Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/31942
Title: การใช้สื่อมวลชนในภาวะวิกฤติของกรณีอุบัติเหตุทางเครื่องบินโดยสาร ของบริษัทเดินอากาศไทย จำกัด
Other Titles: The crisis management through mass media in Thai Airways's crashes
Authors: อัจฉราพร ณ สงขลา
Advisors: ขวัญเรือน กิติวัฒน์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Issue Date: 2535
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อทราบถึงกระบวนการใช้สื่อมวลชนเพื่อแก้ไขภาวะวิกฤติเมื่อเครื่องบินประสบอุบัติเหตุ โดยใช้กรณีศึกษา 3 เหตุการณ์ของบริษัท เดินอากาศไทย จำกัด จากผลของการศึกษา พบว่า 1. ปัญหาภาวะวิกฤติที่เกิดขึ้นในสภาวการณ์ที่แตกต่างกัน ทั้งในด้านวัน เวลา และสถานที่ที่เกิดอุบัติเหตุ จำนวน และลักษณะสถานภาพ สัญชาติ เชื้อชาติ ของผู้ประสบเคราะห์กรรม ย่อมมีผลกระทบต่อการวางแผน และการดำเนินการตัดสินใจใช้สื่อมวลชนในการแก้ไขภาวะวิกฤติ 2. โครงสร้างของระบบสื่อมวลชน สภาพการแข่งขันในการนำเสนอข่าวทางสื่อมวลชน เป็นตัวกำหนดถึงลักษณะของความร่วมมือในการแพร่กระจายหรือการควบคุมสารสนเทศในการแก้ไขภาวะวิกฤติ 3. การแก้ไขภาวะวิกฤติโดยใช้สื่อมวลชนต้องมีลักษณะเป็นการให้ข้อมูลที่เป็นข้อเท็จจริงที่ถูกต้องชัดเจนอย่างต่อเนื่องเป็นหลัก และติดตามด้วยการให้คำแนะนำ ตลอดจนการโน้มน้าวใจ 4. การสร้างกิจกรรม พร้อม ๆ กับการเลือกใช้สื่อมวลชนได้อย่างเหมาะสมกับเวลาและโอกาส จะสามารถลดความตื่นตระหนกของประชาชน ในขณะเดียวกันจะสามารถฟื้นฟูจิตใจของผู้ประสบเคราะห์กรรมและผู้ที่เกี่ยวข้อง
Other Abstract: This research attempts to put into perspective how an effective dealing with the mass media can improve the situation of crisis caused by air crashes. The study cases are based on three events as happened to Thai Airways Co’s aircraft. From the research, it is found that: 1. The crisis took place in different situation in terms of time, place, number and nationalities of casualties and injured people involved. These differences have great influence on the course of action which should be taken in dealing with the mass media at the time of crisis. 2. The structure of mass media and the competition in news presentation among various units of the mass media are the crucial factors in determining the nature of cooperation or control ones can obtain from them in disseminating information to alleviate the impact of crisis. 3. The key to the handling of mass media is by providing true and correct information on a continuous basis and sometimes in the persuasive manner. 4. Organising right activities and choosing appropriate mass media for attendance at the right time and situation can help reducing the public’s panic arising from the crisis as well as consoling people who are affected.
Description: วิทยานิพนธ์ (นศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2535
Degree Name: นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: การสื่อสารมวลชน
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/31942
ISBN: 9745815144
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Ajcharaporn_na_front.pdf5.76 MBAdobe PDFView/Open
Ajcharaporn_na_ch1.pdf4.13 MBAdobe PDFView/Open
Ajcharaporn_na_ch2.pdf8.82 MBAdobe PDFView/Open
Ajcharaporn_na_ch3.pdf4.82 MBAdobe PDFView/Open
Ajcharaporn_na_ch4.pdf9.23 MBAdobe PDFView/Open
Ajcharaporn_na_ch5.pdf6.67 MBAdobe PDFView/Open
Ajcharaporn_na_ch6.pdf16.04 MBAdobe PDFView/Open
Ajcharaporn_na_ch7.pdf14.34 MBAdobe PDFView/Open
Ajcharaporn_na_back.pdf17.63 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.