Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/333
Title: การศึกษาการพัฒนาหลักสูตรภาษาต่างประเทศที่ 2 (ภาษาจีน) : กรณีศึกษาโรงเรียนไตรมิตรวิทยาลัย
Other Titles: A study of curriculum development of second foreign language (Chinese) : a case study of Trimitvittayalai School
Authors: ภาวิณี บุญทา
Advisors: เพิ่มเกียรติ ขมวัฒนา
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์
Advisor's Email: Permkiet.K@chula.ac.th
Subjects: การวางแผนหลักสูตร
ภาษาจีน--หลักสูตร
ภาษาจีน--การศึกษาและการสอน
Issue Date: 2545
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ศึกษาการพัฒนาหลักสูตรภาษาต่างประเทศที่ 2 (ภาษาจีน) กรณีศึกษาโรงเรียนไตรมิตรวิทยาลัย ประชากรคือ ศึกษานิเทศก์และผู้ทรงคุณวุฒิ ผู้บริหารโรงเรียน ครูผู้สอน และบุคลากรในท้องถิ่น เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้าง แบบสังเกตการสอนในชั้นเรียนและแบบศึกษาเอกสาร วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า การจัดทำหลักสูตร โรงเรียนมการจัดตั้งโครงการพัฒนาการเรียนการสอนวิชาภาษาจีน โดยมอบให้ครูผู้สอนเป็นผู้จัดทำหลักสูตร มีการวิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐาน กำหนดจุดประสงค์ของหลักสูตร เน้นการเรียนภาษาเพื่อการสื่อสารและการประกอบวิชาชีพ กำหนดเนื้อหาสาระและกิจกรรม จัดทำเอกสารประกอบการเรียนการสอน มีเกณฑ์ในการกำหนดวิธีวัดและประเมินผลทั้งในภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติ ครูผู้สอนวัดผลโดยเน้นการวัดผลตามสภาพจริง การใช้หลักสูตร ในด้านการบริหารหลักสูตร มีการจัดเตรียมบุคลากรโดยจัดส่งครูเข้าอบรม และประชุมเชิงปฏิบัติการ จัดครูเข้าสอนตรงตามวิชาเอก ครูจะมีคาบสอนเฉลี่ยเท่ากัน มีการจัดห้องศูนย์ภาษาจีนและห้องปฏิบัติการทางภาษา งบประมาณได้รับส่วนใหญ่นำมาใช้ในการอบรมพัฒนา การจัดทำเอกสารประกอบการเรียนการสอน และเป็นค่าตอบแทนครูผู้สอน ได้รับการสนับสนุนด้านสื่อการสอนจากหน่วยงานต่างๆ และครูจัดหาสื่อการสอนบางอย่างด้วยตนเอง มีการประชาสัมพันธ์หลักสูตร โดยส่วนใหญ่ใช้วิธีการประชาสัมพันธ์ด้วยกิจกรรมต่างๆ ที่เกี่ยวข้องในโรงเรียน ผู้บริหารนิเทศติดตามผลการใช้หลักสูตร โดยนิเทศการสอนในชั้นเรียน ปัญหาที่พบคือ การขาดแคลนครูผู้สอน สื่อการสอนที่มีไม่ตรงกับความต้องการของครู ขาดงบประมาณ ขาดความต่อเนื่องในการนิเทศการสอน และครูมีภาระงานมาก จึงไม่มีเวลาจัดทำแผนการสอนได้ครบทุกรายวิชา ทำให้ขาดความต่อเนื่องที่มีครูขาดหรือลา ในด้านการสอน ครูผู้สอนส่วนหนึ่งจัดทำกำหนดการสอนและแผนการสอน จัดกิจกรรมการเรียนการสอนที่หลากหลาย ตามประสบการณ์ของครูผู้สอนโดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ จัดกิจกรรมเสริมหลักสูตรให้ผู้เรียน ได้มีโอกาสสัมผัสกับสถานการณ์จริง จัดสอนซ่อมเสริมให้นักเรียนเป็นรายกลุ่มและรายบุคคล มีวิธีการวัดผลและประเมินผลการเรียนที่หลากหลาย ทั้งในด้านการฟัง พูด อ่าน และเขียน ซึ่งจะขึ้นอยู่กับวิธีการสอนของครูแต่ละคน ปัญหาที่พบคือ ครูบางคนขาดประสบการณ์และทักษะในการสอน ขาดทักษะในการใช้สื่อการสอน และขาดความรู้ความเข้าใจเรื่องการจัดสอนซ่อมเสริม
Other Abstract: To study curriculum development of second foreign language (Chinese) : a case study of Trimitvittayalai School. The population of the study were educational supervisors, school administrators, teachers and local residents. The research instruments used for data collection were semi-structure interview forms, observation form and document analysis form. Data was analyzed by using content analysis. The research findings were as follows. The school initiated Chinese teaching project. Teachers took responsibilities for planning and developing the curriculum. There were sequences of processes : analyzing needs assessment, determining curriculum objective concentrate on communication and future occupations, specifying the content and activities, creating student documents, as well as planning evaluation in both theoretical and practical methods with concerning in future actual circumstance. To prepare and process this curriculum, the school assign teachers to participate in both theoretical and practical seminars. Each of them have to graduate with the Chinese language major and was assigned class periods equally. There was a Chinese language center, and sound lab. The major budget was spent for documents, instructor development, and the cost of hiring instructors. Some of teaching equipment was provided by the government and some by the teacher themselves. The school presented this curriculum to public through their activities. Occasionally school administrators monitored the teaching in the classes. There are some problems: insufficiently trained teachers in the Chinese language; improper teaching equipment; lack of budget, inadequate supervision, and responsibilities of teachers exceeding their capabilities. Some teachers planned the lessons in advance. In addition, they created various teaching activities following their experiences and concerning child-centered approach. Students had the opportunity to speak Chinese with native speakers as an extra curriculum activity. There were remedial teaching for students in groups or individually. Evaluation covered listening, speaking, reading, and writing skills. However, problems existed because of lack experience in class and a misunderstanding in the remedial teaching by some teachers.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2545
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: นิเทศการศึกษาและพัฒนาหลักสูตร
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/333
ISBN: 9741723598
Type: Thesis
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Pawinee.pdf3.48 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.