Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/29361
Title: มิติทางกฎหมายของแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
Other Titles: Legal dimension of National Economic and Social Development Plan
Authors: พิศิษฐ์ กันธทิพย์
Advisors: บวรศักดิ์ อุวรรณโณ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Issue Date: 2537
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: วิทยานิพนธ์ฉบับนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาวิจัยแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติในมิติ ทางกฎหมายด้านต่าง ๆ โดยมีข้อสมมติฐานว่า ความไม่สมดุลของการพัฒนาอาจเกิดจากการขาดความมีส่วนร่วมของกลุ่มบุคคลต่าง ๆ ในสังคม จากการศึกษาพบว่า ในกระบวนการวางแผนทุกขั้นตอนในระยะที่ผ่านมา หน่วยงานวางแผนไม่ได้คำนึงถึงความมีส่วนร่วมของประชาชน โดยการดึงเอากลุ่มผลประโยชน์ต่าง ๆ มาร่วมกันวางแผนกำหนดอนาคต รวมทั้งร่วมใจกันติดตามการปฏิบัติตามแผน การขาดความมีส่วนร่วมของประชาชนในการวางแผนปรากฏทั้งในหน่วยงานวางแผน กล่าวคือ คณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติและสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และในกระบวนการวางแผนการปฏิบัติตามแผน และการติดตามประเมินผล สาเหตุที่สำคัญของปัญหาก็คือ กฎหมายเกี่ยวกับการวางแผนขาดความชัดเจนโปร่งใส ดังนั้น ข้อเสนอแนะจึงสรุปได้ว่า บทบัญญัติของกฎหมายที่เกี่ยวกับองค์กรการวางแผนและกระบวนการวางแผนควรกำหนดให้ชัดเจนโปร่งใส ทั้งควรกำหนดให้กลุ่มผลประโยชน์ต่างๆ ในสังคมเข้ามามีส่วนร่วมทั้งในองค์กรการวางแผนและกระบวนการวางแผน เพื่อเป็นหลักประกันความสำเร็จของแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับต่างๆ ทั้งนี้ รูปแบบการวางแผนของประเทศฝรั่งเศสน่าจะนำมาปรับปรุงใช้เป็นตัวอย่างได้
Other Abstract: This thesis aims to study the National Economic and Social Development Plans on various legal aspects with the assumption that imbalanced development might result from lack of participation from different parts of the society. The study has shown that at different stages of the planning process, people's participation is not fully recognized by planning agency so as to induce various interest groups to help shaping the future and to voluntarily follow the implementation of the plan. This lack of people's participation can be proved both in the way the planning agency, the National Economic and Social Development Board and its office, is organized and in the way the planning process and implementation as well as evaluation is proceeded. The ultimate source of the problems is the law on planning which lacks transparency. It is therefore suggested in the conclusion that legal provisions on planning organization and process should be made more transparent and should prescrible participation of various interest groups in the society to the planning organization and process so as to ensure the success of the plans. The French Model is to be adapted to the end.
Description: วิทยานิพนธ์ (น.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2537
Degree Name: นิติศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: นิติศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/29361
ISBN: 9745842591
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Pisith_ku_front.pdf4.64 MBAdobe PDFView/Open
Pisith_ku_ch1.pdf5.01 MBAdobe PDFView/Open
Pisith_ku_ch2.pdf18.84 MBAdobe PDFView/Open
Pisith_ku_ch3.pdf26.77 MBAdobe PDFView/Open
Pisith_ku_ch4.pdf31.11 MBAdobe PDFView/Open
Pisith_ku_ch5.pdf16.2 MBAdobe PDFView/Open
Pisith_ku_ch6.pdf17.36 MBAdobe PDFView/Open
Pisith_ku_ch7.pdf4.85 MBAdobe PDFView/Open
Pisith_ku_back.pdf27.83 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.