Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/27613
Title: หน้าที่ของคำ "ให้" ในภาษาไทย
Other Titles: Grammatical functions of the word "Haj" in Thai language
Authors: อรทัย เดชธำรง
Advisors: วิจินตร์ ภาณุพงศ์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Issue Date: 2513
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยนี้ มีจุดมุ่งหมายที่จะศึกษาว่าคำให้ในภาษาไทยมีอยู่กี่คำและทำหน้าที่อะไรบ้าง การศึกษาค้นคว้าครั้งนี้ได้ดำเนินตามแนววิชาภาษาศาสตร์ คือ พิจารณาจากตำแหน่งหน้าที่ของคำในประโยคเป็นหลัก ข้อมูลที่นำมาศึกษาได้มาจากผู้วิจัยเองเป็นส่วนใหญ่ และจากการสนทนากับคนอื่น ๆ ผลของการวิจัยสรุปได้ว่า, มีคำให้อยู่ทั้งหมด 5 คำ และแต่ละคำจะทำหน้าที่แตกต่างกัน ดังนี้คือ (1) คำให้ที่เป็นคำกริยาทวิกรรม ซึ่งทำหน้าที่เป็นหน่วยกริยาทวิกรรม (2) คำให้ที่เป็นคำบุพบท ซึ่งอาจจะทำหน้าที่ขึ้นต้นส่วนขยายในหน่วยกริยาหรือขึ้นต้นหน่วยกรรมรองก็ได้ (3) คำให้ที่เป็นคำกริยาสกรมเหตุกัต ซึ่งทำหน้าที่เป็นหน่วยกริยาสกรรมเหตุกัต (4) คำให้ที่เป็นคำเชื่อมอนุพากย์ ซึ่งอาจจะทำหน้าที่เป็นคำเชื่อมตนของอนุพากย์นามหรืออนุพากย์วิเศษณ์ก็ได้ และ (5) คำให้ที่เป็นคำหลังกริยา ซึ่งทำหน้าที่เป็นส่วนหนึ่งของหน่วยแก่นในจำนวนคำให้ทั้ง 5 คำ นี้ มีอยู่ 4 คำ คือ คำให้ที่เป็นคำบุพบท ที่เป็นคำกริยาสกรรมเหตุกัต ที่เป็นคำเชื่อมอนุพากย์ และที่เป็นคำหลังกริยา ซึ่งมีลักษณะเฉพาะไม่เหมือนกับคำอื่น ๆ ในหมวดคำเดียวกันทีเดียว มีแต่คำให้ที่เป็นคำกริยาทวิกรรมเท่านั้นที่ไม่มีลักษณะเฉพาะ ผลของการวิจัยได้เสนอเป็น 7 บท คือ บทที่ 1 กล่าวถึงจุดมุ่งหมายและขอบเขตของการวิจัยตลอดจนงานวิจัยอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง บทที่ 2 ถึง บทที่ 6 รวม 5 บท กล่าวถึงคำให้บทละคำ และบทที่ 7 เป็นบทสรุปผลการวิจัยและข้อเสนอแนะ กล่าวถึงสรุปผลของการวิจัยและเสนอแนะให้ผู้สนใจศึกษาภาษาไทยศึกษาให้ละเอียดว่าคำให้แต่ละคำใช้ในความหมายอะไรได้บ้าง.
Other Abstract: The purpose of this thesis is to make a formal linguistic study of the forms and functions of the word “/haj/” in the Thai language. The study is based on a careful examination of the various syntactical positions of the word, the data being drawn largely from the writer’s own use of the language, as well as from conversations among the writer’s acquaintances. The results of this study indicate that there are altogether 5 syntactically distinct but orthographically and phonemically identical forms of “/haj/” , each having its own separate function of functions. The five forms are (1) /haj/, classified as a double transitive verb functioning as a Double Transitive Verbum (i.e. a verbal sentence constituent); (2) /haj/, classified as a preposition used to introduce the Modifier (i.e. a verb phrase constituent) or to introduce the Indirect Object (i.e. a nominal sentence constituent); (3) /haj/, classified as a causative transitive Verbum (i.e. a verbal sentence constituent); (4) /haj), classified as a clause linker which may introduce a noun clause or an adjective clause; (5) /haj/, classified as a post-verb functioning as part of the Nucleus (i.e. a verb phrase constituent). Out of the 5 forms of “haj”, four (the preposition, the causative transitive verb, the clause linker and the post-verb) have their own specific characteristics which are quite different from other words of the same classes. It is suggested that those who are interested in carrying on further research on the Thai language should make a detailed study of the meanings of each form of “haj”
Description: วิทยานิพนธ์ (อ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2513
Degree Name: อักษรศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: ภาษาไทย
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/27613
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Orathai_De_front.pdf439.86 kBAdobe PDFView/Open
Orathai_De_ch1.pdf1.06 MBAdobe PDFView/Open
Orathai_De_ch2.pdf511.7 kBAdobe PDFView/Open
Orathai_De_ch3.pdf902.33 kBAdobe PDFView/Open
Orathai_De_ch4.pdf567.42 kBAdobe PDFView/Open
Orathai_De_ch5.pdf1.93 MBAdobe PDFView/Open
Orathai_De_ch6.pdf404.43 kBAdobe PDFView/Open
Orathai_De_ch7.pdf736.8 kBAdobe PDFView/Open
Orathai_De_back.pdf846.16 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.