Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/30169
Title: | ปฏิสัมพันธ์ระหว่างการ์ตูนที่มีและไม่มีรายละเอียดพื้นหลังกับ แบบการคิดที่มีต่อการจำ และความคงทนในการจำ ในการเรียนคำศัพท์ภาษาอังกฤษ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 |
Other Titles: | An interaction of cartoon with and without background and cognitive styles on English vocabulary recognition and retention of mathayom suksa one students |
Authors: | แมน ต้นสมบูรณ์ |
Advisors: | วิรุฬห์ ลีลาพฤทธิ์ |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย |
Issue Date: | 2529 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | วัตถุประสงค์ของการวิจัยครั้งนี้ เพื่อศึกษาปฏิสัมพันธ์ระหว่างภาพการ์ตูนที่มีและไม่มีรายละเอียดพื้นหลัง กับแบบการคิด ที่มีต่อการจำและความคงทนในการจำ ในการเรียนคำศัพท์ภาษาอังกฤษ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ เป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ปีการศึกษา 2529 ของโรงเรียนวัดนายโรง กรุงเทพมหานคร จำนวน 120 คน ซึ่งได้มาโดยให้ตัวอย่างประชากรทำแบบทดสอบ เดอะ กรุ๊ป เอมเบดเดด เทสท์ (The Group Embedded Figures Test) เพื่อแบ่งนักเรียนออกเป็น 2 ประเภท ตามแบบการคิดคือ ฟิลด์ ดีเพนเดนซ์ (Field Dependence) และ ฟิลด์ อินดีเพนเดนซ์ (Field Independence) ทำการสุ่มตัวอย่างแบบง่ายให้เหลือประเภทละ 60 คน แล้วสุ่มตัวอย่างแบบง่ายอีกครั้งหนึ่ง เพื่อแบ่งนักเรียนแต่ละประเภทออกเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มละ 30 คน รวมนักเรียนกลุ่มที่ 1 ของทั้งสองประเภท เข้าด้วยกัน และรวมนักเรียนกลุ่มที่ 2 ของทั้งสองประเภทเข้าด้วยกันด้วย แต่ละกลุ่มทดลองประกอบด้วยนักเรียนที่มีแบบการคิดฟิลด์ ดีเพนเดนซ์ 30 คน และฟิลด์ อินดีเพนเดนซ์ 30 คน จากนั้นสุ่มกลุ่มทดลองเพื่อเข้ารับการทดลอง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นสไลด์ภาพการ์ตูน 2 ชุด คือภาพการ์ตูนที่ไม่มีรายละเอียดพื้นหลัง และภาพการ์ตูนที่มีรายละเอียดพื้นหลัง ประกอบกับสไลด์คำศัพท์ภาษาอังกฤษ ภาพแต่ละชุดมี 25 ภาพ กลุ่มทดลองกลุ่มที่ 1 เข้ารับการทดลองดูสไลด์ภาพการ์ตูนที่ไม่มีรายละเอียดพื้นหลังประกอบกับสไลด์คำศัพท์ภาษาอังกฤษ กลุ่มทดลองที่ 2 ดูสไลด์ภาพการ์ตูนที่มีรายละเอียดพื้นหลังประกอบกับสไลด์คำศัพท์ภาษาอังกฤษ โดยใช้บทสอนเหมือนกันทั้ง 2 กลุ่ม และมีการทดสอบความจำหลังเรียนทันที และหลังเรียน 2 สัปดาห์ แล้วนำคะแนนทั้งหมดมาวิเคราะห์โดยใช้วิธีการวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบสองทาง สรุปผลการวิจัยได้ดังนี้ 1. นักเรียนที่มีแบบการคิดต่างกัน เมื่อเรียนด้วยภาพการ์ตูนที่มีรายละเอียดพื้นหลังและภาพการ์ตูนที่ไม่มีรายละเอียดพื้นหลัง มีความจำและความคงทนในการจำในการเรียนคำศัพท์ภาษาอังกฤษแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2. นักเรียนที่มีแบบการคิดต่างกัน มีความจำและความคงทนในการจำในการเรียนคำศัพท์ภาษาอังกฤษแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 3. นักเรียนที่เรียนด้วยภาพการ์ตูนที่มีรายละเอียดพื้นหลัง และภาพการ์ตูนที่ไม่มีรายละเอียดพื้นหลัง มีความจำและความคงทนในการจำในการเรียนคำศัพท์ภาษาอังกฤษแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 |
Description: | วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2529 |
Degree Name: | ครุศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | โสตทัศนศึกษา |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/30169 |
ISBN: | 9745671614 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Grad - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Man_to_front.pdf | 883.5 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Man_to_ch1.pdf | 756.96 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Man_to_ch2.pdf | 1.79 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Man_to_ch3.pdf | 551.93 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Man_to_ch4.pdf | 867.96 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Man_to_ch5.pdf | 795.69 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Man_to_back.pdf | 1.17 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.