Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/29264
Title: | ความคิดเห็นของครู และผู้บริหารโรงเรียนประถมศึกษา ในกรุงเทพมหานครเกี่ยวกับลักษณะของนักเรียน ที่มีความบกพร่องทางการเรียนเฉพาะด้าน |
Other Titles: | Opinions of teachers and administrators in elementary schools in Bangkok Metropolis concerning characteristics of learning disabled students |
Authors: | มัญชลี อาภัสสร |
Advisors: | ปานตา ใช้เทียมวงศ์ แคธเธอรีน เอ.อิเวพเวอรา |
Other author: | จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย |
Issue Date: | 2530 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | วัตถุประสงค์ งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความคิดเห็นของครูและผู้บริหารในโรงเรียนประถมศึกษาในกรุงเทพมหานคร เกี่ยวกับลักษณะของนักเรียนที่มีความบกพร่องทางการเรียนเฉพาะด้าน วิธีดำเนินการวิจัย ตัวอย่างประชากร คือ ครูและผู้บริหารในโรงเรียนประถมศึกษาในกรุงเทพมหานคร สังกัดสำนักงานการประถมศึกษากรุงเทพมหานคร สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาเอกชน สังกัดกรุงเทพมหานคร สังกัดกรมการฝึกหัดครู และสังกัดทบวงมหาวิทยาลัย ในกรุงเทพมหานคร ซึ่งปฏิบัติหน้าที่ในภาคปลาย ปีการศึกษา 2529 จำนวนทั้งหมด 1,144 คน ซึ่งได้มาจากการสุ่มตัวอย่างแบบธรรมดา เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามที่ผู้วิจัยได้สร้างขึ้นโดยผ่านการตรวจสอบจากผู้ทรงคุณวุฒิในสาขาที่เกี่ยวข้อง จำนวน 7 ท่าน ได้แบบสอบถามกลับคืนมา 1,020 ฉบับ คิดเป็นร้อยละ 89.16 วิเคราะห์ข้อมูลโดยการแจกแจงค่าร้อยละ ผลการวิจัย 1. ครูและผู้บริหารที่ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นหญิง ร้อยละ 49.61 อายุระหว่าง 36-45 ปี จบการศึกษาระดับปริญญาตรี ระยะเวลาที่ปฏิบัติงานเกี่ยวข้องกับการประถมศึกษามากกว่า 10 ปีขึ้นไป อัตราส่วนผู้ที่ตอบแบบสอบถามเท่ากัน ระหว่างผู้บริหาร ครูผู้สอนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-2, 3-4 และ 5-6 คือร้อยละ 25 ผู้ที่ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่ไม่เคยมีความรู้และประสบการณ์การอบรมที่เกี่ยวข้องกับนักเรียนที่มีความบกพร่องทางการเรียนเฉพาะด้านมาก่อน 2. ครูและผู้บริหารร้อยละ 41.31 เข้าใจว่านักเรียนที่มีความบกพร่องทางการเรียนเฉพาะด้าน หมายถึง เด็กเรียนช้า และสามารถแยกออกจากกลุ่มนักเรียนปกติได้ ทันทีที่พบเห็นเพราะมีลักษณะพิเศษให้รู้ได้ และเห็นว่าความบกพร่องทางการเรียนเฉพาะด้านมีปัญหาสืบเนื่องมาจากวุฒิภาวะเจริญล่าช้า และขาดความเอาใจใส่จากครอบครัว ลักษณะทั่วไปของนักเรียนที่มีความบกพร่องทางการเรียนเฉพาะด้านที่พบ คือ มีระดับสติปัญญาใกล้เคียงปกติแต่สัมฤทธิผลในการเรียนต่ำในวิชาใดวิชาหนึ่ง หรือหลายวิชา นักเรียนประเภทนี้ไม่มีความแตกต่างระหว่างเด็กชายและเด็กหญิง และไม่สามารถระบุสาเหตุของความบกพร่องทางการเรียนเฉพาะด้านที่แน่นอนได้ 3. ครูและผู้บริหารเห็นว่านักเรียนที่มีความบกพร่องทางการเรียนเฉพาะด้านจะมีลักษณะบกพร่องในด้านการรับรู้และความจำ การอ่าน คณิตศาสตร์ การเขียน ภาษาและการพูด รวมทั้งปัญหาพฤติกรรมบางประการ จากประสบการณ์ของครูและผู้บริหารพบว่านักเรียนประเภทนี้ส่วนใหญ่จะมีความบกพร่องด้านการอ่านมากที่สุด รองลงไปคือการเขียน คณิตศาสตร์ ภาษา และการพูด ความคิดขั้นนามธรรม ความสนใจ และความจำ ตามลำดับ 4. ความคิดเห็นในการให้ความช่วยเหลือนักเรียนที่มีความบกพร่องทางการเรียนเฉพาะด้านจำเป็นต้องได้รับความร่วมมือจากทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง อาทิ ผู้ปกครอง แพทย์ จิตแพทย์ นักการศึกษาพิเศษ ครู ผู้บริหาร เป็นต้น และครูจะเป็นผู้ที่เหมาะสมที่สุดในการระบุปัญหา และส่งต่อเพื่อขอความช่วยเหลืออย่างทันท่วงที และเห็นด้วยว่าควรเปิดโอกาสให้นักเรียนประเภทนี้เรียนร่วมอยู่ในโรงเรียน ในชั้นเรียนปกติโดยมีห้องเสริมวิชาการ หรือห้องสอนซ่อมเสริม หรือโครงการอื่น ๆ เพื่อให้ความช่วยเหลือ ซึ่งในสภาพปัจจุบัน ครูและผู้บริหารส่วนใหญ่ได้พยายามให้ความช่วยเหลืออย่างเต็มที่อยู่แล้ว แต่ไม่ค่อยได้ผลเพราะขาดปัจจัยสำคัญหลายประการ อาทิ ขาดแคลนงบประมาณ และบุคลากรที่มีความรู้โดยตรง เป็นต้น อย่างไรก็ตาม ครูและผู้บริหารยังต้องการให้มีการเผยแพร่ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับปัญหานักเรียนที่มีความบกพร่องทางการเรียนเฉพาะด้านในรูปของการจัดเอกสารเผยแพร่และอบรมผู้ปฏิบัติงาน 5. ครูและผู้บริหารผู้ตอบแบบสอบถามเห็นว่าในการให้ความช่วยเหลือนักเรียนที่มีความบกพร่องทางการเรียนเฉพาะด้านนั้น ในการจัดการเรียนการสอน ควรได้มีการปรับหลักสูตรให้ยืดหยุ่นกับปัญหาของนักเรียนแต่ละคน ในกรณีที่แยกเป็นชั้นเรียนพิเศษ อัตราส่วนระหว่างครูและนักเรียนไม่ควรเกิน 1 ต่อ 10-15 หากให้มีการเรียนร่วมควรมีห้องสอนซ่อมเสริม หรือห้องเสริมวิชาการ เพื่อช่วยแบ่งเบาภาระของครูประจำชั้น มีอุปกรณ์การเรียนการสอนและเทคโนโลยีทางการศึกษาอื่น ๆ ให้เพียงพอ ในด้านบุคลากร ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เห็นว่าทุกโรงเรียนควรมีครูและบุคลากรอื่น ๆ ที่มีความรู้เกี่ยวกับการศึกษาพิเศษโดยตรงเพื่อการแก้ปัญหาที่ถูกต้อง และนอกจากนี้จรรยาบรรณของครู เป็นสิ่งสำคัญที่ต้องคำนึงถึง |
