Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/3323
Title: การดำเนินการจัดหลักสูตรท้องถิ่น กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรมของโรงเรียนนำร่องโครงการกองทุนหมู่บ้านสืบสานด้วยโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาร้อยเอ็ด
Other Titles: The organization of local curricula for the social, religion, and culture subject in pilot schools under the Office of RoiEt Education Service Area village fund project
Authors: สุเพ็ญพร นิลชัย, 2516-
Advisors: บุญมี เณรยอด
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์
Subjects: การศึกษา -- หลักสูตร
Issue Date: 2547
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพและปัญหาการดำเนินการจัดหลักสูตรท้องถิ่น กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรมของโรงเรียนนำร่อง โครงการกองทุนหมู่บ้านสืบสานด้วยโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาร้อยเอ็ด ประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ คณะกรรมการจัดทำหลักสูตรในระดับจังหวัด 7 คน ผู้บริหารและครูผู้สอนจากโรงเรียนนำร่อง 72 คน รวมทั้งสิ้น 79 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง และแบบศึกษาเอกสาร วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหา แจกแจงความถี่ และหาค่าร้อยละ ผลการวิจัยพบว่า 1. การดำเนินการจัดทำหลักสูตรในระดับจังหวัด มีการแต่งตั้งคณะทำงานตามความรู้ความสามารถ และศึกษาข้อมูลพื้นฐานทางด้านสังคม เศรษฐกิจ และการเมืองก่อนจัดทำหลักสูตร กำหนดเนื้อหาสาระของหลักสูตรโดยยึดหลักมีประโยชน์และคุณค่าต่อผู้เรียน กำหนดกิจกรรมการเรียนรู้ และวิธีการวัดผลและประเมินผลโดยคำนึงถึงความสอดคล้องกับ วัย ความรู้ ความสามารถของผู้เรียนและเน้นการวัดผลประเมินที่หลากหลาย การคัดเลือกโรงเรียนที่จะนำหลักสูตรไปใช้ พิจารณาจากเป็นโรงเรียนระดับประถมศึกษาและมัธยมศึกษาในแต่ละอำเภอโดยหน่วยงานพัฒนาชุมชน และกำหนดเกณฑ์และขอบเขตการประเมินผลหลักสูตรไว้ แต่ไม่ได้ดำเนินการประเมินผลหลักสูตร ปัญหาที่พบส่วนใหญ่ ได้แก่ ไม่มีความชัดเจนในการแต่งตั้งมอบหมายผู้ประเมินผลการจัดหลักสูตร 2. การนำหลักสูตรไปใช้มี 3 ด้าน ดังนี้ 1) ด้านการเตรียมการจัดหลักสูตร โรงเรียนจัดประชุมวางแผนการจัดหลักสูตรประสานงานติดต่อขอความร่วมมือ เตรียมความพร้อมของบุคลากรโดยประชุมชี้แจง จัดตารางสอนโดยยึดโครงสร้างของหลักสูตรและจัดแบบยืดหยุ่น เตรียมอาคารสถานที่ เตรียมหลักสูตรและเอกสารประกอบหลักสูตร สื่อวัสดุการสอน โดยการติดต่อกับหน่วยงานที่รับผิดชอบ และส่งเสริมให้ครูใช้ทรัพยากรหรือแหล่งการเรียนรู้ในท้องถิ่น เตรียมการวัดผลและประเมินผล โดยการศึกษาเอกสารตำรา เตรียมการนิเทศโดยประชุมแต่งตั้งคณะกรรมการนิเทศในเรื่องการผลิตสื่อ และใช้แหล่งการเรียนรู้ในท้องถิ่น มีการประชาสัมพันธ์หลักสูตรโดยการประชุมชี้แจงครูผู้สอน ผู้ปกครอง ชุมชน ซึ่งผู้มีส่วนร่วมในการเตรียมการจัดหลักสูตร ได้แก่ ผู้บริหาร ครูผู้สอน ผู้ปกครองและชุมชน ปัญหาที่พบส่วนใหญ่ ได้แก่ สิ่งพิมพ์เกี่ยวกับกองทุนหมู่บ้านไม่เพียงพอ และขาดงบประมาณ 2) ด้านการดำเนินการจัดหลักสูตร มีการวางแผนการสอน จัดกิจกรรมการเรียนการสอนและกิจกรรมเสริมหลักสูตรโดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ เลือกใช้สื่อการสอนที่สอดคล้องกับจุดประสงค์และเนื้อหาและใช้สื่อจากแหล่งเรียนรู้ในชุมชน วัดผลและประเมินผลหลังเรียน มีการสอนซ่อมเสริม นิเทศติดตามผลการเรียนเพื่อแก้ปัญหาของผู้เรียนโดยใช้การสนทนาซักถามทางวิชาการ และผู้มีส่วนร่วมในการดำเนินการจัดหลักสูตร ประกอบด้วย ครูผู้สอน ผู้เรียน ผู้ปกครองและชุมชน ปัญหาที่พบส่วนใหญ่ ได้แก่ ขาดสื่อสิ่งพิมพ์เรื่องกองทุนหมู่บ้าน เวลาในการจัดกิจกรรมไม่เพียงพอ และขาดงบประมาณและ 3). ด้านการนิเทศติดตามผลการจัดหลักสูตร นิเทศติดตามผลการเตรียมการจัดหลักสูตรโดยผู้บริหาร ซึ่งกิจกรรมที่ใช้ คือ การสนทนาซักถาม และมีการนิเทศติดตามผลการดำเนินการจัดหลักสูตรโดยผู้บริหาร ภาคเรียนละ 1 ครั้ง ซึ่งกิจกรรมที่ใช้คือ การจัดนิทรรศการและการเยี่ยมชั้นเรียน ปัญหาที่พบส่วนน้อยได้แก่ ขาดการกำหนดแนวทางการนิเทศติดตามผลที่ชัดเจน นิเทศไม่ต่อเนื่อง และขาดเครื่องมือการนิเทศติดตามผล
