Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/32341
Title: การศึกษาการวางแผนพัฒนาการประถมศึกษาของ สำหนักงานการประถมศึกษาจังหวัด เขตการศึกษา 2
Other Titles: A study of development planning of primary education of the Office of the Provincial Primary Education, educational region two
Authors: อารีผีน เทพลักษณ์
Advisors: อุทัย บุญประเสริฐ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Issue Date: 2530
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: วัตถุประสงค์ของการวิจัย เพื่อศึกษาสภาพและปัญหาการวางแผนพัฒนาการประถมศึกษาของสำนักงานการประถมศึกษาจังหวัด เขตการศึกษา 2 วิธีดำเนินการวิจัย การวิจัยเกี่ยวกับสภาพและปัญหาการวางแผนพัฒนาการประถมศึกษาของ สำนักงานการประถมศึกษาจังหวัด เขตการศึกษา 2 เริ่มดำเนินการโดยการศึกษาหลักการแนวคิดทฤษฏีเกี่ยวกับการวางแผนการศึกษาและการสัมภาษณ์เบื้องต้น จากหน่วยปฏิบัติการ แล้วกำหนดกรอบแนวคิดในการวิจัย กำหนดตัวแปรและตัวบ่งชี้เพื่อสร้างเครื่องมือวิจัย การสร้างเครื่องมือเพื่อการวิจัยได้ดำเนินการ 2 ครั้ง โดยใช้ประชากรจากภาคสนามจริงในครั้งแรก 1 จังหวัด แล้วปรับปรุงแก้ไขเครื่องมือการวิจัย จากนั้นจึงเก็บรวบรวมข้อมูลครั้งที่สองอีก 3 จังหวัด เมื่อเก็บรวบรวมข้อมูลแล้วเสร็จ จึงวิเคราะห์และสังเคราะห์จนได้ผลการศึกษาเฉพาะกรณีรายจังหวัดและสรุปผลการวิจัย ของเขตการศึกษา 2 ตามขอบเขตการวิจัยในแต่ละเรื่อง สรุปผลการวิจัย สภาพการวางแผนพัฒนาการประถมศึกษาของสำนักงานการประถมศึกษาจังหวัด เขตการศึกษา 2 จากผลการวิจัยพบว่า สำนักงานการประถมศึกษาจังหวัดทุกจังหวัดได้มีการวางแผนพัฒนาการประถมศึกษาโดยมีฝ่ายพัฒนาทำหน้าที่ดูแลประสานงาน และดำเนินงานการปฏิบัติจัดทำร่วมกับเจ้าหน้าที่ในระดับจังหวัดกล่าวคือ ได้มีการจัดทำนโยบายและแผนพัฒนาการประถมศึกษาระยะ 5 ปี นโยบายและแผนพัฒนาการประถมศึกษาประจำปี แผนปฏิบัติการประจำปี และได้มีการประเมินผลแผนพัฒนา ในการดำเนินงานนั้นโดยส่วนใหญ่คณะกรรมการการประถมศึกษาจังหวัดมีส่วนรับรู้ และ/หรือได้พิจารณาให้ความเห็นชอบ การรายงานให้หน่วยงานที่มีส่วนเกี่ยวข้องทราบนั้นโดยส่วนใหญ่ สำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ และสำนักงานการประถมศึกษาอำเภอ/กิ่งอำเภอได้มีส่วนรับรู้เกี่ยวกับการวางแผนพัฒนาดังกล่าว ยกเว้น กลุ่มโรงเรียนและโรงเรียน ส่วนการติดตามควบคุมกำกับและการประเมินผลแผนงานโครงการนั้น จากผลการวิจัยพบว่า ปัจจุบันแม้สำนักงานการประถมศึกษาจังหวัดได้มีการวางแผนพัฒนาดังกล่าวแล้ว แต่ในส่วนของการบริหารแผนงานโครงการนั้นยังไม่ได้ดำเนินการอย่างเป็นระบบที่ชัดเจน ส่วนปัญหาเกี่ยวกับการวางแผนพัฒนาการประถมศึกษาของสำนักงานการประถมศึกษาจังหวัด เขตการศึกษา 2 จากผลการวิจัยพบว่า การจัดทำแผนพัฒนาในแต่ละเรื่องขาดการวางแผนในการดำเนินงานโดยเฉพาะเกี่ยวกับระยะเวลาขาดการจัดระบบข้อมูลและข้อมูลต่าง ๆ ยังไม่เอื้อต่อการนำมาใช้ประโยชน์เพื่อการวางแผนได้อย่างมีประสิทธิภาพ บุคลากรบางส่วนยังขาดความรู้และขาดการประสานงานในระดับปฏิบัติการ การแจ้งและการจัดสรรงบประมาณล่าช้าและไม่เป็นไปตามแผนพัฒนาการประถมศึกษาประจำปีของจังหวัด งบประมาณราคากลางบางรายการยังไม่สอดคล้องกับท้องถิ่น ขาดการจัดระบบ การกำหนดหน่วยงาน และบุคลากรเพื่อการติดตาม ควบคุมกำกับและการประเมินผลตลอดจนผู้บริหารยังไม่ได้ใช้แผนเป็นเครื่องมือในการบริหารแผนงานโครงการอย่างชัดเจน การปฏิบัติงานยังไม่เป็นไปตามแผนที่กำหนดไว้ และการประเมินผลแผนงานโครงการที่ผ่านมายังไม่ได้นำไปใช้ประโยชน์เป็นข้อมูลย้อนกลับเพื่อการทบทวน ปรับปรุงหรือเพื่อการวางแผนใหม่อย่างจริงจัง
