Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/29703
Title: การใช้หลักสูตรธุรกิจการท่องเที่ยวระดับอนุปริญญา ในวิทยาลัยครู
Other Titles: An implementation of tourism cusrriculum for associate degree level in teachers colleges
Authors: ยงยุทธ เกษสาคร
Advisors: สวัสดิ์ จงกล
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Issue Date: 2530
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: วัตถุประสงค์ของการวิจัย 1. เพื่อศึกษาสภาพการใช้หลักสูตรธุรกิจการท่องเที่ยวระดับอนุปริญญา พุทธศักราช 2528 ในวิทยาลัยครู 2. เพื่อศึกษาปัญหาการใช้หลักสูตรธุรกิจการท่องเที่ยว ระดับอนุปริญญา พุทธศักราช 2528 ในวิทยาลัยครู วิธีดำเนินการวิจัย 1. การวิจัยครั้งนี้ใช้ระเบียบวิธีเชิงบรรยาย (Descriptive research) ประชากรที่ใช้เป็นกลุ่มตัวอย่างในการวิจัย ประกอบด้วย ผู้บริหาร อาจารย์ผู้สอนรายวิชาต่าง ๆ ในหลักสูตรธุรกิจการท่องเที่ยว และนักศึกษาวิชาเอกธุรกิจการท่องเที่ยว ระดับอนุปริญญา ชั้นปีที่ 2 ภาคเรียนสุดท้าย ปีการศึกษา 2529 จากวิทยาลัยครู 7 แห่ง รวมจำนวนทั้งสิ้น 273 คน คิดเป็นร้อยละ 83.9 2. เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ เป็นแบบสอบถามที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นเอง จำนวน 3 ฉบับ สำหรับผู้บริหาร อาจารย์ผู้สอนและนักศึกษา แต่ละฉบับจะแบ่งออกเป็น 4 ตอน คือ ตอนที่ 1 เป็นคำถามข้อมูลทั่วไปมีลักษณะเป็นแบบตรวจสอบ และเติมคำ ตอนที่ 2 เป็นคำถาม เกี่ยวกับสภาพการใช้หลักสูตรธุรกิจการท่องเที่ยว มีลักษณะเป็นแบบตัวเลือกปลายเปิด ตอนที่ 3 เป็นคำถามเกี่ยวกับความคิดเห็นในการใช้หลักสูตรธุรกิจการท่องเที่ยว มีลักษณะเป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า และตอนที่ 4 เป็นคำถามเกี่ยวกับปัญหาการใช้หลักสูตรธุรกิจการท่องเที่ยว ฉบับที่ 1 และฉบับที่ 2 เป็นแบบตัวเลือกปลายเปิด ส่วนฉบับที่ 3 มีลักษณะเป็นแบบมาตราส่วนประเมินค่า 3. วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าร้อยละด้วยคอมพิวเตอร์ โปรแกรม SPSSX ผลการวิเคราะห์นำเสนอเป็นตารางค่าร้อยละ ประกอบคำบรรยาย สรุปผลการวิจัย 1. สภาพการใช้หลักสูตรธุรกิจการท่องเที่ยว ตามการปฏิบัติจริงของผู้บริหาร อาจารย์ผู้สอนและนักศึกษา พบว่าการแปลงหลักสูตรไปสู่การสอน ในด้านการจัดหาแนวการสอน และแผนการสอน เอกสารประกอบการสอน ส่วนใหญ่ผู้บริหารกำหนดให้อาจารย์ในคณะวิชาจัดทำร่วมกัน โดยผู้บริหารให้การช่วยเหลือและสนับสนุน การจัดปัจจัยและสภาพต่าง ๆ เพื่อการใช้หลักสูตร วิทยาลัยได้สำรวจความพร้อมของบุคลากรก่อนการใช้หลักสูตร และเปิดโอกาสให้อาจารย์ผู้สอนเข้ารับการอบรม ศึกษาดูงาน และเชิญวิทยากรมาบรรยาย นอกจากนี้วิทยาลัยได้จัดเตรียมนักศึกษาโดยจัดให้เข้าฟังคำบรรยาย และรับคำแนะนำจากอาจารย์ที่ปรึกษา ส่วนด้านสื่อการเรียนการสอนที่วิทยาลัยจัดให้มากที่สุดคือ หลักสูตรแม่บทและเอกสารประกอบหลักสูตร สำหรับการจัดการเรียนการสอน ในด้านกิจกรรมการเรียนการสอน อาจารย์ผู้สอน
ได้ชี้แจงแผนการเรียนและแผนการปฏิบัติงานตลอดภาคเรียนให้นักศึกษาทราบเป็นบางครั้งเนื่องจาก มีเวลาจำกัด และการจัดกิจกรรมเสริมการเรียนการสอนได้รับความร่วมมือและความสนใจจาก นักศึกษาเป็นอย่างดี ส่วนเทคนิคและวิธีสอนที่อาจารย์ผู้สอนใช้มากที่สุดคือ การบรรยาย การวัด และประเมินผลจะเน้นในเรื่องการนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์ในการประกอบอาชีพโดยการใช้แบบทดสอบ 2. ความคิดเห็นเกี่ยวกับสภาพการใช้หลักสูตรธุรกิจการท่องเที่ยว ตามสภาพความเป็นจริงของผู้บริหาร อาจารย์ผู้สอน นักศึกษา พบว่า สภาพการใช้หลักสูตร ความเหมาะสมของจุดมุ่งหมายของหลักสูตร โครงสร้างของหลักสูตร