Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/29860
Title: การเปรียบเทียบรูปแบบของฟิชไบน์กับรูปแบบของทรัยแอนดิส ในการศึกษาพฤติกรรมการลงคะแนนเสียงเลือกตั้ง ซ่อมสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ของครูและผู้นำท้องถิ่น ในเขตเลือกตั้งที่ 1 จังหวัดขอนแก่น ในวันที่ 28 ธันวาคม 2529
Other Titles: A comparison of the Fishbein model with the triandis model in studying the voting behavior of teachers ans rural leaders in the by electing of a representative in constituency one, Changwat Knon Kaen, December 28, 1986
Authors: มนัส จินตนะดิลกกุล
Advisors: ธีระพร อุวรรณโณ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Issue Date: 2530
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาตัวแปรต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับพฤติกรรมการลงคะแนน เสียงเลือกตั้งซ่อมสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรของครูและผู้นำท้องถิ่น ในเขตเลือกตั้งที่ 1 จังหวัด ขอนแก่น ในวันที่ 28 ธันวาคม 2529 โดยเปรียบเทียบตัวแปรในรูปแบบการทำนายเจตนาเชิง พฤติกรรมและพฤติกรรมของฟิชไบน์กับรูปแบบของทรัยแอนดิส เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือแบบสำรวจที่สร้างตามทฤษฎีการกระทำด้วยเหตุผลของฟิชไบน์และไอเซน กับรูปแบบพฤติกรรมระหว่างบุคคลของทรัยแอนดิส จากการนำแบบสำรวจไปทดลองใช้พบว่ามีค่าความ เที่ยงสอดคล้องภายในแบบแอลฟ่าของมาตรวัดต่าง ๆ ในแบบสำรวจ ตั้งแต่ .66 ถึง .92 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้เป็นครูมัธยมศึกษา จำนวน 113 คน ครูประถมศึกษา จำนวน 231 คน และผู้นำท้องถิ่น จำนวน 214 คน จากอำเภอเมือง อำเภอมัญจาคีรี และอำเภอบ้านฝาง จำนวนทั้งสิ้น 558 คน ได้มาจากการสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน สถิติที่ใช้คือค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน สมการถดถอยพหุคูณ การทดสอบด้วยค่าที การทดสอบค่าเอฟด้วยวิธีวิเคราะห์ความแปรปรวนทาง เดียว และเปรียบ เทียบความแตกต่างรายคู่ด้วยวิธีของเชฟเฟ การทดสอบด้วยค่าไคสแควร์และ เปรียบเทียบความแตกต่างรายคู่ด้วยวิธีของมารัสเซโล และค่าร้อยละ ผลการวิจัยพบว่า 1. ตัวแปรเจตนาการเลือกผู้สมัครและนิสัยต่อการเลือกผู้สมัครหมายเลข 1 และหมายเลข 2 ในรูปแบบของทรัยแอนดิส สามารถทำนายพฤติกรรมการเลือกผู้สมัครแต่ละหมาย เลข (R1 = .54, P < .001; R2 = .62, P<.001) สูงกว่าตัวแปรเจตนาการเลือกผู้สมัครในรูปแบบของฟิชไบน์ (R1 = .53, P < .001; R2 = .54, p< .001) โดยมีค่าความแตกต่าง ร้อยละของความแปรปรวน เท่ากับร้อยละ 1 และร้อยละ 9 2. ในรูปแบบของทรัยแอนดิส ตัวแปรเจตนาการเลือกผู้สมัครมีค่าน้ำหนักของการทำนาย (β = .50, .42; P<.001) สูงกว่านิสัยต่อการเลือกผู้สมัคร ( β = .13, .33; P<.001)ยกเว้นในกลุ่มครูมัธยมศึกษา ตัวแปรนิสัยต่อการเลือกผู้สมัครหมายเลข 2 มีค่าน้ำหนักของการทำนาย (β = .49, P< .001) สูงกว่าเจตนาการเลือกผู้สมัคร ( β= .27, P<.01) 3. ตัวแปรความรู้สึก คุณค่าของผลกรรมและปัจจัยทางสังคมในรูปแบบของทรัยแอนดิส สามารถทำนายเจตนาการเลือกผู้สมัครแต่ละหมายเลขได้สูงกว่าตัวแปรเจตคติ และการคล้อยตามกลุ่มอ้างอิงในรูปแบบของฟิชไบน์ โดยมีค่าความแตกต่างร้อยละของความแปรปรวนอยู่ระหว่างร้อยละ 6 ถึงร้อยละ 11 4.ในรูปแบบของฟิชไบน์ ตัวแปรเจตคติต่อการเลือกผู้สมัครและการคล้อยตามกลุ่มอ้างอิง สามารถทำนายเจตนาการเลือกผู้สมัครแต่ละหมายเลขได้อย่างมีนัยสำคัญ (R = .62, .58, .58; P< .001) โดยมีตัวแปรเจตคติมีค่าน้ำหนักของการทำนาย (β = .44, .41, .40; P < .001)สูงกว่าการคล้อยตามกลุ่มอ้างอิง (β = .28, .27, .27; P<.001) 5. ในรูปแบบของทรัยแอนดิส ตัวแปรความรู้สึก คุณค่าของผลกรรมและปัจจัยทางสังคมสามารถทำนายเจตนาการเลือกผู้สมัครแต่ละหมายเลขได้อย่างมีนัยสำคัญ (R = .66, .67, .67; P< .001) โดยมีตัวแปรคุณค่าของผลกรรมมีค่าน้ำหนักของการทำนาย (β= .35, .43, .38; P < .001) สูงกว่าความรู้สึก (β = .29, .21, .25; P <.001) และปัจจัยทางสังคม (β= .13, .17, .21; P < .001) 6. กลุ่มผู้ตอบมีเจตคติต่อการเลือกผู้สมัครและการคล้อยตามกลุ่มอ้างอิงต่อผู้สมัครที่กลุ่มเลือกสูงกว่าผู้สมัครที่กลุ่มไม่เลือกอย่างมีนัยสำคัญ ทั้ง 3 กลุ่ม (P < .01) 7. ตัวแปรเจตคติต่อการเลือกผู้สมัคร เจตคติต่อพรรคการเมือง และเจตคติต่อหัวหน้าพรรคการเมืองของผู้สมัคร สามารถทำนายเจตนาการเลือกผู้สมัครหมายเลข 1 และ 2 ได้อย่างมีนัยสำคัญ (R1 = .58, P< .001; R2 = .53, P < .001) โดยตัวแปร เจตคติต่อการเลือกผู้สมัครมีค่าน้ำหนักของการทำนาย (β1 = .52, P<.001; β2 = .52, P<.001) สูงกว่าเจตคติต่อหัวหน้าพรรคการเมือง (β1 = .06, ns. ; β2 = -.01, ns.) และเจตคติต่อพรรคการเมืองของผู้สมัคร(β1 = .05, ns. ; β2 = .03, ns.) 8. ตัวแปรที่มีอิทธิพลต่อเจตนาการเลือกผู้สมัครหมายเลข 1 คือ ผลคูณของความเชื่อ กับการประ เมินความเชื่อ ที่ว่าทำให้พรรคฝ่ายค้านเข้มแข็งขึ้น ทำให้ผลผลิตของเกษตรกรมีราคาดีขึ้น และผลคูณของความเชื่อเกี่ยวกับกลุ่มอ้างอิงนับการคล้อยตามกลุ่มอ้างอิง ที่ว่านายทุนไม่เห็นควรให้เลือก และรู้สึกว่าการเลือกผู้สมัครหมายเลข 1 เป็นสิ่งที่ก้าวหน้า ตัวแปรที่มีอิทธิพลต่อเจตนาการเลือกผู้สมัครหมายเลข 2 คือ ผลคูณของความเชื่อกับการประเมินความเชื่อ ที่ว่าทำให้ได้ส.ส.ที่เป็นปากเป็นเสียงของชาวขอนแก่นที่แท้จริง มีการคล้อยตามความประสงค์ของหัวหน้าพรรคราษฎร และรู้สึกว่าการเลือกผู้สมัครหมายเลข 2 เป็นสิ่งที่น่าสนับสนุน น่าสนใจ มีประโยชน์แต่ค่อนข้างสกปรก ตัวแปรที่มีอิทธิพลต่อเจตนาการเลือกผู้สมัครหมายเลข 3 คือผลคูณของความเชื่อกับการประเมินความเชื่อ ที่ว่าทำให้ได้ส.ส.ที่เป็นปากเป็นเสียงของชาวขอนแก่นที่แท้จริง ทำให้ได้ส.ส.ที่มีความเข้มแข็ง กล้าพูด กล้าทำ มีการคล้อยตามความประสงค์ของข้าราชการท้องถิ่น กลุ่มสามล้อ ลุงแคล้ว นรปติ ที่เห็นควรเลือกผู้สมัครหมายเลข 3 และรู้สึกว่า การเลือกผู้สมัครหมายเลข 3 เป็นสิ่งที่ดี น่าสนใจ น่าสนับสนุน และมีประโยชน์ 9. กลุ่มผู้ตอบให้ความสำคัญกับเกณฑ์การพิจารณาเลือกสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร เป็นอันดับแรกคือ คุณสมบัติของผู้สมัคร ร้อยละ 36 อันดับสองคือผู้สมัครและนโยบายพรรค ร้อยละ 26.3 อันดับสามคือนโยบายพรรค ร้อยละ 22.9 โดยกลุ่มครูมัธยมศึกษาและครูประถมศึกษาให้ความ สำคัญอันดับแรกคือ นโยบายพรรค ร้อยละ 31.1 อันดับสองคือ ผู้สมัครและนโยบายพรรค ร้อยละ 28.7 อันดับสามคือ คุณสมบัติของผู้สมัคร ร้อยละ 24.6 ส่วนผู้นำท้องถิ่นให้ความสำคัญอันดับแรก คือ คุณสมบัติของผู้สมัคร ร้อยละ 55.3 อันดับสองคือ ผู้สมัครและนโยบายพรรค ร้อยละ 22.1 และอันดับสาม ผลงานที่ผ่านมาของพรรค ร้อยละ 9.6 10. กลุ่มผู้ตอบมีความเห็นว่า การเลือกตั้ง ส.ส. และพรรคการเมืองมีความสำคัญต่อระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตย ร้อยละ 95.2 และ 87.8 ตามลำดับ นายกรัฐมนตรีควรมาจากการเลือกตั้ง ร้อยละ 85.8 มีการแจกเงินหรือสิ่งของเครื่องใช้ ร้อยละ 58.2 และเห็นว่าการแจกเงินหรือสิ่งของเครื่องใช้จะเป็นโทษต่อบ้านเมืองในภายหลัง ร้อยละ 78 กลุ่มผู้ตอบไม่เชื่อว่าการเลือกตั้งส.ส. และผู้ที่ได้เป็นส.ส.จะช่วยให้ชีวิตความ เป็นอยู่ของตนดีขึ้น ร้อยละ 81.3 และ 80.5 ตามลำดับและเห็นว่าการรับเงินแจก เป็นสิ่งที่ไม่ควรทำ ร้อยละ 84.2 และไม่ควรเลือกผู้ที่แจก เงินเป็นส.ส. ร้อยละ 95.2 11. กลุ่มผู้ตอบมีเจตคติต่อการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในทางที่ดีปานกลาง รู้สึกว่า เป็นสิ่งที่ควรสนับสนุน มีประโยชน์ แต่ค่อนข้างสกปรก ในกลุ่มผู้ตอบที่ไม่ใช้สิทธิ์ เป็นกลุ่ม ครูมัธยมศึกษาและครูประถมศึกษา ร้อยละ 83.2 และมีเจตคติต่อการเลือกตั้งในทางที่ดีน้อยมาก รู้สึกว่าเป็นสิ่งที่น่าเบื่อและสกปรก
