Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/32120
Title: การได้มาซึ่งสินทรัพย์ของบริษัทที่มิใช่บริษัทจดทะเบียนอันถือเป็นการเข้าจดทะเบียนกับตลาดหลักทรัพย์โดยอ้อม
Other Titles: Asset acquisition from unlisted company regarded as backdoor listing
Authors: ปกรณ์ วิญญูหัตถกิจ
Advisors: พัฒนาพร โกวพัฒนกิจ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิติศาสตร์
Advisor's Email: ไม่มีข้อมูล
Subjects: การบัญชีสินทรัพย์ -- กฎหมายและระเบียบข้อบังคับ
จรรยาบรรณทางธุรกิจ
บริษัท -- ไทย
บริษัท -- การทุจริต -- ไทย
บริษัท -- กฎหมายและระเบียบข้อบังคับ -- ไทย
Assets (Accounting) -- Law and legislation
Business ethics
Corporations -- Thailand
Corporations -- Corrupt practices -- Thailand
Corporations -- Law and legislation -- Thailand
Issue Date: 2554
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การเข้าจดทะเบียนกับตลาดหลักทรัพย์โดยอ้อมเป็นรูปแบบการทำธุรกรรมที่ส่งผลให้บริษัทที่มิใช่บริษัทจดทะเบียนสามารถเข้ามามีสถานะเป็นบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ได้ โดยไม่ต้องจดทะเบียนกับตลาดหลักทรัพย์โดยตรง แม้ว่าบางบริษัทที่เข้าจดทะเบียนกับตลาดหลักทรัพย์โดยอ้อมจะมีปัญหาด้านคุณภาพ แต่การเข้าจดทะเบียนกับตลาดหลักทรัพย์โดยอ้อมก็มีประโยชน์ในกรณีที่บริษัทที่มิใช่บริษัทจดทะเบียนเข้ามาสวมสิทธิแทนบริษัทจดทะเบียนเดิมในกลุ่มฟื้นฟูกิจการ และได้นำสินทรัพย์ใหม่เข้ามาช่วยสร้างกำไรให้แก่บริษัทจดทะเบียนเดิม อย่างไรก็ตาม การใช้เกณฑ์ขนาดของสินทรัพย์ในการตรวจจับว่าธุรกรรมใดถือเป็นการเข้าจดทะเบียนกับตลาดหลักทรัพย์โดยอ้อมในประเทศไทย ยังมีปัญหาในการตรวจจับถูกธุรกรรมอื่นที่ไม่มีเจตนาเข้าจดทะเบียนกับตลาดหลักทรัพย์โดยอ้อม รวมถึงการกำกับดูแลการเข้าจดทะเบียนกับตลาดหลักทรัพย์โดยอ้อมให้เหมือนกับการเข้าจดทะเบียนกับตลาดหลักทรัพย์โดยตรงยังไม่สอดคล้องกับข้อเท็จจริงบางกรณีที่เกิดขึ้นในประเทศไทย ดังนั้นผู้เขียนจึงเสนอแนะให้ปรับปรุงหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการเข้าจดทะเบียนกับตลาดหลักทรัพย์โดยอ้อมในประเทศไทย โดยใช้เกณฑ์อำนาจควบคุมเป็นเงื่อนไขประกอบกับเกณฑ์ขนาดของสินทรัพย์ในการตรวจจับธุรกรรมการเข้าจดทะเบียนกับตลาดหลักทรัพย์โดยอ้อม และควรกำหนดให้ตลาดหลักทรัพย์สามารถผ่อนผันคุณสมบัติของบริษัทที่เข้าจดทะเบียนกับตลาดหลักทรัพย์โดยอ้อมได้ หากเห็นว่าการเข้าจดทะเบียนโดยอ้อมดังกล่าวส่งเสริมธุรกิจของบริษัทจดทะเบียนเดิมให้ดีขึ้น เพื่อส่งเสริมให้มีการจดทะเบียนกับตลาดหลักทรัพย์โดยอ้อมผ่านบริษัทจดทะเบียนเดิมในกลุ่มฟื้นฟูกิจการมากขึ้น รวมถึงควรกำหนดข้อห้ามไม่ให้ผู้ถือหุ้นรายใหม่ในบริษัทจดทะเบียนโอนหุ้นภายในระยะเวลา 1 ปี เพื่อป้องกันไม่ให้ผู้ถือหุ้นรายใหม่พยายามสร้างราคา และทำกำไรจากการขายหุ้นออกไปทันทีหลังจากการเข้าจดทะเบียนกับตลาดหลักทรัพย์โดยอ้อม
Other Abstract: Backdoor listing is a pattern of transaction(s) which causes unlisted company to gain the listed status in the Stock Exchange without applying for front door listing. Although some companies listed by backdoor way have some problems in quality, backdoor listing is still beneficial if new asset injection from unlisted company can generate profit to the listed company (“the listed shell”) in REHABCO group. However, in Thailand, there is a problem when an examination on the size of asset acquisition to catch up backdoor listing transaction is excessive to other transactions without intention to listing by backdoor way. Moreover, exactly regulating to backdoor listing in the same way as front door listing is not appropriated when applies to some cases in Thailand. Thus, my proposal is to amend the Thai regulation relating to backdoor listing as follows: Firstly, to catch up backdoor listing transaction, an examination on the change of control should be a condition of an examination on the size of asset acquisition. Secondly, the Exchange should have a discretion to relax the listed qualification for unlisted company in case that backdoor listing transaction can improve a business of the listed shell. This amendment should promote backdoor listing through many listed shells in REHABCO group. Finally, stock keeping period within 1 year after backdoor listing transaction should be enforced to new shareholders of the listed shell in order to prevent pump and dump scheme’s behavior.
Description: วิทยานิพนธ์ (น.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2554
Degree Name: นิติศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: นิติศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/32120
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2011.349
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2011.349
Type: Thesis
Appears in Collections:Law - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
pakorn_wi.pdf5.01 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.