Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/30961
Title: การแยกสกัดแทนนินจากเปลือกไม้โกงกาง (Rhizophora spp.)
Other Titles: Extraction of tannin from the bark of phizophora spp.
Authors: ไพบูลย์ ชินรุ่งเรืองสิน
Advisors: ชูชาติ บารมี
พล ลาเกทอง
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Issue Date: 2531
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: แทนนินเป็นสารประกอบเชิงซ้อนพวก "พินอลิก" เป็นสารที่ให้ความฝาด พบตามส่วนต่างๆ ของพืช ใช้มากในอุตสาหกรรมฟอกหนัง งานวิจัยนี้ได้ทดลองแยกสกัดแทนนินจากเปลืองไม้โกงกางสายพันธุ์ไรซโซฟอร่า ซึ่งเป็นไม้ในป่าชายเลน ด้วยวิธีการต่างๆ ได้แก่ สกัดแบบแช่ สกัดในถังกวน และสกัดแบบกิ่งต่อเนื่องสวนทางกัน โดยใช้น้ำเป้นตัวสกัด ผลการทดลองสรุปได้ดังนี้ 1. สกัดแบบแช่ เมื่อัตราส่วนระหว่างเปลือกไม้ต่อน้ำ 1:3 โดยน้ำหนัก เปลือกไม้บดมีขนาแส้นผ่านศูนย์กลางต่ำกว่ำ 0.5 มิลลิเมตร อุณหภูมิ 80◦ซ ในน้ำผสม Na₂So₃ ปริมาณ 1% ของน้ำหนักเปลือกไม้ สกัด 2 ครั้ง แต่ละครั้งใช้เวลาที่ใช้ในการสกัด 20 นาที แล้วแยกสารละลายสกัดออกจากกากโดยใช้เครื่องบีบ จะให้ผลการสกัดสูงที่สุดคือ 77.6% ของที่มีอยู่ในเปลือกไม้ 2. สกัดในถังกวน เมื่อเปลีอกไม้ขนาดเล็กเวลาที่ใช้ในการสกัดจะน้อยกว่าเปลือกไม้ขนาดใหญ่ แต่ผลการสกัดจะสูงกว่า ที่อัตราส่วนระหว่างเปลือกไม้ต่อน้ำ 1:10 โดยน้ำหนัก เปลือกไม้บดมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางต่ำกว่า 0.5 มิลลิเมตร อุณหภูมิที่ใช้สกัด 30◦ซ เวลาที่ใช้ในการสกัด 10 นาที จะให้ผลการสกัดสูงที่สุดคือ 34.8% ของที่มีอยู่ในเปลือกไม้ และความเร็วของใบพัดในช่วงระหว่าง 690, 820, 1100 รอบต่อนาที จะไม่มีผลต่อปริมาณที่ได้สกัด 3. สกัดแบบกึ่งต่อเนื่องสวนทางกัน เมื่ออัตราการไหลของน้ำ 15 ลิตร/ชั่วโมง ปริมาณเปลือกไม้ที่ป้อน 7 นาทีต่อครั้งๆ ละ 500 กรัมหรืออัตราส่วนระหว่างเปลือกไม้ต่อน้ำ 1:3.5 โดยน้ำหนักเปลือกไม้บดมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางต่ำกว่า 0.5 มิลลิเมตร เติม Na₂So₃ ปริมาณ 2% ของเปลือกไม้ อุณหภูมิ 80◦ซ สกัด 3 ครั้ง จะให้ผลการสกัดสูงที่สุดคือ 48.7% ของที่มีอยู่ในเปลือกไม้ สารละลายแทนนินที่สกัดได้นำมาอบแห้งที่อุณหภูมิ 90◦ซ จะมีปริมาณแทนนินประมาณ 50-55% ของผลิตภัณฑ์แทนนินที่สกัดได้ เมื่อนำมาฟอกหนัง หนังที่ฟอกจะมีสีน้ำตาลแดง
Other Abstract: Tannin is a complex "phenolic" compound, astringent taste, found in many parts of plant, used in leather manufacture. In this research, tannin was extracted from the bark of mangrove Rhizophora spp. by immersion, agitation tank and semi-continuous counter current method. In this work the solvent was "water", The conclusions of this experiment are. 1. Immersion The suitable ratio between bark and water was 1 to 3 by weight, bark particle size less than 0.5 millimetres in diameter, two stages extract, was performance at 80°c, the extraction time was 20 minutes per stage, and 0.01 grams Na₂ SO₃ per unit weight of bark, the solution was seperated from innert soluble by mechanical means. The highest yield of tannin extraction was 77.6 percent by weight of total tannin in the bark. 2. Agitation tank The extraction time of small barks was less than the big bark, but gave high yield more than. The suitable ratio between bark and water is 1 to 10 by weight, bark particle size less than 0.5 millimetres in diameter extraction time was 10 minutes, was performance at 30°C. the highest yield of tannin extraction was 34.8 percent by weight of total tannin in the bark. In this experiment the speeds of agitator was constant 690, 820, and 1100 rpm. but its result were not difference. 3. Semi-continuous, counter current When the Flow rate of water was 15 litres/hour, and feed of bark was 500 grams per 7 minutes or the ratio between bark and water was 1 to 3.5, bark particle size less than 0.5 millimetres in diameter, three stage extract, was performance at 82°c and 0.02 grams Na₂ SO₃ by weight of bark. The highest yield of tannin extract1.on was2 48.7 percent by weight of total tannin 1n the bark. The concentrated solution was dries at 90°c then the powder of tannin was used in tanning, gives the reddish brown leather.
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2531
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: เคมีเทคนิค
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/30961
ISBN: 9745684821
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Phiboon_ch_front.pdf1.31 MBAdobe PDFView/Open
Phiboon_ch_ch1.pdf378.1 kBAdobe PDFView/Open
Phiboon_ch_ch2.pdf2.42 MBAdobe PDFView/Open
Phiboon_ch_ch3.pdf1.31 MBAdobe PDFView/Open
Phiboon_ch_ch4.pdf1.49 MBAdobe PDFView/Open
Phiboon_ch_ch5.pdf1.24 MBAdobe PDFView/Open
Phiboon_ch_ch6.pdf421.57 kBAdobe PDFView/Open
Phiboon_ch_back.pdf1.65 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.