Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/27862
Title: การศึกษาเชิงวิเคราะห์แบบเรื่องและอนุภาคในปัญญาสชาดก
Other Titles: An Analytical study of tale types and motifs in Pannasa Jataka
Authors: เอื้อนทิพย์ พีระเสถียร
Advisors: สุวรรณา เกียงไกรเพ็ชร์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Issue Date: 2529
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: วิทยานิพนธ์นี้มีจุดมุ่งหมายที่จะศึกษาวิเคราะห์แบบเรื่องและอนุภาคในปัญญาสชาดกฉบับหอสมุดแห่งชาติ จำนวน 61 เรื่อง เปรียบเทียบกับดัชนีแบบเรื่องนิทานพื้นเมือง (The Types of the Folktale) และดัชนีอนุภาคนิทานพื้นเมือง (Motif-Index of Folk Literature)ซึ่งเป็นดัชนีที่รวบรวมและจัดจำแนกแบบเรื่องและอนุภาคของนิทานพื้นเมืองหลายประเภทจากดินแดนสำคัญทั่วโลก การวิเคราะห์นิทานปัญญาชาดกนี้ มีสมมติฐานว่านิทานเหล่านี้เป็นนิทานพื้นเมืองดั้งเดิมแบบเรื่องในดัชนีแบบเรื่องนิทานพื้นเมืองเป็นเรื่องๆ ไป ผลของการวิเคราะห์ปรากฎว่า นิทานในปัญญาสชาดก แบ่งได้เป็น 3 กลุ่ม กลุ่มหนึ่งมีแบบเรื่องปรากฎในดัชนี ได้แก่ นิทานส่วนใหญ่ในประเภทนิทานทรงเครื่อง นิทานอุทาหรณ์ นิทารมุขตลก และนิทานปริศนา ซึ่งมีเนื้อหาเป็นนิทานทางโลก กลุ่มหนึ่งไม่มีแบบเรื่องปรากฏในดัชนี ได้แก่ นิทานศาสนาส่วนใหญ่ หรือเรียกว่านิทานทางธรรมและอีกกลุ่มหนึ่งเป็นกลุ่มผสม กล่าวคือ เนื้อเรื่องบางตอนมีแบบเรื่องปรากฎในดัชนี บางตอนไม่มีแบบเรื่องปรากฎในดัชนี ซึ่งตอนที่ไม่มีแบบเรื่องปรากฎในดัชนีนี้มักเกี่ยวข้องกับพฤติกรรมทางศาสนา นิทานเรื่องหรือตอนที่มีแบบเรื่องปรากฎในดัชนี หรือที่มีเนื้อหาเป็นนิทานทางโลกนี้ สันนิษฐานได้ว่ามีที่มาจากนิทานพื้นเมืองดั้งเดิม นำมาแต่งเติมเรื่องราวของพระโพธิสัตว์ให้เป็นชาดก ส่วนนิทานที่ไม่มีแบบเรื่องปรากฏในดัชนีหรือนิทานทางธรรมนั้น ยังไม่อาจกล่าวได้ว่าเป็นนิทานพื้นเมืองหรือไม่ โดยอาจเป็นนิทานที่เรียบเรียงขึ้นใหม่เพื่อสั่งสอนศาสนาโดยเฉพาะ หรือเป็นนิทานพื้นเมืองที่มีลักษณะเฉพาะประเภท เฉพาะถิ่น การวิเคราะห์อนุภาคกระทำตามบทบาท พฤติกรรมของตัวละคร และความมหัศจรรย์ที่เกี่ยวข้องกับตัวละครในนิทานแต่ละประเภท เปรียบเทียบกับอนุภาคในดัชนีอนุภาคนิทานพื้นเมืองผลการวิเคราะห์อนุภาค ทำให้เห็นถึงค่านิยมและวัฒนธรรมของชนผู้เป็นเจ้าของนิทาน ได้แก่ ความปรารถนาจะประสบความสำเร็จโดยง่ายดาย ความปรารถนาจะเอาชนะธรรมชาติ ความสัมพันธ์อันใกล้ชิดกับเทพเจ้า ความเชื่อในสวรรค์ว่าเป็นสถานที่สวยงามสุขสบาย ความเชื่อในเทพเจ้าว่ามีอำนาจลิขิตชีวิตมนุษย์ ธรรมเนียมประเพณีต่างๆ อย่างเช่น การออกป่าบำเพ็ญพรต การสร้างโรงทาน การเสี่ยงราชรถเลือกกษัตริย์ ความนับถือพราหมณ์ และความเชื่อทางโหราศาสตร์ ค่านิยมดังกล่าวแสดงสัญชาตญาณและความปรารถนาของมนุษย์ทั่วไป ส่วนวัฒนธรรมแสดงลักษณะสังคมอินเดียโบราณอย่างเห็นได้ชัด แสดงว่าผู้เรียบเรียงปัญญาสชาดก ซึ่งนำนิทานมาจากคัมภีร์ภาษาบาลีและสันสกฤตนั้น มิได้เปลี่ยนแปลงแก้ไขนิทานจากของเดิมมากนัก วิทยานิพนธ์นี้มีข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการรวบรวมพื้นเมืองไทย จัดทำดัชนีแบบเรื่องและดัชนีอนุภาค เพื่อประโยชน์ในการวิเคราะห์เปรียบเทียบในระหว่างนิทานพื้นเมืองไทยด้วยกันหรือระหว่างนิทานพื้นเมืองไทยกับนิทานจากเขตอื่น ทั้งค้นคว้าที่มาของนิทานศาสนาหรือนิทานทางธรรมที่มีแบบเรื่องเฉพาะตัว แตกต่างไปจากแบบเรื่องในดัชนีแบบเรื่องนิทานพื้นเมือง
