างและระบบการบริหารการก่อสร้างที่เป็นอยู่ ยังไม่เหมาะสม และไม่สอดคล้องกับภาวะกาลทางเศรษฐกิจในปัจจุบัน ด้วยเหตุนี้ การแก้ไขปัญหาดังกล่าวให้ได้ผล จึงต้องทำพร้อมกันทั้ง 2 วิธี คือ: ก.) จะต้องปรับปรุงระบบการบริหารการก่อสร้างให้มีประสิทธิภาพสูง และประหยัด (ในการวิจัยนี้ จะไม่กล่าวถึงรายละเอียดในประเด็นนี้) ข.) จะต้องปรับปรุงแบบรูป และวิธีการก่อสร้างใหม่ โดยลดขึ้นตอนและวิธีการก่อสร้างที่ยุ่งยาก สับสน อันจะเป็นการลดความสิ้นเปลืองวัสดุก่อสร้างแรงงาน และเวลาลง ทั้งนี้ย่อมทำได้ 2 วิธี คือ 1. เปลี่ยนแปลงระบบและวิธีการก่อสร้างใหม่ทั้งหมด 2. เปลี่ยนแปลงระบบ และวิธีการก่อสร้างเพียงบางส่วน แต่จากการพิจารณาสภาพพื้นฐานสำคัญๆ แล้วสรุปได้ การปรับปรุงระบบ และวิธีการก่อสร้างที่เหมาะสมเป็นไปได้จึงควรเป็นการ เปลี่ยนแปลงระบบและวิธีการก่อสร้างเพียงบางส่วน
Other Abstract: At present the political , economic and social situations of the country are combining to pose a grave obstacle to the development of education in Thailand. The rate of increase of students in all levels has gone up to such an extent that normal allocation of budget cannot meet the demand. Education development plans are also hit by other projects which carry a higher priority such as defense and internal security. The increase in education budget as not been in proportion with the increase in the number of students. Inflation which has begun soaring since 1974 also affects the purchasing power of the available budgets. Several projects, particularly educational building plans, could not be carried out according to the perceived target. A very high rate of increase of students is evident at the Mattayom level. Though the Department of Elementary and Adult Education has tried emergency measures by operating two shifts of study as well as starting adult education programs, the measures did not do much to eleviate the problems. In particular, the shortage of school buildings is becoming even more serious than before. The rapidly rising building cost has made it necessary to modify existing building design and process to reduce costs. The rising construction cost in turn delays bidding, and consequently, the budgets often have to pass unspent from one year to the next, while the completed buildings may have been modified to such an extent that they cannot fully serve their intended purpose. A modular design for a secondary school building project, which has a student total between 1200-1800 in all grades, aims at reaching a long term solution to these problems by reducing initial investment in the construction of school buildings. This study focuses on modifying construction method and building system to suit the state of the economy as well as the new educational system according to the reform trend. This analytical study has been divided into two main parts. The first part is a basic analysis of education system and physical environment. It provides information for now approaches to school building design. The second part is an analysis of construction methods and process involved in the building of existing school buildings. It deals with the following aspects: 1. Materials and labour 2. Equipment 3. Technology 4. Transportation 5. Construction Management 6. Finance 7. Tax, margin and contingencies The analysis reveals that the existing construction methods and management are not suitable for present economic situation. Two things should be done to improve the existing condition: A. The management of construction should be improved to be more effective and economical. (This aspect was dealt with in detail in this study.) B. Construction method should be improved by utilizing industrialized process to cut down time, costs and the amount of materials and labour used. This may be achieved in two ways, namely: 1. Changing the whole construction system and method. or 2. Changing part of the construction system and method. It may be concluded that the most effective way to improve school building construction should be through a partial technical change.
Description: วิทยานิพนธ์ (สถ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2519
Degree Name: สถาปัตยกรรมศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: สถาปัตยกรรม
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/27602
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Somchai_Ek_front.pdf699.6 kBAdobe PDFView/Open
Somchai_Ek_ch1.pdf630.67 kBAdobe PDFView/Open
Somchai_Ek_ch2.pdf773.62 kBAdobe PDFView/Open
Somchai_Ek_ch3.pdf1.55 MBAdobe PDFView/Open
Somchai_Ek_ch4.pdf3.48 MBAdobe PDFView/Open
Somchai_Ek_back.pdf3.26 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.