Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/28537
Title: การคุ้มครองสิทธิในชื่อทางการค้า
Other Titles: Protection of Tradename
Authors: เอมอร หล้าพิศาล
Advisors: ธัชชัย ศูภผลศิริ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Issue Date: 2534
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ชื่อทางการค้าทวีบทบาทต่อธุรกิจการค้าการพาณิชย์อย่างมากในปัจจุบัน ดังจะเห็นได้ว่าบรรดานานาอารยประเทศได้ให้ความสำคัญต่อชื่อทางการค้าในฐานะเป็นทรัพย์สินทางอุตสาหกรรมประเภทหนึ่ง โดยได้ร่วมลงนามในอนุสัญญาปารีสด้วยการคุ้มครองทรัพย์สินทางอุตสาหกรรม ค.ศ.1883 ในขณะที่ประเทศไทยปรับใช้เรื่องชื่อทางการค้ากับหลักกฎหมายทั่วไปในประมวลแพ่งและพาณิชย์และประมวลกฎหมายอาญา ซึ่งขาดความชัดเจนในเรื่องของถ้อยคำ และไม่มีการกำหนดหลักเกณฑ์ในการพิจารณาที่แน่นอน เนื่องจากเป็นหลักกฎหมายทั่วไป การศึกษาและวิจัยจึงมุ่งทำการศึกษาว่า หลักกฎหมายในปัจจุบันที่ใช้เป็นบรรทัดฐานในการคุ้มครองชื่อทางการค้านี้มีความเหมาะสมเพียงใด และสมควรทำการปรับปรุงแก้ไขหรือเพิ่มเติมแนวทางหรือกฎเกณฑ์ในกฎหมาย เพื่อให้เกิดผลการคุ้มครองชื่อทางการค้าที่เหมาะสมได้อย่างไรบ้าง ซึ่งผลทางการศึกษาวิจัยพบว่า 1. การขาดความชัดเจนและแน่นอนของกฎหมายที่จะอ้างอิง เพื่อใช้คุ้มครองชื่อทางการค้าอาจก่อให้เกิดข้อโต้แย้งต่อการใช้สิทธิในการดำเนินคดีหรือสิทธิในการขอรับความคุ้มครองตามกฎหมาย 2. การขอรับความคุ้มครองโดยใช้สิทธิในหารดำเนินคดีมีความล่าช้า และเป็นเหตุให้เกิดผลเสียหายต่อธุรกิจของผู้เป็นเจ้าของชื่อทางการค้า 3. ความขัดแย้งกันของการนำเอาหลักกฎหมายทั่วไปมาปรับใช้ในเรื่องนี้ยังมีความเห็นแตกต่างกันอยู่ในทางกฎหมาย 4. กฎเกณฑ์ที่ใช้ในการควบคุมการจดทะเบียนเพื่อให้ได้มาซึ่งชื่อทางการค้าในปัจจุบันยังไม่เหมาะสม ด้วยเหตุนี้ผู้เขียนจึงใคร่ขอเสนอแนะ ดังนี้ 1. ควรมีบทบัญญัติที่ชัดแจ้งกำหนดให้มีคำนิยามของชื่อทางการค้า ให้มีความชัดเจนและแน่นอนเพื่อขจัดข้อโต้แย้งในการใช้สิทธิดำเนินคดี และความเป็นเจ้าของชื่อทางการค้าที่ใช้อยู่ 2. กระบวนการในการดำเนินคดีควรเร่งรัดให้มีความรวดเร็วมากขึ้น โดยเล็งเห็นความเสียหาย อันจะเกิดแก่ธุรกิจของผู้ถูกรบกวนสิทธิ 3. เสนอหลักเกณฑ์ใหม่ของกฎหมายในการคุ้มครองสิทธิในการชื่อทางการค้า เพื่อให้สิทธิในชื่อทางการค้าได้รับการคุ้มครองอย่างจริงจังและมีประสิทธิภาพมากขึ้น 4. ปรับปรุงวิธีการรับจดทะเบียนชื่อทางการค้าให้มีประสิทธิภาพ เพื่อลดปัญหาการจดทะเบียนที่ซ้ำซ้อนหรือเหมือนคล้ายกับชื่อทางการค้าที่ได้จดทะเบียนอยู่แล้วในลักษณะต่างๆ โดยจะเป็นการเอื้ออำนวยประโยชน์ทั้งต่อผู้แข่งขันทางการค้าและสาธารณชนทั่วไป
Other Abstract: Nowadays tradename plays an important role commerce since most developing countries recognized tradename as one of the industrial property This was evidenced by the many countries co-signing the Paris Convention for the Protection of Industrial property 1883 Thailand adopted tradename protection with a general doctrine based on its Civil and Criminal Codes which is ambiguous and unclear in wording and there is no definite criteria for consideration because Thailand Civil and Criminal Code laws are genneral principles of laws. From Study and analysis made with the aim of finding out whether the present principles of laws used as general guidiance for the protection of tradename is suitable or not and whether it is appropriate to amend or make addition to the principles or legal doctrines so as to come up with effective measures in protection of tradename. We arrived the following conclusions : 1. Lacking in clarity and uncertainty in the referenced laws for protection of tradename which either causes dispute pertaining to exercising of right under court proceedings or the right to file application in order to obtain protection under the laws. 2. There is delay in court proceedings for those who file claim in order to protect their interest and hence causes damages against the business of the owner of the tradename. 3. There is a conflict in matter of tradename. There are still different legal opinions in the respect. 4. Present principles and rules in controlling registration of tradename is not suitable. For the reasons stated above, I would like to propose the following :- 1. There should be provisions which lays down a clear and precise definition of a tradename so as to eliminate dispute in assessing the right under court proceedings as well as doubt as to who is the real owner of a tradename. 2. As damages must occur to the business of the real owner of a tradename, therefore, court procedures should be shortern and the case concluded faster. 3. New proposals of legal doctrine in protecting rights of a tradename should be made so as to obtain full and efficient protection of tradename .4. Improving registration procedures for tradename to reduce complicated registration procedures or procedures in considering similarity with or differences from tradename previously registered. This will benefit not only completion trade but also the public as well.
Description: วิทยานิพนธ์ (น.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2534
Degree Name: นิติศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: นิติศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/28537
ISBN: 9745793612
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Aimon_la_front.pdf8.26 MBAdobe PDFView/Open
Aimon_la_ch1.pdf9.89 MBAdobe PDFView/Open
Aimon_la_ch2.pdf16.07 MBAdobe PDFView/Open
Aimon_la_ch3.pdf13.32 MBAdobe PDFView/Open
Aimon_la_ch4.pdf36.39 MBAdobe PDFView/Open
Aimon_la_ch5.pdf51.28 MBAdobe PDFView/Open
Aimon_la_ch6.pdf11.52 MBAdobe PDFView/Open
Aimon_la_back.pdf5.32 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.