Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/28701
Title: การเปรียบเทียบค่าปรับแก้สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์พหุคูณยกกำลังสอง ระหว่างวิธีของเวอร์รี่กับวิธีของโอลกินกับแพรตต์
Other Titles: A comparison of adjusted values of multiple correlation coefficient square by wherry's method and olkin pratt's methods
Authors: วันชัย นันตะเงิน
Advisors: ดิเรก ศรีสุโข
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Issue Date: 2532
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อหาผลสรุปเกี่ยวกับการแจกแจงและเปรียบเทียบค่าเฉลี่ย และความแปรปรวนของค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์พหุคูณยกกำลังสอง (R²) ที่ยังไม่ได้ปรับแก้และที่ปรับแก้ตามวิธีของเวอร์รี่ (R² W2) และวิธีของโอลกินกับแพรตต์( R²OP)โดยใช้เทคนิคมอนติคาร์โลซิมูเลชั่น ทำการทดลองสถานการณ์ต่างๆในลักษณะที่ประชากรมีการแจกแจงแบบปกติหลายตัวแปรซึ่งมี 𝜌 = 0.20, 0.40, 0.60 และ 0.80 มีจำนวนตัวแปรพยากรณ์เท่ากับ 3, 5, 7 และ 9 ใช้กลุ่มตัวอย่างขนาด 2, 5, 10, 15, 20, 25 และ30 เท่าของตัวแปรที่ศึกษาทั้งหมด รวมเป็นสถานการณ์ทั้งสิ้น 112 สถานการณ์ แต่ละสถานการณ์จะทำการทดลองจำนวน 1,000 ครั้ง ผลการวิจัยเปรียบเทียบพบว่า ค่าเฉลี่ยของ R² จะมีค่าสูงกว่า 𝜌² ทุกสถานการณ์ทดลอง โดยเฉพาะเมื่อ n มีขนาดเล็กจะมีความแตกต่างระหว่าง R² กับ 𝜌² มากที่สุด ความแตกต่างระหว่าง R² กับ 𝜌² นี้ จะมีค่าลดลงเมื่อกลุ่มตัวอย่างมีขนาดใหญ่ขึ้น เมื่อปรับแก้ค่า R2 ด้วยวิธีของเวอร์รี่และวิธีของโอลกินกับแพรตต์แล้ว พบว่า ทั้ง R2 W2 และ R² OD จะมีค่าเฉลี่ยลดลงและต่ำกว่า R² ทุกสถานการณ์ทดลองและจะมีค่าต่ำกว่ามากเมื่อ n มีขนาดเล็ก โดยที่ความแตกต่างระหว่าง 𝜌² กับ R² จะมีมากกว่า 𝜌² กับ R² W2 และ 𝜌² กับ R² OD เมื่อ n มีขนาดใหญ่ขึ้นประมาณ 15 เท่าของตัวแปรขึ้นไปค่าเฉลี่ยของ R² W2 และ R² OD จะเริ่มมีค่าใกล้เคียงกันและจะมีค่าใกล้เคียงกับ 𝜌² มากที่สุดเมื่อ n มีขนาดประมาณ 20 เท่าของตัวแปรขึ้นไป โดยที่ค่าเฉลี่ยของ R² OD จะมีค่าสูงกว่า R² W2 เพียงเล็กน้อย ส่วนการเปรียบเทียบความแปรปรวน พบว่าเมื่อกลุ่มตัวอย่างมีขนาดเล็ก ความแปรปรวน ของ R², R²w2 และ R² OD จะมีค่าสูงมากในทุกสถานการณ์ทดลอง โดยที่ R² จะมีค่าความแปรปรวนต่ำสุดเมื่อเทียบกับ R² W2 และ R² OD ความแตกต่างระหว่างความแปรปรวนของ R² กับ R² W2 จะมีค่าต่ำกว่า R² กับ R² OD เมื่อ n มีขนาดใหญ่ขึ้นพบว่า ความแปรปรวนของตัว ประมาณค่าทั้ง 3 แบบ จะมีค่าลดลงและมีค่าไม่แตกต่างกัน ผลการวิจัยจึงสรุปได้ว่า การใช้ค่าปรับแก้แบบ R² W2 และ R² OD ทำให้สามารถประมาณค่า 𝜌² ได้ใกล้เคียงกว่าการใช้ R² และยิ่งเมื่อ n มีขนาดใหญ่ขึ้นเกินกว่า 20 เท่าของ ตัวแปรขึ้นไปแล้ว การประมาณค่าโดยใช้ R² W2 และ R² OD จะยิ่งมีค่าใกล้เคียงกันกับ 𝜌² มากขึ้น
Other Abstract: The purpose of this study was to find the conclusion and comparison of the distribution, moan and variance of multiple correlation coefficient square (R² ) and the adjusted values of multiple correlation coefficient square by Wherry's method (R²W2 ) and Olkin and Pratt's method (R²OD ). The data for this experiment were obtained through simulation using the Monte Carlo technique. A computer program was designed to simulate 1000 times in each case. The distribution of the population model was multivariate normal, where had multiple correlation coefficients (𝜌) were .20, .40, .60 and .80. The number of predictor variables were 3, 5, 7 and 9. The sample sizes were 2, 5, 10, 15, 20, 25 and 30 times of variables. The findings were summarized as follows: The average of R2 was higher than 2 in every case. The difference between R² and 𝜌² tends to decrease when the sample size was increased. When R2was adjusted value by Wherry's method and Olkin and Pratt's method, the differences between the adjusted values and 𝜌² were decreased and the discrepancies were less than the difference between R² and 𝜌² .The differences between the average of R²W2 and R²OD when compared to 𝜌² were decreased when the sample size was greater. It was also found that when the sample size was about 20 times of the number of variables, the average of R²W2 and R²OD was equal to 𝜌² , but the average of R² was still higher then 𝜌². It can be generally concluded that the application of R²W2 and R²OD can accurately estimate the 𝜌² better than R². Their accuracies were increased when the sample size was increased. The differences between the average of R²W2, R²OD and 𝜌² cannot be observed when the sample size was 20 times of the number of variables.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2532
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิจัยการศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/28701
ISBN: 9745777315
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Wanchai_na_front.pdf10.94 MBAdobe PDFView/Open
Wanchai_na_ch1.pdf6.7 MBAdobe PDFView/Open
Wanchai_na_ch2.pdf15.13 MBAdobe PDFView/Open
Wanchai_na_ch3.pdf6.99 MBAdobe PDFView/Open
Wanchai_na_ch4.pdf38.89 MBAdobe PDFView/Open
Wanchai_na_ch5.pdf6.84 MBAdobe PDFView/Open
Wanchai_na_back.pdf19.46 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.