Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/29080
Title: ผลของโปรแกรมส่งเสริมทักษะการคิด โดยใช้ข่าวและเหตุการณ์สำคัญในชีวิตประจำวัน ในกลุ่มสาระการเรียนรู้ สังคม ศาสนา และวัฒนธรรม ที่มีต่อความสามารถในการคิดสะท้อน ของนักเรียนประถมศึกษาปีที่ 5
Other Titles: Effects of thinking enhancement program using news and current issues in daily life in social studies, religion, and culture learning area on reflective thinking ability of fifth grade students
Authors: เยาวนารถ โพธิ์มี
Advisors: สมพงษ์ จิตระดับ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์
Advisor's Email: Somphong.C@Chula.ac.th
Subjects: สังคมศึกษา -- การศึกษาและการสอน
ความคิดและการคิด
ทักษะทางการคิด
นักเรียนประถมศึกษา
Issue Date: 2553
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมส่งเสริมทักษะการคิด โดยใช้ข่าวและเหตุการณ์สำคัญในชีวิตประจำวัน กลุ่มสาระการเรียนรู้ สังคม ศาสนา และวัฒนธรรม ที่มีต่อความสามารถในการคิดสะท้อน ของนักเรียนประถมศึกษาปีที่ 5 กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนประถมศึกษาปีที่ 5 จำนวน 38 คน โรงเรียนสาธิตแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ศูนย์วิจัยและพัฒนาการศึกษา ปีการศึกษา 2553 ได้มาโดยการเลือกแบบเฉพาะเจาะจง ระยะเวลาในการทดลองใช้โปรแกรม รวม 10 สัปดาห์ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบวัดความสามารถในการคิดสะท้อนที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น มีค่าความยากอยู่ระหว่าง 0.45–0.80 ค่าอำนาจจำแนกอยู่ระหว่าง 0.20–0.58 และค่าความเชื่อมั่นของข้อสอบทั้งฉบับมีค่า 0.93 ข้อมูลที่ได้จากการดำเนินการทดลองโปรแกรม นำมาวิเคราะห์โดยการการทดสอบค่าที ผลการวิจัยพบว่า ค่าเฉลี่ยของคะแนนความสามารถในการคิดสะท้อนของนักเรียนหลังเข้าร่วมโปรแกรมสูงกว่าก่อนเข้าร่วมโปรแกรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
Other Abstract: The purpose of this research was to study the effects of thinking enhancement program using news and current issues in daily life in social studies, religion, and culture learning area on reflective thinking ability of fifth graded students. The subjects consisted of 38 students of fifth graded students in the academic year 2010 from Kasetsart university laboratory school center for education research and development. The subjects were selected by purposive sampling. The duration in the experimental program was 10 week. The research instrument was the REFLECTIVE THINKING ABILITY TEST constructed by the researcher. The instrument’s difficulty ranges from 0.45 to 0.80. The discrimination was between 0.20 and 0.58 and the validity was 0.93. The data were analyzed t-test. The research findings were as follows: The post-test mean score of the student’ reflective thinking ability was higher than that of the pre-test at the .01 level of significance.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2553
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: ประถมศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/29080
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2010.2019
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2010.2019
Type: Thesis
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
yaovanat_po.pdf4.77 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.