Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/33210
Title: การลดของเสียในกระบวนการเขียนสัญญาณบนฮาร์ดดิสก์ไดร์ฟโดยใช้แนวคิดลีน ซิกซ์ ซิกมา
Other Titles: Defect reduction of signal writing process in hard disk drive by lean six sigma
Authors: กันตา สุวรรณฤทธิ์
Advisors: ณัฐชา ทวีแสงสกุลไทย
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์
Advisor's Email: natcha.t@chula.ac.th
Subjects: ฮาร์ดดิสก์ -- การผลิต
การควบคุมกระบวนการผลิต
ซิกซ์ซิกมา (มาตรฐานการควบคุมคุณภาพ)
การควบคุมความสูญเปล่า
Hard disks ‪(Computer science)‬
Process control
Six sigma ‪(Quality control standard)‬
Loss control
Issue Date: 2553
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: งานวิจัยนี้ดำเนินการภายในโรงงานกรณีศึกษาซึ่งเป็นบริษัทผู้ผลิตฮาร์ดดิสก์ไดร์ฟ จากการสำรวจพบว่ากระบวนการเขียนสัญญาณบนฮาร์ดดิสก์ไดร์ฟส่วนบุคคล รุ่นชาสต้า มีปัญหาของเสียเกิดขึ้นโดยเฉลี่ย 85,125 DPPM วัตถุประสงค์ของงานวิจัยนี้ คือ เพื่อหาสาเหตุหลักของปัญหาของเสียในกระบวนการเขียนสัญญาณบนฮาร์ดดิสก์ไดร์ฟส่วนบุคคล รุ่นชาสต้า โดยมุ่งเน้นที่ของเสียประเภท Drive exceeded time limit ซึ่งเป็นของเสียที่มีจำนวนสูงสุดอันดับแรก และพัฒนาวิธีการปรับปรุงคุณภาพเพื่อลดของเสียโดยประยุกต์ใช้แนวทางลีน ซิกซ์ ซิกมา ขั้นตอนดำเนินงานวิจัยนี้ประกอบไปด้วย 5 ขั้นตอน คือ การนิยามปัญหา การวัดเพื่อกำหนดสาเหตุของปัญหา การวิเคราะห์สาเหตุของปัญหา การปรับปรุงแก้ไขกระบวนการ และการควบคุมกระบวนการตามลำดับ ระยะการหาสาเหตุหลักของปัญหา พบว่าสาเหตุหลักที่จะนำไปหาวิธีการแก้ไขได้แก่ ค่าความเร็วรอบในการขันสกรูตำแหน่งต่างๆ บนฝาปิดฮาร์ดดิสก์ไดร์ฟ แรงในการขันสกรูบนฝาปิดฮาร์ดดิสก์ไดร์ฟ การปรับตั้งค่าความดันในการเติมอัดก๊าซฮีเลียม กิจกรรมและระเบียบวิธีการปฏิบัติงานที่ไม่เกิดประโยชน์ ผลจากการออกแบบการทดลองทำให้ทราบถึงค่าของการปรับตั้งปัจจัย ได้แก่ ค่าความเร็วรอบในการขันสกรู 1,200 rpm แรงในการขันสกรู 4 in.lb. และค่าความดันในการเติมก๊าซฮีเลียม 1.2 atm. ส่วนกิจกรรมที่ไม่เกิดประโยชน์ ได้ประยุกต์ใช้ระบบคัมบังและแนวคิด ECRS เพื่อลดกิจกรรมที่ส่งผลให้ฮาร์ดดิสก์ไดร์ฟอยู่ในกระบวนการผลิตนาน จากนั้นทำการควบคุมกระบวนการ กำหนดมาตรฐานการทำงานจากค่าที่ได้จากการทดลอง และมีการติดตามให้พนักงานทำตามมาตรฐานนั้นๆ ผลที่ได้จากการปรับปรุงของเสียในกระบวนการเขียนสัญญาณ พบว่า สามารถลดจำนวนของเสียประเภท Drive exceeded time limit บนฮาร์ดดิสก์ไดร์ฟส่วนบุคคล รุ่นชาสต้าลงได้ 39,346 DPPM และส่งผลให้ DPPM ของของเสียรวมบนฮาร์ดดิสก์ไดร์ฟส่วนบุคคล รุ่นชาสต้าลดลง 45,420 DPPM
Other Abstract: This research was carried out in hard disk drive manufacturer. The preliminary survey indicated that the signal writing process of 2.5” Shasta product had high defects with 85,125 DPPM. The research aims to find the root causes of defect in signal writing process and reduce the ‘drive exceeded time limit’ defect which causes high fallout in the 2.5” Shasta product. Lean Six Sigma method is used as a process tools in this research. The methodology consists five phases which are define phase, measurement phase, analyze phase, improve phase and control phase. The result of the process is to determine KPIVs that significantly effect to drive exceeded time limit failure in signal writing process. Three KPIVs (screw driving speed, screw torque and helium pressure) have been used to perform and experiment. The result from Design of Experiment (DOE) is found that the appropriate screw driving speed is 1,200 rpm., screw torque is 4 in.lb. and helium pressure is 1.2 atm. Non-value added activity of the quality problem in signal writing process used Kanban system and ECRS to improve all the key process input to reduce drive exceeded time limit defect. Finally, the new process by standard practice and control in the acceptance level was developed as process control system. The data of drive exceeded time limit and overall defects on 2.5” Shasta product after improving the process show 39,346 DPPM and 45,420 DPPM improvement.
Description: วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2553
Degree Name: วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิศวกรรมอุตสาหการ
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/33210
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2010.246
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2010.246
Type: Thesis
Appears in Collections:Eng - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Kanta_su.pdf4.67 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.