Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/29389
Title: การเปรียบเทียบวิธีการประมาณค่าเฉลี่ยของประชากร เมื่อไม่ทราบค่าสัดส่วนของชั้นภูมิในการเลือกตัวอย่างมีชั้นภูมิ แบบสุ่มอย่างง่าย
Other Titles: A comparison on the population means estimation methods for unknown proportions of stratum sizes in stratified random sampling
Authors: พิสิฎฐ์ อิทนทสิงห์
Advisors: สรชัย พิศาลบุตร
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Issue Date: 2534
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อเปรียบเทียบประสิทธิภาพของตัวประมาณในสถานการณ์ที่ไม่ทราบค่าสัดส่วนของชั้นภูมิทั้งในขั้นตอนการวางแผนและขั้นตอนการประมาณค่ากับสถานการณ์ที่ไม่ทราบค่าสัดส่วนของชั้นภูมิในขั้นตอนการวางแผน แต่ทราบในขั้นตอนการประมาณค่าในการเลือกตัวอย่างมีชั้นภูมิแบบสุ่มอย่างง่าย โดยใช้วิธีการของมอนติคาร์โลในการแก้ปัญหา ทั้งนี้เพื่อนำวิธีการที่ดีกว่าไปใช้ในทางปฏิบัติต่อไป ผลการวิจัยพบว่า ตัวประมาณในสถานการณ์ที่ ไม่ทราบค่าสัดส่วนของชั้นภูมิในขั้นตอนการวางแผนแต่ทราบในขั้นตอนการประมาณค่ามีประสิทธิภาพสูงกว่าตัวประมาณในสถานการณ์ที่ไม่ทราบค่าสัดส่วนของชั้นภูมิทั้งในขั้นตอนการวางแผนและขั้นตอนการประมาณค่า และเมื่อพิจารณาผลลัพธ์ที่ได้จากการวิจัยจากทุกแผนการทดลองของแต่ละลักษณะการแจกแจงของประชากร จะพบว่า 1. ในกรณีของการแจกแจงแบบปกติ เมื่อกำหนดค่าความแปรปรวนเพิ่มสูงขึ้น ค่าประสิทธิภาพสัมพัทธ์ที่ได้จากการเปรียบเทียบตัวประมาณไม่แตกต่างไปจากค่าประสิทธิภาพสัมพัทธ์เดิมมากนัก 2. ในกรณีของการแจกแจงแบบปกติปลอมปน เมื่อกำหนดค่าความแปรปรวนเพิ่มสูงขึ้น ค่าประสิทธิภาพสัมพัทธ์ที่ได้จากการเปรียบเทียบตัวประมาณไม่แตกต่างไปจากค่าประสิทธิภาพสัมพัทธ์เดิมมากนัก แต่เมื่อกำหนดค่าสเกลแฟคเตอร์ และค่าสัดส่วนของการปลอมปนเพิ่มสูงขึ้น ค่าประสิทธิภาพสัมพัทธ์ที่ได้จากการเปรียบเทียบตัวประมาณจะให้ค่าที่แตกต่างไปจากค่าประสิทธิภาพสัมพัทธ์เดิม 3. ในกรณีของการแจกแจงแบบแกมมา เมื่อกำหนดค่าแอลฟา และค่าเบตาเพิ่มสูงขึ้น ค่าประสิทธิภาพสัมพัทธ์ที่ได้จากการเปรียบเทียบตัวประมาณไม่แตกต่างไปจากค่าประสิทธิภาพสัมพัทธ์เดิมมากนัก 4. ในกรณีของการแจกแจงแบบเบ้ เมื่อกำหนดค่าความแปรปรวนเพิ่มสูงขึ้น ค่าประสิทธิภาพสัมพัทธ์ที่ได้จากการเปรียบเทียบตัวประมาณไม่แตกต่างไปจากค่าประสิทธิภาพสัมพัทธ์เดิมมากนัก แต่เมื่อกำหนดค่าความเบ้เพิ่มสูงขึ้น ค่าประสิทธิภาพสัมพัทธ์ที่ได้จากการเปรียบเทียบตัวประมาณจะให้ค่าที่แตกต่างไปจากค่าประสิทธิภาพสัมพัทธ์เดิม
Other Abstract: The objective of this research is to compare efficiency of estimators between situation that proportions of stratum sizes are not know both at the planning as well as the estimation stage and situation that proportions of stratum sizes are not know at the planning stage but are known at the estimation stage in stratified random sampling. The research will take the best method for usage in practice in the future by using Monte Carlo method to solve the problem. The study show that estimator in situation that proportions of stratum sizes are not known at the planning stage but are known at the estimation stage is more efficiency than estimator in situation that proportions of stratum sizes are not known both at the planning as well as at the estimation stage. However, when we consider all of designs in each of distribution, the results of the study are as follows: 1. In case of normal distribution, when the variance is higher, the relative efficiency calculated from the estimators comparison is not much difference from the first relative efficiency. 2. In case of scale contaminated normal distribution, when the variance is higher, the relative efficiency calculated from the estimators comparison is not much difference from the first relative efficiency. However, when the scale factor and proportion of contamination are higher, the relative efficiency calculated from the estimators comparison is much difference from the first relative efficiency. 3. In case of gamma distribution, when the alpha and beta are higher, the relative efficiency calculated from the estimators comparison is not much difference from the first relative efficiency. 4. In case of skewed distribution, when the variance is higher, the relative efficiency calculated from the estimators comparison is not much difference from the first relative efficiency. However, when the skewness is higher, the relative efficiency calculated from the estimators comparison is much difference from the first relative efficiency.
Description: วิทยานิพนธ์ (บช.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2534
Degree Name: สถิติศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: สถิติ
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/29389
ISBN: 9745789879
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Pisit_in_front.pdf5.34 MBAdobe PDFView/Open
Pisit_in_ch1.pdf2.97 MBAdobe PDFView/Open
Pisit_in_ch2.pdf9.91 MBAdobe PDFView/Open
Pisit_in_ch3.pdf6.7 MBAdobe PDFView/Open
Pisit_in_ch4.pdf24.04 MBAdobe PDFView/Open
Pisit_in_ch5.pdf3.33 MBAdobe PDFView/Open
Pisit_in_back.pdf13.36 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.