Other Abstract: The purposes of this research were to study the state and problems of the local curriculum organization in the social, religion, and culture subject in pilot schools under the Office of Roiet Education Service Area village fund project. The population were members of the organizing curriculum committee at the provincial level amount to 7 persons, administrators and teachers from 36 pilot schools amount to 72 persons, total to be 79 persons. Research instruments were structured interview sheet and document analysis sheet. Data were analyzed by using content analysis, frequency, and percentage. The results of this research were as follows : 1. An organization of local curriculum at the provincial level, committee members were appointed according to their knowledge and ability, local information were collected prior to organizing the curriculum. The curriculum objectives and contents were identifiled based upon benefit and value to students. The instructional, measurement and evaluation, activities were designed based upon age, knowledge, and abilities of students. School were selected by the committee they were primary and secondary school in each district. Evaluation criterias were set but unable to implemented. Most of problems was uncleared on personnel assigened regarding curriculum evaluation. 2. Curriculum implementation were devided into 3 stages ; 1) At the preparation stage; Most school conducted activities for planning, coordinating, and orientation. Class schedules were identifiled based upon curriculum structure. Classroom, documents and materials were prepared by coordinating with directed organization units in communities. Measurement and evaluation were conducted through parents, teachers and students interviewing. Most of problems founded were insufficient amount of documents, and lack of budgeting. 2) At the Implementation stage; lesson planning, instructional and extra curriculum were designed with emphasized on child-centered approach, instructional media were selected based on local appropriateness. An evaluation was conducted at the end of the lesson, remedial teaching was conducted after school hours. Supervision and follow-up was conducted to solve students' problems. Teachers, students, parents and community were participated in these activities. Most of problems were insufficient amount of documents, time, and budget. 3) At the evaluation stage ; supervision were conducted by administrators through parents conversation and classroom visits once a semeter. Least problems reported that lack of supervisorry guidelines and tools, and supervisory activities were unconsecutively conducted.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2547
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: นิเทศการศึกษาและพัฒนาหลักสูตร
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/3323
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2004.378
ISBN: 9745322687
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2004.378
Type: Thesis
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
supenporn.pdf7.82 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.