Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/31888
Title: การวิเคราะห์บทบาทของอาจารย์ที่ปรึกษาวิชาการสาขาวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีในมหาวิทยาลัยของรัฐตามทฤษฎี ของวินสตันและคณะ
Other Titles: An analysis of sciences and technology academic advisor's roles in state universities according to the theory of Winston and others
Authors: อัจฉรา ปัทมะวิภาค
Advisors: พรชุลี อาชวอำรุง
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Issue Date: 2537
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์บทบาทของอาจารย์ที่ปรึกษาวิชาการสาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในมหาวิทยาลัยของรัฐตามทฤษฎีของวินสตันและคณะ ปัญหาอุปสรรคในการดำเนินบทบาท และเปรียบเทียบบทบาทของอาจารย์ที่ปรึกษาวิชาการระหว่างสถาบันอุดมศึกษาส่วนกลางและส่วนภูมิภาค พร้อมทั้งเสนอแนวทางการพัฒนาอาจารย์ที่ปรึกษาวิชาการให้มีบทบาทตามทฤษฎีของวินสตันและคณะอย่างเหมาะสมกับสาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ผลการวิจัยมีดังนี้ 1. ความคิดเห็นของอาจารย์ที่ปรึกษาวิชาการและนิสิตนักศึกษาสาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในมหาวิทยาลัย เมื่อเปรียบเทียบกับแนวคิดของวินสตันที่มีต่อบทบาทอาจารย์ที่ปรึกษาวิชาการ 4 ด้าน พบว่าการปฏิบัติของอาจารย์ที่ปรึกษาวิชาการส่วนใหญ่ยังไม่เป็นไปตามทฤษฎีของวินสตัน บทบาทที่มีการปฏิบัติมากที่สุด คือ บทบาทด้านการแนะนำและให้คำปรึกษา รองลงมา คือ บทบาทด้านการให้ความช่วยเหลือและประสานงาน ส่วนบทบาทที่มีการปฏิบัติไม่มากนัก คือ บทบาทด้านการมีปฏิสัมพันธ์กับนักศึกษา และบทบาทด้านการพัฒนานิสิตนักศึกษา 2. การสำรวจปัญหาและอุปสรรคในการดำเนินบทบาทของอาจารย์ที่ปรึกษาวิชาการสาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี พบว่า มีอยู่ 2 ข้อ คือ นักศึกษามักเชื่อคำแนะนำของรุ่นพี่ในการเลือกวิชาเรียน และงานให้คำปรึกษาวิชาการไม่ได้รับการยอมรับให้เป็นผลงานของอาจารย์ ส่วนปัญหาและอุปสรรคของนักศึกษาที่มีต่อการดำเนินบทบาทของอาจารย์ที่ปรึกษาวิชาการ มีอยู่ 2 ข้อ คือ อาจารย์ที่ปรึกษาไม่ได้จัดตารางการเข้าพบให้นิสิตนักศึกษา และการขาดกิจกรรมที่เสริมสร้างความสัมพันธ์ระหว่างอาจารย์ที่ปรึกษาวิชาการกับนิสิตนักศึกษา 3. การเปรียบเทียบบทบาทอาจารย์ที่ปรึกษาวิชาการสาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีระหว่างสถาบันอุดมศึกษาส่วนกลางและส่วนภูมิภาค พบว่า ประเด็นการปฏิบัติจริงและการไม่ปฏิบัติของอาจารย์ที่ปรึกษาวิชาการส่วนใหญ่ไม่แตกต่างกัน 4. การเสนอแนะแนวทางการพัฒนาอาจารย์ที่ปรึกษาวิชาการสาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ผลการวิจัยได้เสนอว่า ควรพัฒนาในประเด็นต่อไปนี้ คือ การกำหนดเป้าหมายการดำเนินงานอาจารย์ที่ปรึกษาให้ชัดเจน การคัดเลือกอาจารย์ที่ปรึกษา การกำหนดแนวปฏิบัติของอาจารย์ที่ปรึกษา การพัฒนาการดำเนินบทบาทของอาจารย์ที่ปรึกษาให้เป็นตามแนวคิดของวินสตัน และการแก้ไขปัญหาและอุปสรรคของอาจารย์ที่ปรึกษา
Other Abstract: The objectives of this research were to analyze science and technology academic advisors’ roles in state universities according to the theory of Winston and others, to identity problem in performing such roles, to compare those roles of advisors in the central and provincial regions and to provide recommendations for advisors to live up to the theory of Winston et al. The results of the study revealed the following: 1. When compared the views of academic advisors and students in science and technology with Winston’s four aspects of advisor’ roles, it was found that the implementation of most advisor did not go along with the theory of Winston. Advising functions were found, however, to be mostly carried out, followed by their roles on student development two other roles that were not extensively taken were their assistance and coordination role, and interaction with students 2. With regard to the problems and abstacles in taking up the roles of advisors, the study revealed two problems, i.e. subject selection of students were made according to the advice of students seniors, and advising functions were not regarded as lecturers’ workloads. Concerning the students’ obstacles influencing academic advisors’ roles, two issues were identified, namely, advisors did not set meeting schedules for students, and no activities were undertaken to strengthen relations between advisors and students. 3. There was no difference between the roles of advisors in the central and provincial regions regarding implementations reported. 4. In order to assist science and technology advisors, the following recommendations were made : setting clear implementation goals for advisors, selection of advisors, determination of guiding directions and strengthening their implementations, and problem-solving processes should be according to the theory of Winston et al.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2537
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: อุดมศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/31888
ISBN: 9746310305
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Ajchara_pa_front.pdf4.04 MBAdobe PDFView/Open
Ajchara_pa_ch1.pdf6.83 MBAdobe PDFView/Open
Ajchara_pa_ch2.pdf28.77 MBAdobe PDFView/Open
Ajchara_pa_ch3.pdf6.78 MBAdobe PDFView/Open
Ajchara_pa_ch4.pdf21.6 MBAdobe PDFView/Open
Ajchara_pa_ch5.pdf28.16 MBAdobe PDFView/Open
Ajchara_pa_back.pdf21.51 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.