Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/29793
Title: วรรณยุกต์ในภาษาไทยถิ่นจังหวัดอ่างทองและพระนครศรีอยุธยา
Other Titles: Tones on the Thai dialects of Changwat Ang Thong and Phra Nakhon Si Ayutthaya
Authors: ยาใจ มาลัยเจริญ
Advisors: กัลยา ติงศภัทิย์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Issue Date: 2531
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: จุดมุ่งหมายของวิทยานิพนธ์ฉบับนี้คือ ศึกษาระบบวรรณยุกต์และสัทลักษณะของวรรณยุกต์ใน ภาษาไทยถิ่นกลางที่พูดในอำเภอทุกอำเภอของจังหวัดอ่างทองและพระนครศรีอยุธยา เพื่อนำผลการศึกษามาเปรียบเทียบแบ่งกลุ่มภาษาไทยถิ่นย่อย ข้อมูลที่ใช้เป็นคำเดียวซึ่งอาจมีพยางค์เดียวหรือหลายพยางค์ก็ได้ ข้อมูลดังกล่าวได้จากการสัมภาษณ์ผู้บอกภาษาจำนวน 23 คน ซึ่งคัดเลือกอย่างมีเกณฑ์และถือว่า เป็นตัวแทนของผู้พูดภาษาไทยถิ่นอ่างทองและพระนครศรีอยุธยา 23 อำเภอ ผลการวิจัยแสดงว่า ภาษาไทยถิ่นในบริเวณที่ศึกษาแบ่งออกเป็นภาษาถิ่นย่อยได้ และการแบ่ง ภาษาถิ่นโดยใช้สัทลักษณะของหน่วยเสียงวรรณยุกต์แต่ละหน่วย ได้ผลแตกต่างจากการแบ่งภาษาถิ่นโดยพิจารณาระบบวรรณยุกต์ทั้งระบบ การแบ่งภาษาถิ่นด้วยวิธีแรกทำให้แบ่งเป็นภาษาถิ่นย่อยได้ดังนี้ หน่วยเสียงวรรณยุกต์ที่ 1 หน่วยเสียงวรรณยุกต์ที่ 2 หน่วย เสียงวรรณยุกต์ที่ 4 และหน่วย เสยงวรรณยุกต์ ที่ 5 แต่ละหน่วยเสียงสามารถแบ่งเป็นภาษาถิ่นย่อยได้ 3 กลุ่ม แต่บริเวณที่ได้จากการแบ่งจะแตกต่างกัน ส่วนหน่วย เสียงวรรณยุกต์ที่ 3แบ่งภาษาถิ่นย่อยได้ 2 กลุ่ม สำหรับการแบ่งภาษาถิ่น โดยพิจารณาระบบวรรณยุกต์ทั้งระบบ ทำให้แบ่งภาษาถิ่นได้เป็น 4 กลุ่มคือ กลุ่มภาษาถิ่นย่อยอ่างทอง กลุ่มภาษาถิ่นย่อยอยุธยาตะวันตก กลุ่มภาษาถิ่นย่อยอยุธยากลาง และกลุ่มภาษาถิ่นย่อยอยุธยาตะวันออก ในงานวิจัยนี้ ผู้วิจัยได้เสนอวิธีการในการแบ่งภาษาถิ่น โดยอาศัยสัทลักษณะบ่งความต่างระหว่างถิ่น ซึ่งกำหนดขึ้นจากการพิจารณาอัตราการปรากฏของเสียงวรรณยุกต์ที่เป็นเสียงย่อยในแต่ละชุดเก็บข้อมูลและในบางกรณีจะกำหนดขึ้นจากการปรากฏหรือไม่ปรากฏของเสียงวรรณยุกต์ที่เป็นเสียงย่อย
Other Abstract: The main purpose of this study is to investigate the tone system of Central Thai spoken in every Amphoe of Ang Thong and Phra Nakhorn - Si Ayutthaya in order to identify the sub-dialects in the area. Monosyllabic and polysyllabic words spoken in isolation were elicited from 23 informants who represent local speakers of Central Thai in the 23 Amphoes of the two provinces. They were chosen according to a set of criteria. The study shows that the dialect spoken in the area of study can be devided into sub-dialects. The .subdivision on the basis of the phonetic characteristics of each tone differs from that on the basis of the whole tone system. The phonetic characteristics of tone 1, tone 2, tone 4 and tone 5 divide the dialect into three sub-dialects whereas those of tone 3 divide the dialect into two sub-dialects. The area where each sub-dialect is spoken varies from tone to tone. The tone system as a whole divide the dialect into four sub-dialects : the Ang Thong sub-dialect, the Western Ayutthaya sub-dialect, the Central Ayutthaya sub-dialect and the Eastern Ayutthaya sub-dialect. A new method for studying tonal variation is suggested in this study. It uses a set of distinctive characteristics which differentiate the sub-dialects. These characteristics are of two kinds : those pertaining to the rate of the occurence of each pitch pattern and those pertaining to the existence or non-existence of a pitch pattern.
Description: วิทยานิพนธ์ (อ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2531
Degree Name: อักษรศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: ภาษาศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/29793
ISBN: 9745689947
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Yajai_ma_front.pdf13.16 MBAdobe PDFView/Open
Yajai_ma_ch1.pdf18.69 MBAdobe PDFView/Open
Yajai_ma_ch2.pdf20.32 MBAdobe PDFView/Open
Yajai_ma_ch3.pdf30.98 MBAdobe PDFView/Open
Yajai_ma_ch4.pdf54.16 MBAdobe PDFView/Open
Yajai_ma_ch5.pdf17.37 MBAdobe PDFView/Open
Yajai_ma_ch6.pdf9.31 MBAdobe PDFView/Open
Yajai_ma_back.pdf6.94 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.