Other Abstract: The purpose of the study was to investigate the planning and problems concerning the development planning of the office of the Provincial Primary Education in Educational Region two. Procedure This research has employed case-study method as principal methodology. It was first conducted at the Narativat province. Then instruments and methodologies be improved for a more efficient data gathering and analysis for additional three provinces, namely Yala, Patani and Stoon. Data and analysis of data were presented case by case, indetailed, and final analysis had been made into a summary and conclusion of the planning and development of the elementary education planning and problems concerned for the education region two as a whole. Findings It was found that the development planning section of each office of the provincial primary education in educational region two held a primary responsibility for coordinating and implementation of planning tasks, which include development of the five-year development policy, the development of the five-year developmental plan, the development of annual policy and yearly development plan, the annual operational planning and evaluation. But in implementation of the plans, all were left to the relevant sections, rather than establishing a systematic process as parts of daily or routine administration. The problems faced, mainly, were the lack of good system for planning tasks, data and information needed for planning were not systematizing. The available data were inadequate or were not fully beneficial for planning and implemenatation purposes. There were some evidences indicated that the personnel concerned in planning process lack of appropriate attitude and sufficient planning knowledge and skills. And some of them expressed the feeling that budget allocations were not primarily giving in accordance with problems and needs as indicated in the proposed provincial programmes and projects. As regard to the control, supervision, follow-up and evaluation of the approved programmes and projects, it was found that plan implementations were not supported by systematic process. It was not clear that administrators have strong intention to use plan as a tool for project administration. It was also found that evaluation reports and information were rarely used for reviewing, for improving project administration and for further planning.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2530
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: บริหารการศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/32341
ISBN: 9745679437
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Areepeen_ta_front.pdf5.4 MBAdobe PDFView/Open
Areepeen_ta_ch1.pdf5.89 MBAdobe PDFView/Open
Areepeen_ta_ch2.pdf21.27 MBAdobe PDFView/Open
Areepeen_ta_ch3.pdf3.17 MBAdobe PDFView/Open
Areepeen_ta_ch4.pdf48.75 MBAdobe PDFView/Open
Areepeen_ta_ch5.pdf13.28 MBAdobe PDFView/Open
Areepeen_ta_back.pdf39.27 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.