Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/29328
Title: ความสัมพันธ์ระหว่างการสนับสนุนทางสังคมกับการปฏิบัติตนด้านสุขภาพ ของหญิงตั้งครรภ์ : การศึกษาเฉพาะกรณี จังหวัดนครราชสีมา
Other Titles: The relationship between social supports and health practive of pregnant women : a case study of Changwat Nakhon Ratchasima
Authors: พิศมัย เพิ่มกระโทก
Advisors: พวงรัตน์ บุญญานุรักษ์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Issue Date: 2530
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาถึงความสัมพันธ์ของการสนับสนุนทางสังคมกับการปฏิบัติตนด้านสุขภาพในหญิงตั้งครรภ์ และเปรียบเทียบการสนับสนุนทางสังคมและการปฏิบัติตนด้านสุขภาพในหญิงตั้งครรภ์ที่มีอายุ ระดับการศึกษา และรายได้ของครอบครัวต่อเดือนแตกต่างกัน ตัวอย่างประชากรที่ใช้ในการวิจัยเป็นหญิงตั้งครรภ์ ในจังหวัดนครราชสีมา จำนวน 152 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสัมภาษณ์ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นเพื่อรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับโครงสร้างกลุ่มสังคมของหญิงตั้งครรภ์ และวัดการสนับสนุนทางสังคมและการปฏิบัติตนด้านสุขภาพในหญิงตั้งครรภ์ การวิเคราะห์ข้อมูลใช้วิธีหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ความถี่ พิสัย ทดสอบความแตกต่างระหว่างกลุ่ม โดยใช้ F-test ในระดับความมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 𝛼 = .05 และหาความสัมพันธ์โดยคำนวณค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน และทดสอบความมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 𝛼 = .05 ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. การสนับสนุนทางสังคมมีความสัมพันธ์ในทางบวกกับการปฏิบัติด้านสุขภาพในหญิงตั้งครรภ์ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ 2. การเปรียบเทียบการสนับสนุนทางสังคมในหญิงตั้งครรภ์เมื่อจำแนกตามอายุ ระดับการศึกษา และรายได้ของครอบครัวต่อเดือน มีข้อสรุปคือ 2.1 หญิงตั้งครรภ์ที่มีอายุมากกว่า 30 ปี ได้รับการยอมรับและมีผู้เห็นคุณค่ามากกว่าหญิงตั้งครรภ์ที่มีอายุ 20 ปี หรือต่ำกว่า อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ 2.2 หญิงตั้งครรภ์ที่มีการศึกษาแตกต่างกัน ได้รับการสนับสนุนทางสังคมไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ 2.3 หญิงตั้งครรภ์ที่มีรายได้มากกว่า 4,000 บาท ได้รับการมีส่วนร่วม และเป็นส่วนหนึ่งของสังคมมากกว่าหญิงตั้งครรภ์ที่มีรายได้ต่ำกว่า 2,000 บาท และหญิงตั้งครรภ์ที่มีรายได้ 2,000 – 4,000 บาท ได้รับการช่วยเหลือด้านข้อมูลข่าวสารมากกว่าหญิงตั้งครรภ์ที่มีรายได้ต่ำกว่า 2,000 บาท อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ 3. การเปรียบเทียบการปฏิบัติตนด้านสุขภาพในหญิงตั้งครรภ์ เมื่อจำแนกตามอายุ ระดับการศึกษา และรายได้ของครอบครัวต่อเดือน มีข้อสรุปคือ 3.1 หญิงตั้งครรภ์ที่มีอายุแตกต่างกัน มีการปฏิบัติตนด้านสุขภาพไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ 3.2 หญิงตั้งครรภ์ที่มีการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนต้น และระดับอาชีวะ หรืออุดมศึกษา มีการปฏิบัติตนด้านสุขภาพโดยส่วนรวมดีกว่าหญิงตั้งครรภ์ที่มีการศึกษาระดับประถมศึกษา และหญิงตั้งครรภ์ที่มีการศึกษาระดับอาชีวะ หรืออุดมศึกษา มีการปฏิบัติตนด้านโภชนาการได้ดีกว่าหญิงตั้งครรภ์ที่มีการศึกษาระดับประถมศึกษา อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ 3.3 หญิงตั้งครรภ์ที่มีรายได้ 2,000 – 4,000 บาท มีการปฏิบัติตนด้านสุขภาพโดยส่วนรวมด้านโภชนาการ และด้านการรักษาสุขภาพจิต ได้ดีกว่าหญิงตั้งครรภ์ที่มีรายได้ต่ำกว่า 2,000 บาท อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ
Other Abstract: The purposed of this research were to study the relationship between social support and health practice and to compare the social support and health practice of pregnant women who differed in age, education and monthly income. The research sample were 152 pregnant women in Ch angwat Nakhon Ratchasima. The instrument developed by the researcher composed of three sections which were network structure, social support and health practice of pregnant women. The collected data were analyzed by using percentage arithmetic mean, standard deviation, frequency, range, F-test, Scheffe procedure and Pearson correlation coefficient. The .05 level of statistical significant was considered in this study. The conclusion drawn from data analysis were as follow: 1. Social support and health practice were positively significant correlated. 2. In comparing of the social support of pregnant women who differed in age, education and monthly income, the results indicated that: 2.1 Pregnant women who were older than 30 years old had received higher esteem support than the group of 20 years old and lower. 2.2 The pregnant women with different educational levels were not statistical significant difference in social supports. 2.3 The pregnant women who earned monthly income more than 4,000 baht and had received higher socially support than the group earned 2,000 baht and lower and the group earned 2,000 -4,000 baht had received higher information support than the group earned 2,000 baht and lower. 3. In comparing of the health practice of pregnant women who differed in age, education and income, the results indicated that : 3.1 The pregnant women who differed in age were not statistical significant difference in health practice. 3.2 The pregnant women who completed secondary education and the college or university education demonstrated a better performance in health practice than the group of primary education and the college or university education group showed a better performance in nutritional practice than the primary education group. 3.3 The pregnant women who earned monthly income 2,000 – 4,000 baht showed a better performance of health practice, nutritional practice and mental health practice than the group earned 2,000 baht and lower.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2530
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: พยาบาลศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/29328
ISBN: 9745681512
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Pitsamai_pe_front.pdf5.84 MBAdobe PDFView/Open
Pitsamai_pe_ch1.pdf7.14 MBAdobe PDFView/Open
Pitsamai_pe_ch2.pdf21.25 MBAdobe PDFView/Open
Pitsamai_pe_ch3.pdf5.29 MBAdobe PDFView/Open
Pitsamai_pe_ch4.pdf9.22 MBAdobe PDFView/Open
Pitsamai_pe_ch5.pdf13.18 MBAdobe PDFView/Open
Pitsamai_pe_back.pdf19.34 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.