Other Abstract: | Purpose the purpose of this research was to study the opinions of teachers and administrators in elementary schools in Bangkok Metropolis concerning characteristics of learning disabled students. Procedures Samples consisted of 1,144 elementary school teachers and administrators under the jurisdiction of the Office of the Bangkok Primary Education Commission, the Office of the Private Education Commission, the Bangkok Metropolitan Administration, the Department of Teacher Training and the Office of State Universities during the academic year of 1986 were randomized by simple random sampling. The research instrument employed was a questionnaire designed by the researcher in conjunction with 7 experts in the field of special education. A total of 1,020 questionnaires or 89.16% were returned; the data was analyzed by percentage. Findings 1. The majority of teachers and administrators responding to the questionnaire were female university graduates. The respondents had an average of 10 years or more in the field of elementary education 25% were administrators, 25% were teachers of grades 1 or 2, 25% were teachers of grades 3 or 4 and 25% were teachers of grades 5 or 6. A majority of respondents had no previous knowledge and training experience in the field of learning disabilities. 2. The majority of respondents understood the term “learning disabilities” as “slow learners”. They also expressed confidence that they could identify these students because of their special characteristics. In addition, most respondents were of the opinion that a student’s disability was affected by his maturational delay and a lack of attention from the family. The most outstanding characteristic of the learning disabled student was the discrepancy between ability and overall achievement. There was no difference between the performance of boys and girls, and it was not possible to determine the cause of the learning disabilities. 3. Both teachers and administrators agreed that students with learning disabilities had perceptual and memory problems, deficits in the areas of reading, mathematics, writing, speech and language, and behavior disorders. Drawing on previous experiences, teachers and administrators expressed that the largest percentage of students had difficulties in reading, followed by writing, mathematics, speech and language, abstract thinking, attention and memory consecutively. 4. The majority of respondents were of the opinion that services for learning disabled students must be a team effort which includes parents, doctors, psychiatrists, special education personnel, teachers and administrators. In addition, it was felt that the teachers were the most important source of information both in identifying the student’s problem and seeking the best possible services for the student. The majority of teachers and administrators who responded to the questionnaire indicated that although they did their best to help individual student with learning problems, they admitted to feeling unsuccessful because of multiple problems such as lack of funds and lack of personnel with training in special education. Teachers and administrators indicated a need for a greater knowledge and understanding of learning disabilities through the use of literature, documents and workshops. 5. Teachers and administrators responding to the questionnaire agreed that in order to best help learning disabled students, the curriculum should be adjusted on an individual basis. If Learning Disabled students are to be separated from the regular classroom, the ratio of teacher to students. Should not exceed 1-15 or 20 Students. If a special class is not available, then the extablishment of a resource or remedial teaching room is necessary in order to share the burden of the regular classroom teacher. Materials and various educational technologies should be available to all teaching personnel. Most of the respondents agreed that all schools should have special educators available in order to deal with learning disabilities effectively, finally, the personal commitment of individual teachers should be carefully considered. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2530 |
Degree Name: | ครุศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | ประถมศึกษา |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/29264 |
ISBN: | 9745676128 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Grad - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Monchalee_ap_front.pdf | 14.79 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Monchalee_ap_ch1.pdf | 8.06 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Monchalee_ap_ch2.pdf | 14.65 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Monchalee_ap_ch3.pdf | 4.66 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Monchalee_ap_ch4.pdf | 21.15 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Monchalee_ap_ch5.pdf | 18.51 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Monchalee_ap_back.pdf | 25.2 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.