Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/28419
Title: การใช้ระบบแอนแอโรบิกสับเมอร์จดรัมในการกำจัดน้ำเสีย
Other Titles: Anaerobic submerged drum system for treating wastewaters
Authors: อรรถพร ศิวะวรรณพงศ์
Advisors: มั่นสิน ตัณฑุลเวศม์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Issue Date: 2531
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ลักษณะของถังปฏิกิริยาแบบนี้จะคล้ายถังปฏิกิริยาแอโรบิคแบบแผ่นจาน แต่จะแตกต่างกันตรงที่ ถังปฏิกิริยาแบบนี้จะมีฝาปิดเพื่อป้องกันไม่ให้อากาศเข้าได้ ภายในถังจะมีผนังกั้นเพื่อแบ่งถังออกเป็นตอนๆ ให้มีปริมาตรเท่ากันจำนวน 4 ตอน และในแต่ละตอนจะมีฝาจุกพลาสติกทำหน้าที่เป็นตัวกลางบรรจุอยู่ ในระหว่างทดลอง ไบโอดรัมจะจมตัว 70% ของพื้นที่หน้าตัด และหมุนด้วยความเร็วขอบ 18 ม/นาที ในขณะที่พื้นที่ผิวรวมของตัวกลางทั้งระบบมีค่า 6.305 ม2 , คิดเป็นพื้นที่ผิวจำเพาะของตัวกลาง = 338 ม2 /ม3 น้ำเสียสังเคราะห์ที่ใช้จะเตรียมจากน้ำตาลผสมกับน้ำประปาพร้อมสารอาหารอื่นๆ ที่จำเป็นเพื่อให้ได้ค่าความเข้มข้นซีโออี 500, 1000, 2000 และ 3000 มก./ล. ป้อนเข้าสู่ระบบโดยมีเวลากักน้ำรวม 24 ซม. ทำให้ได้ค่าออร์แกนิคโหลดดิงเชิงปริมาตรของระบบมีค่า 0.50, 1.00, 2.00 และ 3.00 กก.ซีโอดี/ม3 – วัน. ตามลำดับจากผลการทดลอง พบว่า ระบบมีความสามารถในการกำจัดซีโอดีได้เป็นอย่างดี กล่าวคือ ประสิทธิภาพการกำจัดซีโอดีของระบบมีค่า 91.5%, 95.5%, 97.8% และ 97.3% ตามลำดับ การกำจัดซีโอดีไม่น้อยกว่า 83.0% ของทุกการทดลองเกิดขึ้นในตอนที่หนึ่ง ในขณะที่ตอนที่สอง, สาม และสี่ ไม่ช่วยให้ประสิทธิภาพการกำจัดซีโอดีเพิ่มขึ้นจากตอนที่หนึ่งมากนัก นอกจากนี้ยังพบว่า ปริมาณตะกอนแขวนลอยในน้ำทิ้งอยู่ในช่วง 50-250 มก./ล. และภายหลังเสร็จการทดลองได้ทำการเปิดฝาถังปฏิกิริยา พบว่า แบคทีเรียส่วนใหญ่จะเกาะติดผิวพลาสติกแทนที่จะแขวนลอยอยู่ในน้ำ
Other Abstract: Configuration of reactor was similar to that of the aerobic biodrum reactor but it had a cover to protect the air into reactor. Inside the reactor, there were four baffles to separate it into four stages which each stage was nearly equal in the volume and filled with small plastic bottle caps. During experimentations, the biodrums rotated at a rim speed of 18 m/min were 70% submerged and serving as a media. Total surface area of plastic media was 6.305 sq. m., specific surface are 338 m2/m3. Synthetic wastewater was blended by sugar and tap water together with nutrient to obtain COD concentrations of 500, 1000, 2000 and 3000 mg/l and fed into the system which had 24 hours detention time. Corresponding organic loading were 0.50, 1.00, 2.00 and 3.00 KgCOD/cu.m. –day respectively. From the results, system had a good capability in COD removal with efficiencies of 91.5%, 95.5%, 97.8% and 97.3% respectively. More than 83.0% of COD removal occured in the first stage whereas the second, the third and the last stage could not contribute to enhance much more efficiency. In addition, suspended solids in effluent was found to be in the range of 50-250 mg/l. It was observed, after removing the cover, that most of the bacterial cells were attached to the media rather than suspending in the bulk liquid.
Description: วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2531
Degree Name: วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิศวกรรมสิ่งแวดล้อม
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/28419
ISBN: 9745696196
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Ataporn_si_front.pdf5.81 MBAdobe PDFView/Open
Ataporn_si_ch1.pdf5.06 MBAdobe PDFView/Open
Ataporn_si_ch2.pdf628.73 kBAdobe PDFView/Open
Ataporn_si_ch3.pdf14.82 MBAdobe PDFView/Open
Ataporn_si_ch4.pdf5.07 MBAdobe PDFView/Open
Ataporn_si_ch5.pdf18.49 MBAdobe PDFView/Open
Ataporn_si_ch6.pdf1.17 MBAdobe PDFView/Open
Ataporn_si_back.pdf8.52 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.