Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/32057
Title: การศึกษาพฤติกรรมผู้นำของศึกษาธิการเขต สังกัดกระทรวงศึกษาธิการ
Other Titles: A study of leader behaviors of regional education officers under the jurisdiction of the Ministry of Education
Authors: พีระ ชัยศิริ
Advisors: เอกช้ย กี่สุขพันธ์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Issue Date: 2537
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความคิดเห็นของผู้ใต้บังคับบัญชา เกี่ยวกับพฤติกรรมผู้นำของศึกษาธิการเขต สังกัดกระทรวงศึกษาธิการ ประชากรที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ข้าราชการในสำนักพัฒนาการศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม เขตการศึกษา 1-12 จำนวนทั้งสิ้น 157 คน ส่งแบบสอบถามไปทั้งหมด 157 ชุด ได้รับกลับคืนและสมบูรณ์ 154 ชุด คิดเป็นร้อยละ 98.09 ผลการวิจัยพบว่า ผู้ใต้บังคับบัญชาโดยส่วนรวมมีความคิดเห็นว่า พฤติกรรมผู้นำของศึกษาธิการเขตทั้งมิติกิจสัมพันธ์และมิติมิตรสัมพันธ์อยู่ในระดับปานกลาง การจำแนกผู้ใต้บังคับบัญชาตาม เพศ ประสบการณ์ การปฏิบัติราชการ วุฒิการศึกษา และตำแหน่งหน้าที่ ไม่มีผลต่อความคิดเห็นของผู้ใต้บังคับบัญชาที่มองพฤติกรรมผู้นำของศึกษาธิการเขต ยกเว้นการจำแนกตามอายุ กลุ่มที่มีอายุระหว่าง 21-30 ปี มีความคิดเห็นว่าพฤติกรรมผู้นำของศึกษาธิการเขต มิติกิจสัมพันธ์ อยู่ในระดับปานกลาง แต่มิติมิตรสัมพันธ์อยู่ในระดับสูง ส่วนกลุ่มช่วงอายุอื่น ๆ เห็นว่า พฤติกรรมผู้นำของศึกษาธิการเขต ทั้งสองมิติอยู่ในระดับปานกลาง
Other Abstract: The purposes of this research were to study on opinion of officials working in the offices of the Regional Education Officers concerning the leader Behaviors of the Regional Education Officers. The population used in this research were 157 officials working in the offices of the Regional Education Officers, Regional 1-12. 157 questionnaires were sent out to the population and 154 or 98.09 percent were completed and returned. As for the result of study, it is found that the leader behaviors of their leaders are moderate level in both initiating structure and consideration. However, the result of the evaluation show also that the officials, who evaluated their superiors, classified by sex, work experiences, educational background and position did not show any effect on the above rating, except those officials classified by age who are between 21-30 years old evaluate that the initiating structure of their leaders are moderate level, but the consideration of their leaders are high level. Other officials who are above 30 years old evaluate both initiating structure and consideration are moderate level.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2537
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: บริหารการศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/32057
ISBN: 9745836702
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Pheera_ch_front.pdf2.68 MBAdobe PDFView/Open
Pheera_ch_ch1.pdf3 MBAdobe PDFView/Open
Pheera_ch_ch2.pdf13.18 MBAdobe PDFView/Open
Pheera_ch_ch3.pdf2.19 MBAdobe PDFView/Open
Pheera_ch_ch4.pdf2.17 MBAdobe PDFView/Open
Pheera_ch_ch5.pdf4.24 MBAdobe PDFView/Open
Pheera_ch_back.pdf8.94 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.