Other Abstract: The purpose of this dissertation is to study and analyze types and motifs of 61 tales in Pannasa Jataka, National Library edition, compared to The Types of the Folktale and Motif Index of Folk Literature which are indexes that collected and categorized types and motifs of various kinds of folktales from important areas around the world. The hypothesis in studying Pannasa Jataka is that these tales are indigenous folktales adapted into Jataka form. To analyze types, all tales are classified into kinds and considered accordingly, each of which is compared to the Types of the Folktale. The analyze shows that there are 3 groups of tales in Pannasa Jataka. First, tales are similar to those in the index which are mostly romantic tales, fables, jokes, and riddle tales. Second, tales whose types are dissimilar to those in the index which are mostly religious tales. The third group is a mixed one. Some parts of these tales are similar to those in the index, but some with religious motif, do not. Tales in the first group with their index tale types are assumed to be folktales adapted to Jataka by adding the story Bodhisattva. On the other hand, tales whose types are unlike those in the index cannot be considered folktales. They are tales written for the purpose of religious teaching or folktales with individual patterns from certain areas. In analyzing motif, roles and behaviors of the characters, including their marvels, in each kind of tales are considered in comparison to motifs in Motif-Index of Folk Literature. Motif analysis shows certain values and traditions of people to whom the tales belong. It reveals the desire for easy success, the desire to control nature, a close relation between man and god, the belief that heaven is a place of beauty and happiness, the belief in god’s power in controlling human life, certain traditions such as the practice of asceticism in the forest, the building of charity house, the selection of kind by royal vehicle, the respect of brahman, and the belief in astrology. Those values are instincts and desires of man in general while the traditions specifically to the ancient Indian society. The latter characteristic shows that, as Pannasa Jataka originated from Pali and Sanskrit scriptures, its author did not change much of the tales. It is advised that Thai folktales should be further collected and categorized and that types as well as motifs should be indexed for comparison between Thai folktales or between Thai folktales and those from other areas. The study of the origin of particular religious tales differing from The Types of the Folktales is suggested as well.
Description: วิทยานิพนธ์ (อ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2529
Degree Name: อักษรศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: ภาษาไทย
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/27862
ISBN: 9745667579
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Uenthip_Pe_front.pdf376.45 kBAdobe PDFView/Open
Uenthip_Pe_ch1.pdf499.8 kBAdobe PDFView/Open
Uenthip_Pe_ch2.pdf425.86 kBAdobe PDFView/Open
Uenthip_Pe_ch3.pdf2.56 MBAdobe PDFView/Open
Uenthip_Pe_ch4.pdf566.94 kBAdobe PDFView/Open
Uenthip_Pe_ch5.pdf2.56 MBAdobe PDFView/Open
Uenthip_Pe_ch6.pdf269.3 kBAdobe PDFView/Open
Uenthip_Pe_back.pdf583.04 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.