Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/27852
Title: ผลของการเรียนในโรงเรียนที่มีต่อการรับรู้ความลึกของภาพ 2 มิติของเด็กอายุ 5 และ 6 ปี
Other Titles: The effects of formal schooling on the perception of depth in two-dimensional pictures by children aged 5 and 6
Authors: เฮเลน กิตติพรพิมล
Advisors: โยธิน ศันสนยุทธ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Issue Date: 2522
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีจุดประสงค์ที่จะศึกษาผลของการเรียนโรงเรียนที่มีต่อการรับรู้ความลึกของภาพ 2 มิติ ของเด็ก โดยการเปรียบเทียบการรับรู้ความลึกของภาพ 2 มิติ ของเด็กชายและเด็กหญิงอายุ 5 และ 6 ปี ที่เข้าเรียนในโรงเรียนและไม่ได้เข้าโรงเรียน กลุ่มตัวอย่างเป็นเด็กอายุ 5 และ 6 ปี ในจังหวัดราชบุรีและนครปฐม จำนวน 240 คน แบ่งกลุ่มตัวอย่างออกเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มตัวอย่างอายุ 5 และ 6 ปี ที่เข้าเข้าเรียนในโรงเรียนระดับอนุบาล และกลุ่มตัวอย่าง อายุ 5 และ 6 ปี ที่ไม่ได้เข้าโรงเรียน ในแต่ละกลุ่มตัวอย่างประกอบด้วยเด็กชาย 60 คน เด็กหญิง 60 คน เครื่องมือที่ใช้คือภาพวาด 2 มิติสีขาวและดำ จำนวน 30 ภาพ ในแต่ละภาพประกอบด้วยวัตถุชนิดเดียวกัน 3 อันวางเรียงรายอยู่ตามลักษณะของการจัดภาพเพื่อให้มองเห็นความลึก โดยอาศัยเครื่องชี้ความลึกของภาพ 3 แบบ คือ แบบแนวเส้น แบบขนาด และแบบการบังกัน อย่างละ 10 ภาพ การวิเคราะห์ข้อมูล ใช้การวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบสามทาง และทดสอบความแตกต่างของคะแนนเฉลี่ยเป็นรายคู่ด้วยวิธีนิวแมน – คูลส์ ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1) การรับรู้ความลึกของภาพ 2 มิติของเด็กอายุ 5 และ 6 ปี ที่เข้าเรียนในโรงเรียน และเด็กอายุ 5 และ 6 ปีที่ไม่ได้เข้าโรงเรียน แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 2) การรับรู้ความลึกของภาพ 2 มิติของเด็กอายุ 5 และเด็กอายุ 6 ปี แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 3) การรับรู้ความลึกของภาพ 2 มิติของเด็กชายและเด็กหญิง แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
Other Abstract: The purposes of this research was to study the Effects of Formal Schooling on the Perception of Depth in Two – Dimensional Pictures of Children by comparing perceptive ability on two – dimensional pictures of school and non-school boys and girls aged 5 and 6. Subjects were 240 children from Rajaburi and Nakorn Prathom Province equally divided into groups, schooled children aged 5 and 6 and non-schooled children age 5 and 6. Each group consisted of 60 male children and 60 female children. Stimuli were 30 black and white two-dimensional pictures. Each picture contained three objects of the same kind. The pictures were grouped into three categories of depth cues: Size (S), Overlap (O) and Linear (L) of 10 pieces each. Performance data were analyzed according to three ways analysis of variance and the Newman-Keuls method was applied for comparing difference within pairs of means. The results were as follows: 1. The difference between schooled and non-schooled children on perceptive depth ability was significant at .01 level. 2. The difference between children aged 5 and 6 on perceptive depth ability was significant at .01 level. 3. The difference between male and female children on perceptive depth ability was significant at .01 level.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2522
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: จิตวิทยาการศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/27852
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Helen_Ki_front.pdf347.19 kBAdobe PDFView/Open
Helen_Ki_ch1.pdf740.76 kBAdobe PDFView/Open
Helen_Ki_ch2.pdf353.88 kBAdobe PDFView/Open
Helen_Ki_ch3.pdf344.25 kBAdobe PDFView/Open
Helen_Ki_ch4.pdf309.75 kBAdobe PDFView/Open
Helen_Ki_ch5.pdf281.94 kBAdobe PDFView/Open
Helen_Ki_back.pdf551.37 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.