Other Abstract: The purpose of this research was to study how the variables related to the voting behavior of teachers and rural leaders could be applied to compare the Fishbein model with the Triandis model in the by electing of a representative in constituency one, Changwat Khon Kaen, December 28, 1986. The instrument in this research was the questionnaire developed on the basis of the Theory of Reasoned Action of Fishbein and Ajzen, and a Model of Interpersonal Behavior of Triandis. The internal consistency coefficients of various scales of the questionnaire were between .66 and .92. The subjects were three groups of 558 eligible voters ; 113 teachers in secondary schools, 231 teachers in primary schools and 214 rural leaders; from the three election zones; Amphur Muang, Mancha Keree and Ban Fang. They were selected by using a multistage sampling method. The Pearson's correlation, the multiple regression analysis, the t-test, the one-way analysis of variance and, where appropriate, the Scheffe's method for pairwise comparison were employed; the x2-test and, where appropriate, the Marascuilo's method for pairwise comparison were also employed to test the hypotheses. The major findings are as follows: 1.The Triandis' model, which composes of the behavioral intention and the habit, is more effective predictor of the voting behavior for candidate number 1 and candidate number 2 (R1 = .54, P < .001; R2 = .62, P<.001) than the Fishbein's model, which composes of only the behavioral intention(R1 = .53, P < .001; R2 = .54, p< .001) , with differences in the percentage of variances being accounted for in the voting behavior ranging from 1% to 9%. 2. From the Triandis' model the behavioral intention is more effective predictor of the voting behavior for candidate number 1 and 2 (β = .50, .42; P<.001) than the habit ( β = .13, .33; P<.001), except the teachers in the secondary schools, the habit is more effective predictor of the voting behavior for candidate number 2 (β = .49, P< .001) than the behavioral intention ( β= .27, P<.01) 3. The Triandis1 model, which composes of the affect, the value of the perceived consequences and the social factor, is more effective predictor of the behavioral intention for each candidate than the Fishbein's model, which composes of the attitude and the subjective norm, with the percentage of variances being accounted for in the behavioral intention differ within the range from 6% to 11%. 4. From the Fishbein's model the attitude and the subjective norm can significantly predict the behavioral intention for each candidate (R = .62, .58, .58; P< .001), and the attitude is more effective predictor of the behavioral intention for each candidate (β = .44, .41, .40; P < .001)than the subjective norm (β = .28, .27, .27; P<.001) 5. From the Triandis' model the affect, the value of the perceived consequences and the social factor can significantly predict the behavioral intention for each candidate (R = .66, .67, .67; P< .001), and the value of the perceived consequences is more effective predictor of the behavioral intention for each candidate (β= .35, .43, .38; P < .001) than the affect(β = .29, .21, .25; P <.001) and the social factor (β= .13, .17, .21; P < .001) 6. From the Fishbein's model, there are significant differences in the attitude and the subjective norm among the three groups who voted for each candidate (P<.01), with positive scores for the voted candidate. 