ลักษณะของเนื้อหาวิชาต่างๆ ในหลักสูตรสภาพการวัดและประเมินผล อยู่ในระดับปานกลางถึงมาก 3. ปัญหาการใช้หลักสูตรธุรกิจการท่องเที่ยวของผู้บริหารและอาจารย์ผู้สอน ผลการวิจัยพบว่า ผู้บริหารส่วนใหญ่มีความเห็นว่า ปัญหาที่สำคัญที่สุดในการวางแผนการใช้หลักสูตรคือ การจัดสรรงบประมาณ ด้านการจัดทำแนวการสอน แผนการสอน เอกสารประกอบหลักสูตร และ คู่มือครู คือ อาจารย์ขาดความรู้และประสบการณ์ในสาขาวิชาธุรกิจการท่องเที่ยว ด้านการเตรียม อาจารย์ผู้สอนเพื่อการใช้หลักสูตร คือบุคลากรที่มีคุณวุฒิตรงกับสาขาวิชามีไม่เพียงพอ ด้านการจัดเตรียมสื่อการเรียนการสอน คือ งบประมาณไม่เพียงพอ ด้านการใช้แหล่งวิทยาการ สถานประกอบการ และสถานประกอบอาชีพอิสระ คือจำนวนสถานประกอบการในท้องถิ่นไม่เพียงพอ สำหรับอาจารย์ผู้สอน พบว่า ปัญหาที่สำคัญที่สุดในการจัดทำแผนการสอน แนวการสอน เอกสารประกอบ หลักสูตรและคู่มือครู คือขาดเอกสารตำราเพื่อการศึกษาค้นคว้า ด้านการเตรียมอาจารย์ผู้สอนเพื่อการใช้หลักสูตร คือ ไม่มีโอกาสเตรียมตัวล่วงหน้าว่าจะได้สอนวิชาใด เนื่องจากขาดแผนระยะยาวที่จะกำหนดตัวผู้สอนรายวิชาต่างๆ ด้านการจัดเตรียมสื่อ การเรียนการสอน คือ หลักสูตร คู่มือการใช้หลักสูตร คู่มือการประเมินผล และเอกสารประกอบ การเรียนการสอนไม่เพียงพอ ด้านการใช้แหล่งวิทยาการ คือ งบประมาณที่จะนำมาช่วยส่งเสริม การฝึกปฏิบัติของนักศึกษาในแหล่งวิทยาการ สถานประกอบการ และสถานประกอบอาชีพอิสระไม่เพียงพอ ปัญหาการใช้หลักสูตรธุรกิจการท่องเที่ยวของอาจารย์ผู้สอน ผลการวิจัยพบว่า ปัญหาที่สำคัญในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน คือ อาจารย์ผู้สอนไม่มีเวลาเตรียมการสอน ได้เต็มที่เท่าที่ควร ด้านการจัดกิจกรรมเสริมการเรียนการสอนคือ งบประมาณไม่เพียงพอ ด้านเทคนิคและวิธีสอน รวมทั้งการวัดและประเมินผลการเรียนคือ ขาดโอกาสในการพัฒนาตนเอง เกี่ยวกับการสอนแผนใหม่และระเบียบวิธีวัดและประเมินผล
Other Abstract: Purposes: 1. To study the implementation of tourism curriculum B.E. 2528 for Associate Degree Level in Teachers Colleges. 2. To study problems related to the implementation of tourism curriculum B.E. 2528 for Associate Degree Level in Teachers Colleges. Procedures: 1. This research was descriptive survey research. Questionnaire respondents were administrators, instructors and year two students in volving in Tourism Curriculum in seven Teachers Colleges thru out the Country, during the Second semester in the academic year 1985. Of 273 questionnaires sent out, 229 or 83.9 percent were completed and returned. 2. Three sets of questionnaires which were divided into 4 sections in forms of checklist, rating scale and open - ended questions were used in collecting and information of the samples, 3. Data were statistically analysis in forms of percentage by computer SPSSX program. (Statistical Package for the Social Sciences) Findings: 1. The findings from the questionnaires of an implementation of Tourism Curriculum were as follows: 1.1 Administrators, supported and cooperated with the instructor to collectively prepare course descriptions, lesson plans and instructional documents among staffs in the same faculty. Readiness of personality had been surveyed and checked before using this curriculum Instructors had an opportunity to be trained and lecture from the specialists. Students had been suggested from their advisors. The most media they got, were master curriculum and documents. 