Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/31564
Title: การศึกษาการดำเนินงานโครงการเกษตรเพื่ออาหารกลางวัน ตามพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ในโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ
Other Titles: A study of the operation of the school agriculture for lunch project as initiated by Her Royal Highness Princess Maha Chakri Sirindhorn in the elementary schools under the jurisdiction of the office of the National Primary Education Commission
Authors: เพ็ญศรี นิยมศรีสมศักดิ์
Advisors: สุมน อมรวิรัตน์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Issue Date: 2535
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการดำเนินงานโครงการเกษตรเพื่ออาหารกลางวัน ตามพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ในด้านวัตถุประสงค์ ลักษณะการดำเนินงาน การบริหารโครงการ ปัญหาและอุปสรรคในการดำเนินงาน ในโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ ผลการวิจัยพบว่า 1. ด้านวัตถุประสงค์ โรงเรียนสามารถดำเนินงานได้สำเร็จตามวัตถุประสงค์ของโครงการทุกข้อ โดยสามารถปลูกฝังนิสัยการช่วยเหลือตนเอง ช่วยเหลือผู้อื่น และขยันหมั่นเพียรให้นักเรียนได้มากแก้ไขปัญหาการขาดแคลนอาหารกลางวันในโรงเรียน ให้นักเรียนได้มีความรู้ด้านการเกษตรแผนใหม่ มีความรู้ทางโภชนาการ การถนอมอาหาร และแปรรูปอาหารได้ในระดับปานกลาง และทำได้น้อยในประเด็นที่โรงเรียนเป็นแหล่งวิทยาการด้านการเกษตรของหมู่บ้าน 2. ด้านลักษณะการดำเนินงาน โรงเรียนมีการประชุมวางแผนการดำเนินงาน และจำทำแผนปฏิบัติงานได้เหมาะสมกับสภาพของโรงเรียน ส่วนการจัดทำแผนผังปลูกพืชและการใช้ประโยชน์จากแผนผังทำได้ในระดับน้อย โรงเรียนส่วนมากมีผลผลิตจากพืชและสัตว์ไม่พอที่จะนำมาใช้ในโครงการอาหารกลางวันได้อย่างต่อเนื่อง และมีโรงเรียนร้อยละ 40 ที่สามารถจัดอาหารเสริมให้นักเรียนทุกวัน 3. ด้านการบริหารโครงการ การส่งบุคลากรไปฝีกอบรมด้านการเกษตรและอาหารกลางวันอยู่ในระดับปานกลาง โรงเรียนส่งเฉพาะบุคลากรที่รับผิดชอบโครงการไปอบรมระยะสั้นช่วงเวลา 1-5 วัน โรงเรียนสามารถบูรณาการกิจกรรมการเรียนการสอนให้สอดคล้องกับกิจกรรมของโครงการด้านการเกษตรและอาหารกลางวันได้ดียิ่ง โดยแบ่งความรับผิดชอบให้นักเรียนร่วมดำเนินงานเป็นส่วนหนึ่งของกิจกรรมการเรียนการสอน 4. ปัญหาการดำเนินงาน โรงเรียนส่วนใหญ่ยังไม่สามารถพัฒนาบุคลากรมากกว่าร้อยละ 50 ให้มีความรู้ และทักษะด้านการเกษตร และมีปัญหาด้านความร่วมมือจากผู้ปกครองนักเรียนในระดับปานกลาง ประสิทธิภาพการดำเนินงาน โรงเรียนประสบความสำเร็จในการช่วยเพิ่มผลผลิตทางการเกษตรที่ใช้ในการประกอบอาหารกลางวัน สามารถบูรณาการกิจกรรมการเรียนการสอนให้สอดคล้องกับกิจกรรมของโครงการ ปลูกฝังนิสัยการช่วยเหลือผู้อื่นให้มีความขยันหมั่นเพียร และช่วยให้นักเรียนนำความรู้ที่ได้รับไปใช้ประโยชน์ในชีวิจประจำวันได้มาก
Other Abstract: The purpose of this study is to survey the operation of the school agriculture for lunch project as initiated by Her Royal Highness Princess Maha Chakri Sirindhorn; It deals with objectives, operation, management and problems, in the elementary schools under the jurisdiction of the Office of the National Primary Education Commission. The findings were as follows: 1. Objectives : It was revealed that the elementary schools succeeded the aims of the project. The students were trained to gain self help and industrious habits at the high level. The project alleviate the problem of elementary school lunches and provide the provide the elementary school children with knowledge of modern agricultural technology and also provide them with knowledge about nutrition, food preservation and food processing at the moderate level. On the other hand, the schools were rated at low-level in becoming educational resource centres. 2. Operation : In implementing the project, it was found that planning activities and operation plans were effective and rated at high level. On the other hand, agricultural models and their implementation were rated at low level. It also found that 40 percent of elementary schools could provide supplementary food for the students every school day. 3. Management : In-service training for the personnel to serve project activities was rated at moderate level and most of training programs were in short period (1-5 days). The schools could integrate the instructional activities with the lunch and agricultural program at high level. It was indicated that the students were also responsible and participated in the project as the learning activities. 4. Problems in operation of the project were : 50 percent of the school personnels could not implement the agricultural knowledge and skills, and the parents’ cooperation with the project was quite low at the moderate level. The result of this study also revealed that schools under the project were succeeded in increasing the agricultural product to support school lunch. The teaching learning activities were well integrated with the project activities. Students gained more working habit and serving others in their daily life.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2535
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: ประถมศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/31564
ISBN: 9745818607
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Phensri_ni_front.pdf1.03 MBAdobe PDFView/Open
Phensri_ni_ch1.pdf1.28 MBAdobe PDFView/Open
Phensri_ni_ch2.pdf3.14 MBAdobe PDFView/Open
Phensri_ni_ch3.pdf956.99 kBAdobe PDFView/Open
Phensri_ni_ch4.pdf4.11 MBAdobe PDFView/Open
Phensri_ni_ch5.pdf2.74 MBAdobe PDFView/Open
Phensri_ni_back.pdf4.23 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.