7. The attitude toward voting for candidate number 1 and 2, the attitude toward the candidates' party and the attitude toward the candidates' party leader can significantly predict the behavioral intention (R1 = .58, P< .001; R2 = .53, P < .001) , and the attitude toward voting for the candidate is more effective predictor of the behavioral intention (β1 = .52, P<.001; β2 = .52, P<.001) than the attitude toward the candidates' party (β1 = .06, ns. ; β2 = -.01, ns.) and the attitude toward the candidates' party leader (β1 = .05, ns. ; β2 = .03, ns.) 8. The relative importance of variables in predicting the behavioral intention of respondents who voted for candidate number 1 are: (1) increasing the strength of the opposition parties (2) increasing the price of agricultural products (3) capitalists do not want them to vote for candidate number 1 and (4) progressive, respectively; for those who voted for candidate number 2 are: (1) having a true representative of Khon Kaen people (2) the leader of the Ratsadorn Party wants them to vote for candidate number 2 (3) supportable, interesting, useful but slightly dirty; and for those who voted for candidate number 3 are: (1) having a true representative of Khon Kaen people (2) having a strong representative (3) agree with rural government officials (4) agree with tricycle drivers (5) agree with Mr. Klaew Norapati (6) good, interesting, supportable and useful. 9. Overall responses of the criteria for voting for a candidate in terms of ranking and percentages of importance are: first, candidate's qualification 36%, second, the candidate himself and candidate’s party policy 26.3%, third, party policy 22.9%. For the teachers, the ranking are: first, party policy 31.1%, second, the candidate himself and party policy 28.7%, and third, candidate's qualification 24.6%. For rural leaders, the ranking are: first, candidate's qualification 55.3%, second, the candidate himself and party policy 22.1%, and third, previous works of the party 9.6%. 10. The percentage of respondents who reported that they agree with various statements are as follows: (1) having representative election is important for democracy 95.2% (2) political parties are important for democracy 87.8% (3) The premier ought to be elected 85.8% (4) some candidates bribed people to elect them 58.2% (5) taking bribe to elect a candidate will be harmful for the country 78% (6) electing a representative will not lead to their better living 80.5% (7) the elected representative will not lead to their better living 80.5% (8) taking bribe to elect a candidate should not be done 84.2% and (9) one should not vote for a candidate who bribed people to elect him 95.2%. 11. The respondents have the attitudes toward a representative election as being quite good, supportable, useful, but slightly dirty. Teachers in secondary schools and primary schools, being 8 3.3% of the respondents who did not vote in the election, have the attitudes toward a representative election as less positive, boring and dirty.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2530
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: จิตวิทยา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/29860
ISBN: 9745678376
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Manas_ji_front.pdf11.19 MBAdobe PDFView/Open
Manas_ji_ch1.pdf32.07 MBAdobe PDFView/Open
Manas_ji_ch2.pdf15.56 MBAdobe PDFView/Open
Manas_ji_ch3.pdf23.75 MBAdobe PDFView/Open
Manas_ji_ch4.pdf6.59 MBAdobe PDFView/Open
Manas_ji_ch5.pdf6.37 MBAdobe PDFView/Open
Manas_ji_back.pdf20.74 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.