Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/27706
Title: การสร้างเกณฑ์ประเมินผลการศึกษาภาคปฏิบัติ ของนักศึกษาพยาบาลระดับปริญญาตรี
Other Titles: A construction of evaluative criteria for practical learning of undergraduate nursing students
Authors: อธิษฐาน มงคลสถิตย์
Advisors: สวัสดิ์ ประทุมราช
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Issue Date: 2522
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อ สร้างแบบประเมินผลการศึกษาภาคปฏิบัติของนักศึกษาพยาบาลระดับปริญญาตรี โดยกำหนดคุณลักษณะที่จะประเมิน 2 ด้าน ใหญ่ ๆ คือ ความสามารถในการปฏิบัติการพยาบาล และความสามารถในการบริหารงานพยาบาลขั้นพื้นฐานแบบประเมินเป็นแบบมาตราส่วนแระเมินค่า มีข้อรายการทั้งสิ้น 83 ข้อ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยเป็นนักศึกษาคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลันขอนแก่น ปีที่ 2, 3 และ4 จำนวนทั้งสิ้น 100 คน ผลการวิเคราะห์ มีดังนี้ 1. ความเที่ยงของแบบประเมินผลทั้งฉบับของนักศึกษาทุกปี ตามแบบของฮอยท์ มีค่าเท่ากับ 0.9904 มีความคลาดเคลื่อนมาตรฐานในการวัดเท่ากับ ± 3.76 หน่วยคะแนน 2. ความเที่ยงของเกณฑ์ประเมินผลทั้งฉบับ แยกตามชั้นปีที่ 2, 3 และ 4 ตามแบบของฮอยท์ได้เท่ากับ 0.9893, 0.9879 และ .9936 ตามลำดับ มีค่าความคลาดเคลื่อนมาตรฐานในการวัดเท่ากับ ± 3.68, ± 4.21 และ ± 2.38 ตามลำดับ 3. ความเที่ยงของการประเมินค่าในตึกผู้ป่วยแต่ละแห่ง ได้ค่าเฉลี่ยความเที่ยงในการตัดสินที่เกิดจากผู้ตัดสินทั้งหมดอยู่ระหว่าง .76 ถึง -1.34 และค่าความเที่ยงในการตัดสินที่เกิดจากผู้ตัดสิน 1 คน มีค่าระหว่าง .61 ถึง -.40 4. ความตรงตามสภาพของแบบประเมินผล โดยหาค่าสัมประสิทธิ์สหพันธ์ตามวิธีของเพียร์สัน มีดังนี้ 4.1 สำหรับนักศึกษาชั้นปีที่ 2 ด้านการปฏิบัติการพยาบาล เมื่อใช้สัมฤทธิผลวิชาการพยาบาลอายุรศาสตร์ และศัลยศาสตร์เป็นเกณฑ์ ได้ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เท่ากับ .38 และ .06 ซึ่งไม่มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 4.2 สำหรับนักศึกษาชั้นปีที่ 3 ด้านการปฏิบัติการพยาบาล เมื่อใช้สัมฤทธิผลวิชาการพยาบาลมารดาและทารกเป็นเกณฑ์ ได้ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เท่ากับ -.12, -.22, .07, -.60 และ .42 เมื่อใช้สัมฤทธิผลวิชาการพยาบาลสาธารณสุขเป็นเกณฑ์ ได้ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เท่ากับ .05 ซึ่งไม่มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ส่วนการบริหารงานพยาบาลขั้นพื้นฐาน เมื่อใช้สัมฤทธิผลวิชาหลักการบริหารงานในตึกผู้ป่วยเป็นเกณฑ์ ได้ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เท่ากับ .15, .05, .11, .32, -.04 และ -.07 ตามลำดับ ซึ่งไม่มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 4.3 สำหรับนักศึกษาชั้นปีที่ 4 ด้านการปฏิบัติการพยาบาล เมื่อใช้สัมฤทธิผลวิชาการพยาบาลอายุรศาสตร์ และศัลยศาสตร์ขั้นสูงเป็นเกณฑ์ ได้ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ เป็น -.13, -.31 และ .03 ตามลำดับ ซึ่งไม่มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 การบริหารงานพยาบาลเมื่อใช้สัมฤทธิผลวิชาหลักการบริหารงานในตึกผู้ป่วยเป็นเกณฑ์ ได้ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เท่ากับ -.50, -.10, -.33 ตามลำดับ ซึ่งไม่มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
Other Abstract: The purpose of this research was to construct the evaluative criteria for practical learning of undergraduate nursing students. The evaluative attribute consisted of 83 items dividing into two parts : ability in nursing care and ability in basic nursing administration. The sample was 100 students from the second, third and fourth year. The results were as follow : 1. Reliability of the evaluative criteria calculated from all students using Hoyt’s method was .9904 and the standard error of measurement was ± 3.76 score units. 2. Reliability of the evaluative criteria of the second third and fourth year students were .9893, 9879 and .9966 respectively, and the standard error of measurement were ± 3.68, ± 4.21 and ± 2.38 score units respectively. 3. Reliability of rating range from .76 to -1.34 and the reliability of judgement of one rate range from .61 to -.40. 4. Concurrent validity of evaluative criteria calculated by using Pearson’s Product Moment Correlation method : 4.1 For the second year students, using the achievement score of Medical-Surgical Nursing as criterion, the coefficients were .36 and .06. These correlation coefficients were not significant at the .05 level. 4.2 For the third year students, using the achievement score of Maternal and Child nursing as criterion, the coefficients were -.12, -.22, .07, -.60 and .42 respectively, using the achievement score of Public Health Nursing as criterion, the coefficient was .05, using the achievement score of Principle of Ward Administration as criterion, the coefficients were .15, .05, .11, .32, -.04 and -.07 respectively. All of these correlation coefficients were not significant at the .05 level. 4.3 For the fourth year students, using the achievement score of Advanced in Medical-Surgical Nursing as criterion, the coefficients were-.13, -.31 and .03 respectively, using the achievement score of Principle of Ward Administration as criterion, the coefficients were -.50, -.10, -.33 respectively. All of these correlation coefficients were not significant at the .05 level.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2522
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิจัยการศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/27706
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Athithan_Mo_front.pdf415.48 kBAdobe PDFView/Open
Athithan_Mo_ch1.pdf372.45 kBAdobe PDFView/Open
Athithan_Mo_ch2.pdf807.27 kBAdobe PDFView/Open
Athithan_Mo_ch3.pdf410.33 kBAdobe PDFView/Open
Athithan_Mo_ch4.pdf442.55 kBAdobe PDFView/Open
Athithan_Mo_ch5.pdf428.82 kBAdobe PDFView/Open
Athithan_Mo_back.pdf807.87 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.