Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/30096
Title: การทำตะกอนโลหะหนักซัลไฟด์ให้เป็นก้อนโดยใช้ปูนซีเมนต์และเถ้าลอยลิกไนต์เป็นตัวประสาน
Other Titles: Solidification of heavy-metal sulfide sludge using cement and lignite fly ash as binders
Authors: อนุวัฒน์ ปูนพันธ์ฉาย
Advisors: เพ็ชรพร เชาวกิจเจริญ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Issue Date: 2539
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยนี้เป็นการศึกษาการทำเสถียรตะกอนโลหะหนักที่ได้จากการบำบัดน้ำเสียซีโอดีโดยการเดิมโซเดียมซัลไฟด์ลงไปในตะกอนก่อนนำไปทำให้เป็นก้อนโดยใช้ปูนซีเมนต์และเถ้าลอยลิกไนต์ ในการทดลองนี้แสดงถึงผลกระทบต่างๆ ที่มีผลต่อการทำให้เป็นก้อนและแสดงสมบัติทางกายภาพของตะกอนที่ผ่านการทำให้เป็นก้อนเช่น กำลังรับแรงอัด, ความหนาแน่น, และความซึมได้ของน้ำ นอกจากนี้มีการทดสอบการชะละลายเพื่อหาความเข้มข้นของโครเมียม, ปรอท, และเหล็กด้วย รวมทั้งหาประสิทธิภาพในการทำลายฤทธิ์และประมาณค่าใช้จ่ายของตัวประสานที่ใช้ในการทำให้เป็นก้อน ในงานวิจัยนี้มีการทดลองสี่ชุด คือ ในการทดลองที่หนึ่งเป็นการหาปริมาณการเติมสารโซเดียมซัลไฟด์ซึ่งมีการแปรค่าปริมาณการเติมโซเดียมซัลไฟด์ตั้งแต่ 0 ถึง 4.50 เท่าของปริมาณทางทฤษฎีของความเข้มข้นของโครเมียม, ปรอท, และเหล็กที่มีอยู่ในตะกอน การทดลองที่สองเป็นการหาอัตราส่วนผสมของตะกอนโลหะหนักต่อตัวประสานซึ่งมีการแปรค่าตั้งแต่ 0.25, 0.35, 0.50, 0.60, และ 0.70 ในการทดลองที่สามเป็นการแสดงผลของการเปลี่ยนแปลงระยะเวลาในการบ่มตัวอย่างที่ 3, 7, 14, และ 28 วัน การทดลองที่สี่เป็นการนำสัดส่วนที่เหมาะสมในการทดลองที่หนึ่งและสองมาใช้กับตะกอนโลหะหนักที่ได้จากศูนย์กำจัดกากอุตสาหกรรมแสมดำ จากการทดลองพบว่าความเข้มข้นของโครเมียมและเหล็กในน้ำสกัดมีค่าต่ำมาก ถึงแม้ว่าไม่มีการเติมโซเดียมซัลไฟด์ ประสิทธิภาพในการทำเสถียรของโครเมียมและปรอทมีค่าเท่ากับ 60.01 และ 91.40% ที่สัดส่วนการเติมโซเดียมซัลไฟด์ 1.75 เท่าตามลำดับและเท่ากับ 94.00 และ 99.49% ที่สัดส่วนการเติมโซเดียมซัลไฟด์ 3.00 เท่าตามลำดับที่อัตราส่วนผสมของตะกอนต่อตัวประสานเท่ากับ 0.25 ซึ่งในทั้งสองสัดส่วนการเติมนี้ทำให้ความเข้มข้นของโครเมียมและปรอทต่ำกว่ามาตรฐานสารมีพิษของกรมโรงงานอุตสาหกรรม สำหรับการประมาณค่าใช้จ่ายในการบบำบัดนี้ประมาณ 5,000 บาทต่อตันของตะกอนสำหรับสัดส่วนการเติมโซเดียมซัลไฟด์ 1.75 เท่าและ 5,790 บาท ต่อตันของตะกอนสำหรับสัดส่วนการเติมโซเดียมซัลไฟด์ 3.00 เท่า ในขณะที่ไม่มีการเติมโซเดียมซัลไฟด์จะมีค่าใช้จ่ายประมาณ 3,900 บาทต่อตันของตะกอนแต่ทำให้ความเข้มข้นของปรอทในน้ำสกัดสูงกว่ามาตรฐานสารมีพิษของกรมโรงงานอุตสาหกรรม (>0.2 มก./ล.)
Other Abstract: This research investigates the stabilization of heavy Metal sludge from COD wastewater treatment by adding sodium sulfide to heavy metal sludge before solidifying it with ordinary Portland cement and lignite fly ash. The Experiments were performed to determine not only the factor affecting the solidification process but also the physical properties of the solidified specimens, such as the compressive strength, density and permeability. In addition, the extraction tests on chromium, mercury and iron were carried out. The efficiency on leachability reduction and cost estimation for proper binders were also considered. There were four experiments in this research. The first experiment was carried out by varying the amount of sodium sulfide from 0 to 4.50 times stoichiometric of the concentration of chromium, mercury and iron in the sludge. The second experiment was performed by using the waste/ cementitious binders ratios of 0.25, 0.35, 0.50, 0.60 and 0.70. The third experiment indicated the effects of varying curing time of the solidified specimens at 3, 7, 14 and 28days. And the fourth experiment used the optimum conditions from the first and the second experiments to solidify heavy metals from the Samare-dum Industrial Waste Treatment Center. The results indicated that the concentration of chromium and iron in the extracted solution was very low even if sodium sulfide was not added to the sludge. The stabilization efficiency of chromium and mercury, at a sludge/binders ratio of 0.25, was 60.01 and 91.40% for 1.75 times stoichiometric, respectively, while those of 3.00 times stoichiometric was 94.00 and 99.49%, respectively. The concentrations of both metals at these two .sodium sulfide quantities were lower than the toxic substances standard promulgated by the Ministry of Industry, Thailand. Cost estimation of the treatment was about 5,000 baht per ton of sludge for 1.75 times and 5,790 baht per ton of sludge for 3.00 times while that of no sodium sulfide adding was about 3,900 baht per ton of sludge, but the concentration of mercury in the extracted solution was higher than the toxic substances standard ( > 0.20 mg/l).
Description: วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2539
Degree Name: วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิศวกรรมสิ่งแวดล้อม
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/30096
ISSN: 9746357247
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Anuwat_po_front.pdf1.35 MBAdobe PDFView/Open
Anuwat_po_ch1.pdf288.59 kBAdobe PDFView/Open
Anuwat_po_ch2.pdf271.61 kBAdobe PDFView/Open
Anuwat_po_ch3.pdf4.24 MBAdobe PDFView/Open
Anuwat_po_ch4.pdf774.94 kBAdobe PDFView/Open
Anuwat_po_ch5.pdf3.55 MBAdobe PDFView/Open
Anuwat_po_ch6.pdf348.63 kBAdobe PDFView/Open
Anuwat_po_ch7.pdf246.49 kBAdobe PDFView/Open
Anuwat_po_back.pdf2.61 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.