Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/32355
Title: ความสัมพันธ์ระหว่างความตระหนักในเมตต้าคอกนิชัน กับความเข้าใจในการอ่านภาษาไทยและภาษาอังกฤษของนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 กรุงเทพมหานคร
Other Titles: Relationships between metacognition awareness and reading comprehension in Thai and English languages of Mathayom Suksa five students, Bangkok Metropolis
Authors: อารีรักษ์ สืบถิ่น
Advisors: สุจิตรา สวัสดิวงษ์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Issue Date: 2535
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีจุดประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความตระหนักในเมตต้าคอกนิชันกับความเข้าใจในการอ่านภาษาไทย ความสัมพันธ์ระหว่างความตระหนักในเมตต้าคอกนิชันกับความเข้าใจในการอ่านภาษาอังกฤษ ความสัมพันธ์ระหว่างความตระหนักในเมตต้าคอกนิชันในการอ่านภาษาไทยกับความตระหนักในเมตต้าคอกนิชันในการอ่านภาษาอังกฤษ และความสัมพันธ์ระหว่างความเข้าใจในการอ่านภาษาไทยกับความเข้าใจในการอ่านภาษาอังกฤษ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 กรุงเทพมหานคร ตัวอย่างประชากรที่ใช้ในการวิจัยเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 จำนวน 480 คน ซึ่งได้จากการสุ่มแบบแบ่งชั้น เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบวัดความเข้าใจในการอ่านภาษาไทย แบบสอบวัดความเข้าใจในการอ่านภาษาอังกฤษ และแบบวัดความตระหนักในเมตต้าคอกนิชันที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น และได้รับการตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหาจากผู้ทรงคุณวุฒิแล้ว ผู้วิจัยเก็บรวบรวมข้อมูลแล้วนำมาวิเคราะห์ด้วยการหาค่าความสัมพันธ์แบบเพียร์สัน ผลการวิจัยปรากฏดังนี้ 1.ความตระหนักในเมตต้าคอกนิชันไม่มีความสัมพันธ์กับความเข้าใจในการอ่านภาษาไทยอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2.ความตระหนักในเมตต้าคอกนิชันมีความสัมพันธ์กับความเข้าใจในการอ่านภาษาอังกฤษอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3.ความตระหนักในเมตต้าคอกนิชันในการอ่านภาษาไทยมีความสัมพันธ์กับความตระหนักในเมตต้าคอกนิชันในการอ่านภาษาอังกฤษอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับที่ระดับ .05 4.ความเข้าใจในการอ่านภาษาไทยมีความสัมพันธ์กับความเข้าใจในการอ่านภาษาอังกฤษอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
Other Abstract: This study was conducted in order to study the relationships between metacognition awareness and reading comprehension in Thai language; metacognition awareness and reading comprehension in English language; metacognition awareness in reading Thai language and English language; and reading comprehension in Thai language and English language of Mathayom Suksa five students, Bangkok Metropolis. The samples of this study were 480 Mathayom Suksa five students selected by stratified random sampling technique. The research in struments were a reading comprehension test in Thai language, a reading comprehension test in English language and a metacognition awareness questionnaire constructed by the researcher and approved the content validity by the specialists. The collected data were then analyzed by means of Pearson’s Product Moment correlation The results of the study revealed that: 1. Metacognition awareness was not significantly related to reading comprehension in Thai language at .05 level 2. Metacognition awareness was significantly related to reading comprehension in English language .05 level. 3. Metacognition awareness in reading Thai language was significantly related to metacognition awareness in reading English language at .05 level. 4. Reading comprehension in Thai language was significantly related to reading comprehension in English language at .05 level. Alt Author Areerug Suebtin
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2535
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: มัธยมศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/32355
ISBN: 9745819867
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Areerug_su_front.pdf3.01 MBAdobe PDFView/Open
Areerug_su_ch1.pdf3.84 MBAdobe PDFView/Open
Areerug_su_ch2.pdf17.1 MBAdobe PDFView/Open
Areerug_su_ch3.pdf5.24 MBAdobe PDFView/Open
Areerug_su_ch4.pdf2.01 MBAdobe PDFView/Open
Areerug_su_ch5.pdf3.05 MBAdobe PDFView/Open
Areerug_su_back.pdf16.76 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.