Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/30720
Title: | ความสัมพันธ์ระหว่างภาษากับภาพตัวแทนของนักโทษประหารและการประหารชีวิตในหนังสือพิมพ์รายวันไทย |
Other Titles: | The relationship between language and representations of death-row inmates and executions in Thai newspapers |
Authors: | ธีระยุทธ สุริยะ |
Advisors: | ณัฐพร พานโพธิ์ทอง |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะอักษรศาสตร์ |
Advisor's Email: | Natthaporn.P@Chula.ac.th |
Subjects: | ภาษาไทย -- วจนะวิเคราะห์ ข่าวหนังสือพิมพ์ -- ไทย การประหารชีวิตและเพชฌฆาต -- ไทย นักโทษ -- ไทย |
Issue Date: | 2554 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | การประหารชีวิตเป็นประเด็นทางสังคมที่มีทั้งผู้สนับสนุนและคัดค้าน จากงานวิจัยที่ผ่านมาพบว่าคนไทยส่วนใหญ่ยังสนับสนุนโทษประหารชีวิต ทั้งนี้ความคิดเห็นดังกล่าวอาจได้รับอิทธิพลจากวาทกรรมที่อยู่รอบตัว วาทกรรมหนึ่งที่เข้าถึงคนในสังคมคือวาทกรรมข่าวในหนังสือพิมพ์รายวันไทย วิทยานิพนธ์นี้มุ่งวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างภาษากับภาพตัวแทนของนักโทษประหารและการประหารชีวิตในหนังสือพิมพ์รายวันไทยตามแนววาทกรรมวิเคราะห์เชิงวิพากษ์ โดยผู้วิจัยเก็บข้อมูลจากหนังสือพิมพ์รายวันไทย 6 ชื่อฉบับ ได้แก่ ไทยรัฐ เดลินิวส์ มติชน ข่าวสด คมชัดลึก และสยามรัฐ ระหว่างปี พ.ศ. 2539 ถึง พ.ศ. 2552 ผลการวิเคราะห์โครงสร้างความหมายระดับมหภาคพบว่าหนังสือพิมพ์รายวันไทยมุ่งเสนอว่านักโทษประหารทำผิดร้ายแรงจึงต้องชดใช้ด้วยการถูกประหารชีวิต โครงสร้างดังกล่าวยังมีลักษณะที่แสดงความเหตุเป็นผลของเหตุการณ์ซึ่งสัมพันธ์กับเรื่อง “กรรม”ของพุทธศาสนา เมื่อวิเคราะห์ในระดับกลวิธีทางภาษาพบว่ากลวิธีทางภาษาที่สื่อภาพตัวแทนมี 5 กลวิธี ได้แก่ (1) การเลือกใช้คำหรือกลุ่มคำ (2) การใช้สำนวน (3)การใช้มูลบท (4) การเล่าเรื่อง และ (5) การใช้สหบท กลวิธีทางภาษาเหล่านี้ได้สื่อภาพตัวแทนของ “นักโทษประหาร” ว่านักโทษประหารเป็นผู้กระทำผิดกฎหมาย นักโทษประหารเป็นผู้มีจิตใจโหดเหี้ยม นักโทษประหารเป็นผู้ขาดศีลธรรม นักโทษประหารเป็นผู้ที่สังคมไม่ต้องการ นักโทษประหารเป็นผู้กระทำผิดซ้ำซากไม่เกรงกลัวกฎหมาย นักโทษประหารเป็นผู้ก่อกรรมชั่ว ในขณะเดียวกันสื่อภาพตัวแทนของ “การประหารชีวิต” ว่าการประหารชีวิตเป็นกระบวนการทางกฎหมาย การประหารชีวิตเป็นกระบวนการที่รอบคอบรัดกุม การประหารชีวิตเป็นกระบวนการที่น่ากลัว การประหารชีวิตเป็นกระบวนการที่มีมนุษยธรรม การประหารชีวิตเป็นการชดใช้กรรม ปัจจัยทางสังคมและวัฒนธรรมที่สัมพันธ์กับการประกอบสร้างภาพตัวแทนของนักโทษประหารและการประหารชีวิตได้แก่ แนวคิดทางพุทธศาสนาและการเป็นสังคมแบบรวมหมู่ การบังคับใช้กฎหมาย นโยบายต่อต้านยาเสพติดของรัฐ การต่อต้านการประหารชีวิตขององค์กรสิทธิมนุษยชน |
Other Abstract: | “Death Penalty” has been one of the controversial issues in Thai society. According to the previous studies, most of the Thais support death penalty. It is hypothesized that they might somewhat be influenced by discourses surrounded them. Thus, this thesis aims to study the relationship between language and representations of “death-row inmates” and “executions” in Thai newspapers by using the theory of linguistically oriented CDA. The data elicited are from 6 Thai daily newspapers including Thai Rath, Daily News, Matichon, Kao Sod, Khom Chad Luek and Siam Rath from 1996 to 2009. The analysis of semantic macro structure reveals that the death-row inmates are represented as law-breakers who severe crimes. Therefore, they deserve death penalty. Moreover, the structure of cause and effect is use in the text to present the concept “Karma” in Buddhism. The analysis of texts reveals that there are 5 linguistic strategies adopted to construct representations including (1) lexical selection (2) idiom (3) presupposition (4) narratives and (5) intertextaulity. These devices represent “death-row inmates” as a law-breaker, a ruthless person, an immoral person, an incompetent person, a recidivist and a sinner. Meanwhile, “executions” are represented as legal, watertight, frightful, humane and retributive. Finally, the analysis of context indicates that the socio-cultural factors that have influence on the texts are the teachings of Buddhism and the concept of collectivism in Thai society, law enforcement, the “war on drugs” policy, the campaigns against death penalty by NGOs. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (อ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2554 |
Degree Name: | อักษรศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | ภาษาไทย |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/30720 |
URI: | http://doi.org/10.14457/CU.the.2011.1225 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.14457/CU.the.2011.1225 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Arts - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
thirayut_su.pdf | 4.39 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.