Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/29940
Title: การเปรียบเทียบอัตมโนทัศน์ของวัยรุ่นชายรักร่วมเพศ กับวัยรุ่นชายรักต่างเพศ ที่ได้รับการอบรมเลี้ยงดูแตกต่างกัน
Other Titles: A comparison of self-concept between male homosexual and male heterosexual adolescents with different rearing practices
Authors: อรอนงค์ นิยมธรรม
Advisors: พรรณทิพย์ ศิริวรรณบุศย์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Issue Date: 2531
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบอัตมโนทัศน์ของวัยรุ่นชายรักร่วมเพศกับวัยรุ่นชายรักต่างเพศที่ได้รับการอบรมเลี้ยงดูแตกต่างกัน กลุ่มตัวอย่างประกอบด้วยวัยรุ่นชายรักร่วมเพศจำนวน 100 คน และวัยรุ่นชายรักต่างเพศจำนวน 100 คน โดยวิธีสุ่มแบบเฉพาะเจาะจง จากมหาวิทยาลัยรามคำแหง มหาวิทยาลัยกรุงเทพ และมหาวิทยาลัยหอการค้าไทย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ แบบสำรวจอัตมโนทัศน์ของเพียร์และแฮรีส ฉบับภาษาไทย ที่แปลและดัด แปลงโดย กรรณิการ์ ภู่ประเสริฐ และแบบสอบถามการอบรมเลี้ยงดูตามการรับรู้ของตนเอง ของถั้น แพเพชร ที่ดัดแปลงโดย สุกัญญา กุลอึ้ง ตัวแปรอิสระที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ลักษณะพฤติกรรมทางเพศ และการอบรมเลี้ยงดูตามการรับรู้ของตนเอง ตัวแปรตาม ได้แก่ อัตมโนทัศน์การวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้การวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบสองทาง การเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยเป็นรายคู่ด้วยวิธีของเชฟเฟ และสถิติทดสอบไค-สแควร์ ผลการวิจัยพบว่า 1. วัยรุ่นชายรักร่วมเพศ และวัยรุ่นชายรักต่างเพศที่รับรู้ว่าตนเองได้รับการอบรมเลี้ยงดูแตกต่างกันมีอัตมโนทัศน์ ในทุกองค์ประกอบไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ 2. วัยรุ่นชายรักร่วมเพศมีคะแนนเฉลี่ยอัตมโนทัศน์ในทุกองค์ประกอบต่ำกว่าวัยรุ่นชายรักต่างเพศอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .001 3. วัยรุ่นที่รับรู้ว่าตนเองได้รับการอบรมเลี้ยงดูแบบประชาธิปไตย มีคะแนนเฉลี่ยอัตมโนทัศน์ ในทุกองค์ประกอบสูงกว่าวัยรุ่นที่รับรู้ว่าตนเองได้รับการอบรมเลี้ยงดูแบบให้ความคุ้มครองมากเกินไป และ แบบทอดทิ้ง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .001 4. มีความสัมพันธ์ระหว่างลักษณะพฤติกรรมทางเพศ และการอบรมเลี้ยงดูตามการรับรู้ของตนเอง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .001 ดังนี้ 4.1 วัยรุ่นชายรักร่วมเพศ รับรู้ว่าตนเองได้รับการอบรมเลี้ยงดูแบบให้ความคุ้มครองมากเกินไป และแบบทอดทิ้งรวมกันมากกว่าแบบประชาธิปไตย 4.2 วัยรุ่นชายรักต่างเพศ รับรู้ว่าตนเองได้รับการอบรมเลี้ยงดูแบบประชาธิปไตยมากกว่าแบบให้ความคุ้มครองเกินไป และแบบทอดทิ้ง
Other Abstract: The purpose of this research was to compare self-concept of male homosexual and male heterosexual adolescents with different rearing practices. The sample were 100 male homosexual adolescents and 100 male heterosexual adolescents. They were selected by purposive random sampling technique from Ramkamhang University, Bangkok University and The University of the Thai Chamber of Commerce. The instruments used in this research were 1) Piers-Harris Children’s Self-Concept Scale translated and modified by Kannikar Bhuprasert 2) Adolescents Percieved Rearing Practices Questionnaire constructed by Than Paepech and modified by Sukanya Kuneung. The two independent variables in this research were 1) characteristics of sexual behavior and 2) adolescents’ perception of rearing practices. The dependent variable was self-concept. The data were analyzed by using Two-Way Analysis of Varience, Sheffe’Multiple Comparisons in Two-Factor ANOVA and The Chi-Square Test. The results indicated that: 1. The self-concept of male homosexual and male heterosexual adolescents with different rearing practices did not differ significantly in all factors. 2. Male homosexual adolescents had significantly lower self-concept in all factors than male heterosexual adolescents at the level of .001. 3. Adolescents who perceived themselves as receiving democratic rearing practices had significantly higher self-concept in all factors than adolescents who perceived themselves as receiving overprotection and rejection rearing practices at the level of .001. 4. There were significant relationships between characteristics of sexual behavior and adolescents’ perception of rearing practices at the level of .001. as follows:- 4.1 Male homosexual adolescents perceived themselves as receiving overprotection and rejection rearing practices more than democratic rearing practices. 4.2 Male heterosexual adolescents perceived themselves as receiving democratic rearing practices more than overprotection and rejection rearing practices.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2531
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: จิตวิทยาการศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/29940
ISBN: 9745694487
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Onanong_ni_front.pdf5.42 MBAdobe PDFView/Open
Onanong_ni_ch1.pdf20.53 MBAdobe PDFView/Open
Onanong_ni_ch2.pdf5.13 MBAdobe PDFView/Open
Onanong_ni_ch3.pdf9.75 MBAdobe PDFView/Open
Onanong_ni_ch4.pdf3.83 MBAdobe PDFView/Open
Onanong_ni_ch5.pdf2.04 MBAdobe PDFView/Open
Onanong_ni_back.pdf13.78 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.