Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/29969
Title: การประเมินผลการดำเนินงานการใช้หลักสูตรการศึกษาผู้ใหญ่แบบเบ็ดเสร็จ ระดับที่ 3-4 พุทธศักราช 2522 ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
Other Titles: An implementation procedure evaluation of the B.E. 2522 Adult Functional Education Curriculum level 3-4 in the Northeastern region
Authors: ไพรัช วรรณวงศ์
Advisors: บุญมี เณรยอด
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Issue Date: 2530
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: วัตถุประสงค์ของการวิจัย เพื่อประเมินผลการดำเนินงานการใช้หลักสูตรการศึกษาผู้ใหญ่แบบเบ็ดเสร็จ ระดับที่ 3-4 พุทธศักราช 2522 ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ วิธีดำเนินการวิจัย กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยครั้งนี้คือ โรงเรียนผู้ใหญ่อยู่ในความรับผิดชอบของกรมการศึกษานอกโรงเรียน ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จำนวน 169 โรงเรียน โดยมีผู้ให้ข้อมูลประกอบด้วย ผู้บริหาร 169 คน ครูผู้สอน 339 คน และนักศึกษาผู้ใหญ่ระดับที่ 3 และระดับที่ 4 จำนวน 747 คน รวมกลุ่มตัวอย่างผู้ให้ข้อมูลทั้งสิ้น 1 ,255 คน จากแบบสอบถามที่ส่งไปทั้งสิ้น จำนวน 1,255 ฉบับ ได้รับคืนเป็นฉบับสมบูรณ์ จำนวน 1 ,045 ฉบับ คิดเป็นร้อยละ 83.27 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือแบบสอบถามซึ่งมีลักษณะเป็นแบบตรวจสอบรายการ (Check list) และแบบปลายเปิด (Open - ended) การวิเคราะห์ข้อมูลวิเคราะห์โดยใช้ค่าความถี่และค่าร้อยละ ผลการวิจัย 1. การแปลงหลักสูตรไปสู่การสอน 1.1 การทำโครงการสอนโรงเรียนผู้ใหญ่ส่วนมากมีการจัดทำโครงการสอนโดยครูประจำวิชาเป็นผู้วางแผน และดำเนินการจัดทำกันเอง และมีผู้บริหารติดตามและประเมินผล ส่วนปัญหาที่เกิดขึ้นส่วนมากครูขาดความรู้ ความเข้าใจในการจัดทำโครงการสอน 1.2 การจัดทำบันทึกการสอน โรงเรียนผู้ใหญ่ส่วนมากมีการจัดทำบันทึกการสอนโดยครูประจำวิชาเป็นผู้วางแผนและดำเนินการจัดทำเอง และมีบริหารเป็นผู้ติดตาม ประเมินผล ส่วนปัญหาที่เกิดขึ้น คือ การขาดเอกสารอ้างอิงในการทำบันทึกการสอน 2. การจัดปัจจัยและสภาพแวดล้อม 2.1 การจัดบุคลากร ผู้ที่มีส่วนรับผิดชอบในการจัดทำแผนและติดตามผลคือ ผู้บริหารการดำเนินการยึดสาขาวิชาเอก และประสบการณ์ของผู้สอนเป็นเกณฑ์ อย่างไรก็ตามยังมีปัญหาเกี่ยวกับการขาดบุคลากรที่มีความรู้ ความสามารถตรงตามสาขาวิชา 2.2 การใช้อาคารสถานที่ ผู้มีส่วนรับผิดชอบในการวางแผน และจัดทำโครงการ คือ ผู้บริหารโดยให้คณะกรรมการเป็นผู้ดำเนินงาน โดยใช้สภาพของโรงเรียน และความพร้อมของบุคลากรและงบประมาณเป็นเกณฑ์ และมีผู้บริหารเป็นผู้ติดตามประเมินผล การดำเนินงานยังมีปัญหาเกี่ยวกับความร่วมมือของเจ้าของสถานที่ 2.3 การจัดสรรงบประมาณเพื่อการเรียนการสอน ผู้ที่มีส่วนรับผิดชอบในการจัดสรรและติดตามผลประเมินผล คือผู้บริหาร การจัดสรรงบประมาณวิธีการจัดสรรตามลักษณะของโครงการ และกิจกรรม ที่สนับสนุนการเรียนการสอน ส่วนปัญหาที่เกิดขึ้นส่วนมากคือ งบประมาณไม่เพียงพอ 2.4 การจัดตารางสอน ผู้มีส่วนรับผิดชอบในการจัดหาแผน และดำเนินงานรวนทั้งติดตามผล คือ ผู้บริหาร ส่วนปัญหาที่เกิดขึ้นคือ การกระจายของเวลาในตารางสอนไม่เหมาะสมเนื่องจากบุคลากรน้อย 2.5 การประชาสัมพันธ์การใช้หลักสูตร ผู้ที่มีส่วนรับผิดชอบในการวางแผนดำเนินการและติดตามผล คือ ผู้บริหาร โดยใช้วิธีการประชุมครูผู้สอนเพื่อชี้แจงการใช้หลักสูตร การติดตามผลประเมินผล การดำเนินงานใช้วิธีการสอบถามครูผู้สอน ปัญหาที่เกิดขึ้นส่วนมากเป็นปัญหาเกี่ยวกับประสิทธิภาพของการประชาสัมพันธ์ 2.6 การจัดโปรแกรมการเรียน ผู้ที่มีส่วนรับผิดชอบในการจัดหาแผนดำเนินการและติดตามผล คือ ผู้บริหาร โดยใช้ความพร้อมของโรงเรียนด้านบุคลากรและงบประมาณเป็นเกณฑ์ในการ จัดการเลือกโปรแกรมการเรียนของนักศึกษาผู้ใหญ่ส่วนมากใช้เกณฑ์ความต้องการของตัวเอง ส่วนปัญหาที่เกิดขึ้นคือ การไม่สนองตอบความต้องการของผู้เรียน 2.7 การนำทรัพยากรท้องถิ่นมาใช้เป็นปัจจัยประกอบการเรียนการสอนวิชาชีพ ผู้ที่มีส่วนรับผิดชอบในการจัดทำแผนดำเนินการ และติดตามผล ประเมินผล คือ ผู้บริหาร อย่างไรก็ตามการดำเนินการส่งนักศึกษาไปเรียนวิชาชีพในสถานศึกษาอาชีพของรัฐหรือเอกชน ส่วนมากยังไม่ได้ดำเนินการ จึงยังไม่ทราบประเด็นปัญหา 2.8 การจัดกิจกรรมเสริมหลักสูตร ผู้ที่มีส่วนรับผิดชอบในการจัดหาแผน ส่วนใหญ่ คือ ผู้บริหารและครู ผู้สอนดำเนินการโดยคณะกรรมการที่ได้รับการแต่งตั้งโดยมีผู้บริหารเป็นผู้ติดตามประเมินผล เกณฑ์ที่ใช้ในการพิจารณาจัดกิจกรรมเสริมหลักสูตรส่วนมากใช้เกณฑ์ความพร้อมของโรงเรียน ปัญหาที่เกิดขึ้นส่วนมากคือ การขาดงบประมาณ 2.9 การจัดแนะแนว ผู้ที่มีส่วนรับผิดชอบในการจัดหาแผนและติดตามประเมินผลคือ ผู้บริหารส่วนการดำเนินการให้ครูที่ได้รับการแต่งตั้งดำเนินการ ปัญหาที่เกิดขึ้นคือ การขาดครูที่มีความรู้ด้านแนะแนว 2.10 การประเมินผลการใช้หลักสูตร ผู้ที่มีส่วนรับผิดชอบในการจัดทำแผนและติดตามประเมินผลของโรงเรียน ส่วนใหญ่คือ ผู้บริหาร การดำเนินงานใช้วิธีแต่งตั้งกรรมการดำเนินงาน ปัญหาที่เกิดขึ้นคือ ขาดบุคลากรที่รับผิดชอบโดยตรง 2.11 การนิเทศติตามผลการใช้หลักสูตรในโรงเรียน ผู้ที่มีส่วนรับผิดชอบในการจัดหาแผนการนิเทศติดตามผลส่วนใหญ่คือผู้บริหาร การติดตามผลการดำเนินงานส่วนมากจะใช้วิธีการสังเกตการปฏิบัติงานของบุคลากรที่เกี่ยวข้อง สำหรับปัญหาที่เกิดขึ้น คือ มีการนิเทศติดตามผลน้อย 3. การจัดการเรียนการสอน วิธีสอนวิธีสอนที่ครูผู้สอนส่วนใหญ่ใช้ คือ วิธีสอนแบบบรรยาย โดยมีหลักเกณฑ์ในการเลือกวิธีสอน คือ ความสอดคล้องกับเนื้อหาวิชา และการมีส่วนร่วมของผู้เรียน ปัญหาที่เกิดขึ้นคือ ขาดอุปกรณ์และวัสดุที่จำเป็นในการสอน และการขาดความรู้ ความเข้าใจของครูผู้สอน 3.2 การใช้นวัตกรรมและเทคโนโลยีทางการศึกษา หลักเกณฑ์ที่ผู้สอนใช้คือ หลักเกณฑ์ความสอดคล้องกันวัตถุประสงค์ของรายวิชา การดำเนินการยึดสภาพนวัตกรรมและเทคโนโลยีทางการศึกษาที่มีอยู่ในโรงเรียนปัญหาที่เกิดขึ้นคือ ขาดวัสดุ อุปกรณ์เทคโนโลยีทางการศึกษา 3.3 การประเมินผลการเรียน การประเมินผลก่อนการเรียนส่วนมากใช้วิธีการซักถาม และสังเกต การอภิปรายของนักศึกษาและจัดหารายงาน การประเมินผลระหว่างเรียนส่วนมากใช้วิธี ส่งผลงานให้ตรวจ การประเมินผลหลังเรียนส่วนมากใช้วิธีสอบข้อเขียน ปัญหาที่เกิดขึ้นคือสภาพเครื่องมือวัดผลไม่เป็นมาตรฐาน
Other Abstract: Purposes : To evaluate an implementation procedure of the B. E. 2522 Adult Functional Education Curriculum Level 3-4 In the Northeastern Region. Procedure Sample of this study consisted of 169 Adult schools under the jurisdiction of Non-Formal Education Department by which data were collected from 169 administrators, 339 teachers, and 747 adult learners. One thousand two hundred and fifty-five copies of questionnaire were sent out; 1045 copies, or 83.27 percent were completed and returned. Data were analyzed by using frequency and percentage. Findings : 1. Curriculum Application. 1.1 Teaching plans : It was found that teaching plans were developed in most adult schools by teachers themselves planned and constructed by which the evaluation was done by administrators. However, lack of knowledge and understanding of teachers were reported as problem. 1.2 Lesson plans : It was found again that lesson plans were developed by teachers themselves planned and constructed by which administrators evaluated them. Lack of reference sources was reported as problem. 2. Resources and utilities provided. 2.1 Personnel assigned : Most adult schools reported that administrators planed and evaluated .this function by which personnel were assigned upon their qualifications and experiences. However, there were still be problem of lack of personal which appropriated to subjects offered. 2.2 School plant utilizing : Administrators planned, and developed in most adult school and operated through committee members by using the appropriateness of school personnel and budget as criterias. The evaluation again was done by administrators. Cooperation of the school plant owners, was reported as problem. 2.3 Budgeting for instructional factors: Most adult schools reported that administrators distributed and evaluated all budgets by using instructional supporting projects and activities as criterias. However, insufficient amount of budget was reported as criterion. 