1.2 Organization of general situation conducive to efficient curriculum implementation: (a) investigation of instructors readiness to teach this subject was conducted prior to curriculum implementation ; (b) instructors were sent to attend in service training, study tour, and invitation of resource person to enrich teaching - learning ; (c) students were encouraged to consult their academic advisor with regard to their study of this course ; (d) instructional aids mostly provided by the colleges were curriculum, and curriculum materials on tourism. 1.3 Teaching - learning activities : (a) due to time constraints most instructors explained certain parts of programed of study and course implementation plan to students ; (b) students were interested and participated in CO - curricular activities aimed at enriching efficient teaching - learning ; (c) teaching method mostly used by instructors was lecture ; (d) paper - pencil test was mostly used by instructors in terms of evaluation methods and activity. 2. Opinions on actual situations related to tourism curriculum implementation: administrators, instructors, and students rated actual situation on curriculum implementation, curriculum aims, structure and content, as well as evaluation activities between moderate and high levels. 3. Problems concerning curriculum implementation perceived by administrators and instructors: administrators rated planning for curriculum implementation as the most important problem especially budget allocation. The others were provision of curriculum materials, preparation of instructors readiness to conduct course instruction particularly inadequacy of qualified instructors to teach tourism, shortages of instructional aids, and scarcity of local resources, intrepreneurs, and independent owners of tourist related agencies. As for instructors, they rated that preparation of instructional materials as the most important problem especially shortages of reference books, time constraints for teaching plan preparation, inadequacy of curriculum, and curriculum materials for preparation of instructional planning. The other was budget inadequacy for bringing students to study by field trip and practice at local entrepreneurs, and independent owners of tourist related agencies. The acute problems viewed by instructors was time constraint which affect badly on their instructional planning, and professional development especially in modern techniques of instruction and evaluation.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2530
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: บริหารการศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/29703
ISBN: 9745681657
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Yongyuth_ke_front.pdf18.33 MBAdobe PDFView/Open
Yongyuth_ke_ch1.pdf13.81 MBAdobe PDFView/Open
Yongyuth_ke_ch2.pdf34.41 MBAdobe PDFView/Open
Yongyuth_ke_ch3.pdf5.78 MBAdobe PDFView/Open
Yongyuth_ke_ch4.pdf83.4 MBAdobe PDFView/Open
Yongyuth_ke_ch5.pdf18.25 MBAdobe PDFView/Open
Yongyuth_ke_back.pdf68.75 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.