Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/31116
Title: การศึกษาวัฒนธรรมองค์การของฝ่ายการพยาบาล โรงพยาบาลศูนย์ โรงพยาบาลทั่วไปและโรงพยาบาลชุมชน สังกัดกระทรวงสาธารณสุข
Other Titles: A study of organizational culture of nursing department regional hospital and medical centers, general hospitals and community hospitals, under the jurisdiction of Ministry of Public Health
Authors: อัญชลี วิสิทธิ์วงษ์
Advisors: จินตนา ยูนิพันธุ์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Issue Date: 2539
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษารูปแบบวัฒนธรรมองค์การของฝ่ายการพยาบาล โรงพยาบาลศูนย์, โรงพยาบาลทั่วไป และโรงพยาบาลชุมชน สังกัดกระทรวงสาธารณสุข จำแนกเป็นรายลักษณะ คือ ลักษณะสร้างสรรค์ ลักษณะตั้งรับ-เฉื่อยชาและ ลักษณะตั้งรับ-ก้าวร้าวและปรียบเทียบวัฒนธรรมองค์การของฝ่ายการพยาบาล โรงพยาบาลศูนย์, โรงพยาบาลทั่วไป และโรงพยาบาลชุมชน กลุ่มตัวอย่าง คือ โรงพยาบาลศูนย์, โรงพยาบาลทั่วไป และโรงพยาบาลชุมชน จำนวน 49 โรงพยาบาล มีพยาบาลวิชาชีพทุกระดับเป็นผู้ให้ข้อมูลกลุ่มตัวอย่าง ทั้งหมด 97 คน เครื่องมือที่ใช้รวบรวมข้อมูลคือแบบสอบถาม ซึ่งผู้วิจัยสร้างขึ้นโดยใช้ข้อมูลวัฒนธรรมองค์การที่วิเคราะห์จากการสัมภาษณ์แนวลึกมีผู้เชี่ยวชาญจำนวน 15 ท่านแบบสอบที่สร้างขึ้นผ่านการตรวจสอบความตรงตามเนื้อหา, ความเที่ยงโดยการหาสัมประสิทธิ์อัลฟาของ ครอนบาคได้เท่ากับ 0.86 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบค่าเอฟ และทดสอบความแตกต่างเป็นรายคู่ ด้วยวิธีของเชฟเฟ ผลการวิจัยที่สำคัญมีดังนี้ 1. วัฒนธรรมองค์การของฝ่ายการพยาบาล โรงพยาบาลศูนย์ล โรงพยาบาลทั่วไป และโรงพยาบาลชุมชน จำแนกตามรายลักษณะ คือ ลักษณะสร้างสรรค์อยู่ในระดับมาก ลักษณะตั้งรับ-เฉื่อยชาอยู่ในระดับปานกลาง ลักษณะตั้งรับ-ก้าวร้าว อยู่ในระดับมาก 2. วัฒนธรรมองค์การของฝ่ายการพยาบาล โรงพยาบาลศูนย์ล โรงพยาบาลทั่วไป และโรงพยาบาลชุมชน โดยรวมในลักษณะสร้างสรรค์ ลักษณะตั้งรับ-เฉื่อยชาและลักษณะตั้งรับ-ก้าวร้าวไม่แตกต่างกัน
Other Abstract: The purposes of this study were to describe the organizational culture of nursing department Regional hospital and medical centers, General hospitals and Community hospitals which had been classified into constructive styles, passive/defensive styles and aggressive/defensive styles, and to compare the organizational culture of nursing department Regional hospital and medical centers, General hospitals and Community hospitals. The evaluators of this study were 97 professional nurses from 49 hospitals. A research instrument was organizational culture inventory which was developed by the researcher and tested for content validity, and the reliability. The cronbach alpha w as 0.86. The statistical techiques used in analysing collected data were percentage, mean, standard deviation, Anova and Scheffe's method. The followings were major results of the study: 1. The organizational culture of nursing department Regional hospital and medical centers, General hospitals and Community hospitals in the category of constructive styles and aggressive/defensive styles were at the high level, whereas, the passive/defensive styles were at the moderate level. 2. There were no significant difference between the organizational culture of nursing department Regional hospital and medical centers, General hospitals and Community hospitals in the category of constructive styles passive/defensive styles and aggressive/defensive styles.
Description: วิทยานิพนธ์ (พย.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2539
Degree Name: พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: การบริหารการพยาบาล
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/31116
ISBN: 9746345605
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Unchalee_wi_front.pdf762 kBAdobe PDFView/Open
Unchalee_wi_ch1.pdf729.42 kBAdobe PDFView/Open
Unchalee_wi_ch2.pdf5.93 MBAdobe PDFView/Open
Unchalee_wi_ch3.pdf1.76 MBAdobe PDFView/Open
Unchalee_wi_ch4.pdf878.96 kBAdobe PDFView/Open
Unchalee_wi_ch5.pdf1.11 MBAdobe PDFView/Open
Unchalee_wi_back.pdf1.01 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.