Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/31570
Title: การผลิตโปรตีนไฮโดรไลเซทจากเลือดเพื่อใช้ในอาหารสัตว์น้ำ
Other Titles: Production of blood protein hydrolysate for aquaculture feed
Authors: เพ็ญศิริ ธำรงลักษณ์
Advisors: พันธิพา จันทวัฒน์
รมณี สงวนดีกุล
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Issue Date: 2534
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: งานวิจัยนี้ได้ศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการย่อยสลายโปรตีนในเลือดด้วยกรด แปรปริมาณกรด HCI 4 M. เป็น 3, 4, 5% โดยน้ำหนัก เวลาที่ใช้ในการย่อยสลายเป็น 2, 4, 6 ชม. และอุณหภูมิในการย่อยสลาย 30 และ 40๐C ติดตามผลโดยการวิเคราะห์ degree of hydrolysis (DH) และผลิตอาหารกุ้งกุลาดำโดยใช้โปรตีนไฮโดรไลเซทที่ได้เป็นสารเชื่อมในปริมาณ 2.5 % หาค่าความคงตัวของอาหารในน้ำ ผลจากการทดลองพบว่า เมื่อใช้ HCL 4 M. 5% ย่อยสลายที่อุณหภูมิ 30๐C เป็นเวลา 6 ชม. ผลิตภัณฑ์ที่ได้ค่า DH สูงสุดคือ 90.18% และมีค่าความคงตัวของอาหารในน้ำ 87.84% ต่อมาได้ศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการย่อยสลายโปรตีนในเลือดด้วยเอนไซม์ แปรปริมาณสารละลายเอนไซม์ alcalase (0.06 หน่วย/กรัม) เป็น 0.5, 1.0, 1.5% โดยปริมาตร และเวลาที่ใช้ในการย่อยสลายเป็น 5, 10, 15, 20 นาที ที่อุณหภูมิ 50๐C ติดตามผลการทดลองโดยวิธีเดียวกันกับการทดลองแรก พบว่าเมื่อใช้สารละลายเอนไซม์ alcalase 1.5% ย่อยสลายที่อุณหภูมิ 50๐C นาน 20 นาที ให้ผลิตภัณฑ์มีค่า DH สูงสุดคือ 96.08% และมีค่าความคงตัวของอาหารในน้ำ 86.75% ต่อมาศึกษาปัจจัยที่มีผลในการทำแห้งโปรตีนไฮโดรไลเซทโดยการทำแห้งด้วยต้อบแบบมีลมเป่าผ่านและต้อบระบบสุญญากาศ ทั้ง 2 วิธีแปรอุณหภูมิในการอบแห้งเป็น 60 , 70 , 80 ๐C และปริมาณความชื้นสุดท้าย 10%, 20% พบว่า ภาวะที่เหมาะสมในการทำแห้งเลือดสด เลือดที่ผ่านการย่อยสลายด้วยกรด และเลือดที่ผ่านการย่อยสลายด้วยเอนไซม์เมื่ออบแห้งด้วยต้อบแบบมีลมเป่าผ่านและแบบสุญญากาศคือที่อุณหภูมิ 80 ๐C จนผลิตภัณฑ์มีความชื้นสุดท้าย 10% ผลิตภัณฑ์ที่ได้นำมาเป็นสารเชื่อมในสูตรอาหารกุ้งและหาค่าความคงตัวในน้ำได้ 84.02%, 84.84% และ 85.52% สำหรับการอบแห้งด้วยตู้อบแบบสุญญากาศตามลำดับ ซึ่งพบว่าการอบแห้งด้วยตู้อบแบบมีลมเป่าผ่านหรือแบบสุญญากาศ เลือดที่ผ่านการย่อยสลายด้วยเอนไซม์ มีความสามารถในการเป็นสารเชื่อมได้ดีกว่าเลือดที่ผ่านการย่อยสลายด้วยกรดและเลือดสด ผลการศึกษาอายุการเก็บของตัวอย่างเลือดทั้ง 3 ชนิดที่ผ่านการทำแห้งด้วยตู้อบแบบมีลมเป่าผ่านและตู้อบแบบสุญญากาศที่อุณหภูมิ 80 ๐C จนผลิตภัณฑ์มีความชื้นสุดท้าย 10 % ในถุง Eval film และถุง HDPE แบบสุญญากาศที่อุณหภูมิ 30 ๐C พบว่าถุง Eval film สามารถป้องกันความชื้นได้ดีกว่าถุง HDPE โดยถุง Eval film สามารถเก็บผลิตภัณฑ์ให้มีความชื้นต่ำกว่า 12 % ได้นานอย่างน้อย 4 เดือน ขณะที่ถุง HDPE เก็บได้นานเพียง 2-3 เดือน
Other Abstract: Factor affecting acid hydrolysis of blood protein were studied by varying the 4 M. HCl at 3,4 and 5% by weight ; the reaction time at 2, 4 and 6 hours ; and the temperature at 30 ๐C and 40๐C. The degree of hydrolysis (DH) and water stability of giant tiger prawn feed produced by using 2.5% of the resulting hydrolysate as binder , were used as indicator to select the most appropriate condition. The highest DH of 90.18 % and the water stability of 87.84% were obtained in sample produced with 5% HCl, at 30 ๐C, for 6 hours. The study of enzyme hydrolysis of blood protein was carried out by varying the quantity of alcalase (0.06 unit/g) at 0.5, 1.0 and 1.5 % by volume and the reaction time at 5,10,15 and 20 minutes. By using the same criteria as the acid hydrolysis, it was found that the highest DH of 96.08% and the water stability of 86.75 % were obtained when using 1.5 % alcalase and hydrolysing at 50๐C for 20 minutes. Drying of the hydrolysate was carried out by the air and vaccum oven methods. For both methods, the temperature was varied at 60๐C, 70๐C and 80๐C. The products were dried to 10% and 20 % final moisture contents. The best condition found for both methods was 80๐C drying to the 10% moisture content. The water stability of feeds produced by using air-oven-dried blood, acid hydrolysate and enzyme hydrolysate were 84.02 % , 84.84 % and 85.52 % while those dried by vacuum oven were 83.98 % , 85.72% and 87.42 %, respectively. The binding property of the enzyme hydrolysates from both drying methods were better than those of the acid hydrolysates. Results from storage test showed that at 30๐C,vacuum, the Eval film kept the product moisture to lower than 12 %, for 4 months while that of HPDE was limited to 2-3 months.
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2534
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: เทคโนโลยีทางอาหาร
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/31570
ISBN: 9745785318
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Pensiri_th_front.pdf956.86 kBAdobe PDFView/Open
Pensiri_th_ch1.pdf397.58 kBAdobe PDFView/Open
Pensiri_th_ch2.pdf1.06 MBAdobe PDFView/Open
Pensiri_th_ch3.pdf698.52 kBAdobe PDFView/Open
Pensiri_th_ch4.pdf1.75 MBAdobe PDFView/Open
Pensiri_th_ch5.pdf1.12 MBAdobe PDFView/Open
Pensiri_th_ch6.pdf330.72 kBAdobe PDFView/Open
Pensiri_th_back.pdf1.14 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.