Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/34094
Title: การเปรียบเทียบสมรรถนะในการใช้ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ในโรงเรียนสังกัดกรมสามัญศึกษา และโรงเรียนในโครงการขยายโอกาสทางการศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ
Other Titles: A comparison of english communication competence of mathayom suksa three students in schools under the Jurisdiction of the Department of General Education and Schools in the Expansion of Basic Education Opportunity Project under the Jurisdiction of the Office of the National Primary Education
Authors: เนาวรัตน์ ทองคำ
Advisors: สุมิตรา อังวัฒนกุล
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Issue Date: 2539
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีจุดประสงค์เพื่อศึกษาสมรรถนะในการใช้ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ในด้านความรู้ด้านการจัดระเบียบภาษา ความรู้ด้านการใช้ภาษาเพื่อสื่อความหมายและด้านกลวิธีการนำความรู้ทางภาษาไปใช้และเพื่อเปรียบเทียบสมรรถนะในการใช้ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ในโรงเรียนสังกัดกรมสามัญศึกษา และโรงเรียนในโครงการขยายโอกาสทางการศึกษาขั้นพื้นฐาน ตัวอย่างประชากรคือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ในโรงเรียนสังกัดกรมสามัญศึกษาจำนวน 482 คน และนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ในโรงเรียนในโครงการขยายโอกาสทางการศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 408 คน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบวัดสมรรถนะในการใช้ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น ซึ่งผ่านการตรวจความครอบคลุมเนื้อหาและความถูกต้องเหมาะสมในการใช้ภาษาจากผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 5 ท่า ก่อนนำไปทดลองใช้ 2 ครั้ง แบบสอบนี้มีระดับความยากระหว่าง 0.21-0.79 ค่าอำนาจจำแนกระหว่าง 0.21-0.67 และมีค่าความเที่ยง 0.75 ผู้วิจัยนำแบบสอบไปทดสอบกับตัวอย่างประชากรแล้วนำคะแนนที่ได้มาวิเคราะห์ตามวิธีการทางสถิติ โดยการหาค่ามัชฌิมเลขคณิต ค่ามัชฌิมเลขคณิตคิดเป็นร้อยละ ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบค่าที ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1.ค่ามัชฌิมเลขคณิตของสมรรถนะในการใช้ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ในโรงเรียนสังกัดกรมสามัญสึกษาคิดเป็นร้อยละ 50.13 ซึ่งอยู่ในเกณฑ์ค่อนข้างอ่อน เมื่อแยกพิจารณาตามองค์ประกอบของสมรรถนะในการใช้ภาษา เพื่อการสื่อสารพบว่า นักเรียนมีค่ามัชฌิมเลขคณิตของคะแนนกลวิธีการนำความรู้ทางภาษาไปใช้สูงสุด (ร้อยละ 56.55) รองลงมา คือ ความรู้ด้านการจัดระเบียบภาษา (ร้อยละ 55.10) และความรู้ด้านการใช้ภาษาเพื่อสื่อความหมาย (ร้อยละ 40.86) ตาม 2.ค่ามัชฌิมเลขคณิตของสมรรถนะในการใช้ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ในโรงเรียนในโครงการขยายโอกาสทางการศึกษาขั้นพื้นฐาน คิดเป็นร้อยละ 43.23 อยู่ในเกณฑ์อ่อนมาก เมื่อแยกพิจารณาตามองค์ประกอบของสมรรถนะในการใช้ภาษาเพื่อการสื่อสาร พบว่า นักเรียนมีค่ามัชฌิมเลขคณิตของกลวิธีการนำความรู้ทางภาษาไปใช้สูงสุด (ร้อยละ 48.21) รองลงมาคือความรู้ด้านการจัดระเบียบภาษา (ร้อยละ 44.68) และความรู้ด้านการใช้ภาษาเพื่อสื่อความหมาย (ร้อยละ 38.50) 3.เมื่อเปรียบเทียบสมรรถนะในการใช้ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารของนักเรียนในโรงเรียนทั้ง 2 สังกัด พบว่า นักเรียนในโรงเรียนสังกัดกรมสามัญศึกษามีค่ามัชฌิมเลขคณิตสูงกว่าค่ามัชฌิมเลขคณิตของนักเรียนในโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษาขั้นพื้นฐานอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
Other Abstract: The purposes of this research were to study English communicative competence of mathayom suksa three students in the aspect of organizational knowledge, pragmatic knowledge and metacognitive strategies and to compare English communicative competence of mathayom suksa three students in schools under the jurisdiction of the Department of General Education and schools in the Expansion of Basic Education Opportunity Project. The samples were 482 students in schools under the jurisdiction of the Department of General Education and 408 students in schools in the Expansion of Basic Education Opportunity Project. The instrument used in this research was the test of English communicative competence constructed by the researcher. The test was approved its appropriateness of content and the language osed by five experts before trying out twice. This test had the level of difficulty of 0.21-0.79 and the power of discrimination of 0.21-0.67 and the reliability of 0.75 The data obtained were statistically analyzed by means of arithmetic mean, the percentage of arithmetic mean scores, standard deviation and t-test The major results of the study were as follows: 1.The mathayom suksa three students in schools under the jurisdiction of the Department of General Education had English communicative competence with arithmetic mean scores at the percentage of 50.13 which was at the rather low level. The students had the competence in metacognitive strategies the most (56.55%). Organizational knowledge secondly (55.10%) and pragmatic knowledge the least (40.86%). 2.The mathayom sukda three students in schools in the Expansion of Basic Education Opportunity Project had English communicative competence with arithmetic mean scores at the percentage of 43.23 which was at the low level. The students had the competence I metacognitive strategies the most (48.21%), organizational knowledge secondly (44.68%) and pragmatic knowledge the least (38.50%) 3.In comparing the English communicative competence of students in both groups, it was found that those scores of students in schools under the jurisdiction of the Department of General Education were higher than those scores of the students in the Expansion of Basic Education Opportunity Project at the .01 level of significance.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2539
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: มัธยมศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/34094
ISBN: 9746362534
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Naowarat_to_front.pdf756.12 kBAdobe PDFView/Open
Naowarat_to_ch1.pdf1.05 MBAdobe PDFView/Open
Naowarat_to_ch2.pdf6.56 MBAdobe PDFView/Open
Naowarat_to_ch3.pdf1.18 MBAdobe PDFView/Open
Naowarat_to_ch4.pdf640.38 kBAdobe PDFView/Open
Naowarat_to_ch5.pdf688.87 kBAdobe PDFView/Open
Naowarat_to_back.pdf2.46 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.