Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/31886
Title: ผลของการปรึกษาเชิงจิตวิทยาแบบกลุ่มตามแนวโรเจอร์ ต่อการลดความเครียดในญาติผู้ป่วยจิตเภท
Other Titles: Effects of rogerian group counseling on feducing stress in schizophrenic patients' relatives
Authors: อัจฉรา บัวเลิศ
Advisors: โสรีช์ โพธิแก้ว
ธีระ ลีลานันทกิจ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Issue Date: 2536
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการปรึกษาเชิงจิตวิทยาแบบกลุ่มตามแนวโรเจอร์สต่อการลดความเครียดในญาติผู้ป่วยโรคจิตเภท โดยมีสมมติฐานการวิจัยดังนี้ (1) ญาติผู้ป่วยโรคจิตเภทที่เข้าร่วมกลุ่มการปรึกษาเชิงจิตวิทยา จะมีคะแนนความเครียดหลังการเข้าร่วมกลุ่ม ต่ำกว่าก่อนการเข้าร่วมกลุ่ม (2) ญาติผู้ป่วยโรคจิตเภทเข้าร่วมกลุ่มการปรึกษาเชิงจิตวิทยา จะมีคะแนนความเครียดหลังการเข้าร่วมกลุ่ม ต่ำกว่าญาติที่ไม่ได้เข้าร่วมกลุ่ม การวิจัยใช้แบบการวิจัยที่มีกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมมีการทดสอบก่อนและหลังการทดลอง (Control Group Pretest-Posttest Design) เครื่องมือที่ใช้ได้แก่ แบบสำรวจความเครียดที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น กลุ่มตัวอย่าง เป็นญาติผู้ป่วยโรคจิตเภทที่โรงพยาบาลสมเด็จเจ้าพระยา ที่มีคะแนนจากแบบสำรวจความเครียดสูงกว่าคะแนนในตำแหน่งเปอร์เซ็นต์ไทล์ที่ 75 (47.75 คะแนนจากคะแนนเต็ม 90) และสมัครใจเข้าร่วมการวิจัย จำนวน 15 คน แบ่งเป็นกลุ่มทดลอง 7 คน และกลุ่มควบคุม 8 คน กลุ่มทดลองเข้าร่วมกลุ่มการปรึกษาเชิงจิตวิทยาสัปดาห์ละ 1 ครั้ง ครั้งละ 3 ชั่วโมง ต่อเนื่องกัน 8 ครั้ง โดยผู้วิจัยเป็นผู้นำกลุ่มตามแนวทางของโรเจอร์ส วิเคราะห์ข้อมูลโดยการทดสอบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยของคะแนนความเครียด ด้วยวิธีการทดสอบค่าที (t-test) ผลการวิจัยพบว่า ญาติผู้ป่วยโรคจิตเภทกลุ่มทดลอง ภายหลังเข้าร่วมกลุ่ม มีคะแนนจากแบบสำรวจความเครียด ตำกว่าก่อนเข้าร่วมกลุ่ม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และญาติผู้ป่วยโรคจิตเภท กลุ่มทดลอง ภายหลังเข้าร่วมกลุ่ม มีคะแนนจากแบบสำรวจความเครียด ต่ำกว่ากลุ่มควบคุม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
Other Abstract: The purpose of this research was to study the effects of Rogerian group counseling on reducing stress in schizophrenic patients’ retatives. Hypotheses were that (1) stress of the experimental group after having participated in Rogerian group counseling would decrease significantly and (2) stress of the experimental group after having participated in Rogerian group counseling would be significantly lower than stress of the control group. The research design was the control group pretest-posttest design. The instrument was the stress in living with schizophrenic patient survey developed by the researcher. The sample was 15 schizophrenic patients’ relatives at Somdetchaophraya Hospital. They all had score in stress in living with schizophrenic patient survey higher than 75 percentiles (47.75 scores from 90). The volunteer sample was devided into two groups: the 7 persons who were able to participate in Rogerian group counseling for 3 hours each week for 8 consecutive week were assigned to the experimental group and the 8 persons who were unable to participate in the groups were asked to stand for the contral group. The researcher was the group leader. The t-test was utilized for data analysis: The results showed that after having participated in Rogerian group counseling stress in schizophrenic patients’ relatives decreased significantly at the .05 level and stress in the experimental group after having participated in Rogerian group counseling was significantly lower than that of the control group at the .05 level.
Description: วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2536
Degree Name: ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: จิตวิทยา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/31886
ISBN: 9745829773
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Achara_bu_front.pdf4.05 MBAdobe PDFView/Open
Achara_bu_ch1.pdf37.99 MBAdobe PDFView/Open
Achara_bu_ch2.pdf5.88 MBAdobe PDFView/Open
Achara_bu_ch3.pdf5.08 MBAdobe PDFView/Open
Achara_bu_ch4.pdf3.25 MBAdobe PDFView/Open
Achara_bu_ch5.pdf2.11 MBAdobe PDFView/Open
Achara_bu_back.pdf50.09 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.