2.4 Class scheduling : Administrators planned, managed, and evaluated this function by themselves in most adult schools. While over work load due to insufficient amount of personnel was reported as problem. 2.5 Curriculum promotion : It was found that administrators planned and operated this function in most adult schools through teacher meetings and evaluated through teachers inquiry. However, there still be the problem of process efficiency. 2.6 Learning programmes : Administrators themselves planned, managed this functions by using the appropriateness of school personnel and budget as criterion. They also evaluated the programs by themselves. Students selected programs upon their needs and preferences. Most problem reported was the unacordance of learner's needs. 2.7 Utilizing of local resources : It was found that administrators planned, operated, and evaluated this function by themselves. However, this function has been operated in few adult schools which course no problem in operation. 2.8 The extra-curriculum activities : Most adult schools had this function planned by administrators and teachers, while committee members carried on the operation. The administrators evaluated this functions. However, the school readiness was used as criteria. The insufficient amount of budget reported to be the problem. 2.9 Guidance : Administrators planned and evaluated this function, while the operation was carried on by assigned teachers. However, lack of appropriated teachers was reported to be the problem. 2.10 Curriculum evaluation : Most adult schools reported that this activity was planned and operated by. administrators, by which the operation was carried on by committee members. Lack of appropriated personnel reported to be the problem. 2.11 Supervision with in school ะ Most of adult schools reported that administrators were responsible in planning and follow up the outcomes by observation personnel performance. However, this function has been put in to operation within few schools. 3. Instructional process : 3.1 Teaching techniques and methods : Lecturing was reported to be the method which most in adult schools, by which the contents relevance and learners. Participation were selected as criterias for selecting teaching method. Insufficient amount of materials and equipment’s, also lack of knowledge and experiences among personnel were reported to be problem. 3.2 Utilization of educational innovation and technology : Teachers in most adult schools reported that they considered the content relevance as criterias for selection within the limitation of school readiness. Again, insufficient amount of aids and equipment were reported as problem. 3.3 Learning evaluation : An observation and conversation were use as a pre-test method in most adult schools, while reporting and discussion were conducted during classes as method for assessing, whereas paper and pencil tests was employed as post-test. The standardize of test instruments was reported to be problem.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2530
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: บริหารการศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/29969
ISBN: 9745678988
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Pairat_wa_front.pdf11.3 MBAdobe PDFView/Open
Pairat_wa_ch1.pdf10.42 MBAdobe PDFView/Open
Pairat_wa_ch2.pdf38.22 MBAdobe PDFView/Open
Pairat_wa_ch3.pdf5.51 MBAdobe PDFView/Open
Pairat_wa_ch4.pdf58.35 MBAdobe PDFView/Open
Pairat_wa_ch5.pdf15.07 MBAdobe PDFView/Open
Pairat_wa_back.pdf29.87 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.