Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/29161
Title: | กำลังรับแรงเฉือนของคานคอนกรีตเสริมเหล็กใช้คอนกรีตกำลังสูงมาก |
Other Titles: | Shear strength of reinforced concrete beams made of very high strength concrete |
Authors: | พิทยา เจนเกียรติฟู |
Advisors: | เอกสิทธิ์ ลิ้มสุวรรณ |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย |
Issue Date: | 2529 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | ในมาตรฐานการก่อสร้างโดยทั่วไป ตัวแปรที่ใช้ในการออกแบบที่มีผลต่อด้านกำลังและพฤติกรรมของชิ้นส่วนโครงสร้างมักจะมีความสัมพันธ์กับค่ากำลังอัดของคอนกรีต และเนื่องจากคุณสมบัติที่ต่างไปของคอนกรีตกำลังสูงมากจากคุณสมบัติของคอนกรีตธรรมดา จึงมีความจำเป็นที่ต้องทำการตรวจสอบความเป็นไปได้ของมาตรฐานการออกแบบคานคอนกรีตเสริมเหล็กทางด้านกำลังรับแรงเฉือนเมื่อทำด้วยคอนกรีตกำลังสูงมาก ในงานวิจัยนี้จึงทำการทดสอบคานคอนกรีตเสริมเหล็กหน้าตัดสี่เหลี่ยมผืนผ้าขนาด 15 X 30 ซม. ยาวทั้งหมด 230 ซม. ช่วงคานยาว 210 ซม. โดยมีอัตราส่วนช่วงแรงเฉือนต่อความลึกประสิทธิผล 3.91 ปริมาณเหล็กเสริมตามยาว 5.69% จำนวน 8 คาน โดยแบ่งออกเป็น 2 ชุด คือชุดที่ไม่เสริมเหล็กปลอก จำนวน 4 คาน และชุดที่ทำการแปรผันอัตราส่วนการเสริมเหล็กปลอก จาก 0.160-0.645% จำนวน 4 คาน โดยกำลังอัดประลัยของคอนกรีตในงานวิจัยอยู่ในช่วง 672-801 กก./ซม2. ในการทดสอบ ทำการบันทึกน้ำหนักบรรทุก ณ จุดแตกร้าวและจุดวิบัติ ความเครียดของผิวคอนกรีตที่ผิวบนรับแรงอัดและในช่วงแรงเฉือน ความเครียดของเหล็กเสริมตามยาวและเหล็กปลอก การโก่งตัวและลักษณะการแตกร้าวจนกระทั่งวิบัติ ผลการทดสอบบ่งชี้ว่า กำลังรับแรงเฉือนของคานที่ไม่เสริมเหล็กปลอกจะเพิ่มขึ้นตามกำลังอัดที่เพิ่มขึ้น สมการคำนวณของมาตรฐาน ACI ให้ค่ากำลังรับแรงเฉือนต่ำกว่า 80 ถึง 114% สำหรับกำลังอัดของคอนกรีตที่เพิ่มขึ้นโดยปริมาณการเสริมเหล็กตามยาวมีค่าสูง แต่สมการของ Zsutty ยังคงสามารถคำนวณกำลังรับแรงเฉือน ณ จุดแตกร้าวแนวทแยงและ ณ จุดประลัยของคานคอนกรีตเสริมเหล็กใช้คอนกรีตกำลังสูงมากได้ในด้านปลอดภัยอย่างน่าพอใจ และเพื่อให้ได้ความแม่นยำในการคำนวณกำลังรับแรงเฉือนของคานที่ไม่เสริมเหล็กปลอกใช้คอนกรีตกำลังสูงมาก ได้มีการนำเสนอสมการใหม่เพื่อใช้ในการคำนวณกำลังรับแรงเฉือน ณ จุดแตกร้าวแนวทแยงและจุดประลัยของคาน สำหรับกำลังรับแรงเฉือนของคานชุดที่เสริมเหล็กปลอกตั้ง กำลังรับแรงเฉือนจากการทดสอบให้ค่าที่มากกว่ากำลังรับแรงเฉือนโดยมาตรฐาน ACI |
Other Abstract: | In current codes, parameters used in structural design which affection the strength and behavior of structural members are related to compressive strength of concrete. Being affected by different properties of very high strength concrete from ordinary concrete, it becomes necessary to check the validity of shear strength design methods when applied to reinforced concrete beams made of very high strength concrete. In this research, 8 rectangular reinforced concrete beams in 15 x 30 cm. and total length of 230 cm., span length 210 cm., shear span to effective depth ratio 3.91 and longitudinal tensile reinforcement ratio 5.69 % were tested. Experimental program were categorized into 2 series: First sery composed of 4 reinforced very high strength concrete beams without stirrups: Second sery composed of 4 reinforced very high strength concrete beams with web reinforcement ratio varies from 0.160-0.645 %. The specimens have compressive strength between 672-801 ksc. Loads at cracking and failure, strains of concrete surface at compressive top fiber and in shear span, strains of longitudinal tensile reinforcement and stirrup, deflections and crack patterns until failure were monitored and recorded during the test. Test results indicate that shear strength of beams without stirrups increased with the increase of concrete strength. ACI Building Code Equations underestimate the shear strength by 80 to 114 %, particularly for higher concrete strength combined with high longitudinal-steel ratio. But Zsutty’s equations can predict the shear strength at diagonal cracking and at ultimate closely enough to be used for reinforced very high strength concrete beams without stirrups. New equations are proposed to more accurately predict diagonal cracking and ultimate shear strength of slender reinforced very high strength concrete beams without stirrups. For beams with vertical stirrups, all test strengths exceeded those predicted following present ACI code procedures. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2529 |
Degree Name: | วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | วิศวกรรมโยธา |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/29161 |
ISBN: | 9745672211 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Grad - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Pittaya_ja_front.pdf | 8.15 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Pittaya_ja_ch1.pdf | 6.42 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Pittaya_ja_ch2.pdf | 8.55 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Pittaya_ja_ch3.pdf | 10.51 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Pittaya_ja_ch4.pdf | 6.41 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Pittaya_ja_ch5.pdf | 1.22 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Pittaya_ja_back.pdf | 29.04 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.