Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/34358
Title: การฟื้นสภาพของสัตว์ทะเลหน้าดินหลังการทำเหมืองแร่ในทะเล
Other Titles: Recolonization of marine benthic fauna after offshore tin mining
Authors: ปกรณ์ ประเสริฐวงษ์
Advisors: ณิฏฐารัตน์ ปภาวสิทธิ์
หรรษา จรรย์แสง
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Subjects: สัตว์ทะเล
เหมืองแร่ในทะเล -- แง่สิ่งแวดล้อม
การวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม
Issue Date: 2527
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ศึกษาการฟื้นสภาพของสัตว์ทะเลหน้าดินหลังการทำเหมืองแร่ในทะเลในอ่าวภูเก็ตทางฝั่งตะวันออกของเกาะภูเก็ตซึ่งเป็นเขตสัมปทานการขุดแร่ของบริษัท Tongkah Harbour Tin Dredging Berhard Mining และบริษัท Aokam Tin Berhard Ming โดยการเปรียบเทียบความหนาแน่น (density), มวลชีวภาพ (biomass), จำนวนครอบครัว (diversity) รวมทั้งการเปรียบเทียบด้วยวิธี Log-normal distribution ระหว่างสัตว์ทะเลหน้าดินจากแปลงขุดแร่ที่ทำการขุดแร่ในปี 2508, 2518, 2522, 2523, 2524 และ 2525 กับพื้นที่ที่ไม่มีการขุดแร่ในบริเวณเดียวกัน โดยสรุปการขุดแร่มีผลกระทบทำให้ปริมาณมวลชีวภาพของสัตว์ทะเลหน้าดินลดลง ข้อมูลจากแปลงขุดแร่ปี 2525 และ 2524 แสดงให้เห็นว่าหลังจากการขุดแร่ผ่านพ้นไปแล้ว 1 ปี ชุมนุมสิ่งมีชีวิตสัตว์ทะเลหน้าดินมีการเพิ่มปริมาณความหนาแน่นขึ้น แสดงว่าเริ่มมีขบวนการเปลี่ยนแปลงแทนที่ (Succession) เกิดขึ้น โดยมีไส้เดือนทะเลครอบครัว Orbiniidae และ Spionidae รวมทั้งกลุ่ม Amphipod ซึ่งเป็น opportunistic group เป็นตัวการสำคัญ แต่ชุมชนสิ่งมีชีวิตสัตว์ทะเลหน้าดินที่เกิดขึ้นใหม่นี้ยังไม่อยู่ในสภาพสมบูรณ์เพราะจำนวนครอบครัวและมวลชีวภาพยังคงต่ำอยู่ หลังจากการขุดแร่ผ่านพ้นไปแล้ว 7 ปี มวลชีวภาพของชุมชนสิ่งมีชีวิตสัตว์ทะเลหน้าดินเริ่มมีค่าสูงขึ้น เมื่อทำการวิเคราะห์ข้อมูลนี้ด้วยวิธี Log-normal distribution เส้นกราฟที่ได้ยังมีการเบี่ยงเบน แสดงว่าผลกระทบจากการขุดแร่ยังคงมีอิทธิพลต่อชุมนุมสิ่งมีชีวิตสัตว์ทะเลหน้าดินนี้ ทำให้สัดส่วนของจำนวนตัวในแต่ละครอบครัวมีการเปลี่ยนแปลงไป แต่ข้อมูลชุมนุมสิ่งมีชีวิตสัตว์ทะเลหน้าดินจากแปลงขุดแร่ปี 2508 แสดงให้เห็นว่ามีลักษณะที่ค่อนข้างสมบูรณ์ โดยมีปริมาณความหนาแน่น, จำนวนครอบครัว และค่ามวลชีวภาพสูงใกล้เคียงกับแปลงเปรียบเทียบ จากการวิเคราะห์วิธี Log-normal distribution แสดงให้เห็นว่าชุมนุมสิ่งมีชีวิตสัตว์ทะเลหน้าดินนี้ได้มีการเปลี่ยนแปลงแทนที่เป็นลำดับขั้นเพื่อปรับเข้าสู่สภาพสมดุลย์แบบใหม่ตามลักษณะสิ่งแวดล้อมในบริเวณนั้น โดยมีสัดส่วนของจำนวนตัวในแต่ละครอบครัวค่อนข้างคงที่
Other Abstract: Recolonization of marine benthic fauna after offshore tin mining in Phuket Bay, eastern coast of Phuket Island was invertigated. The study areas were within the Tongkah Harbour Tin Dredging Berhard Mining and Aokam Tin Berhard Minig plots. Comparison studies in term of density, biomass and diversity of marine benthic communities among the 1965, 1975, 1979, 1980, 1981 and 1982 mining plots and the non-mining area within the vicinity were carried out. Log-normal distribution analysis was also used in the comparison studies. The environmental impact of the offshore mining that could clearly be observed was the reduction of biomass in the marine benthic communities. From the data obtained from the 1981-and 1982-mining plots. There were remarkably increases of density in several benthic groups after a certain time period under the post-mining phase. This was the indication of succession processes that taken place in the benthic community. Opportunistic groups such as amphipod and polychaetes in families Orbiniidae and Spionidae, which rapidly reproduced and more tolerance to the changes in the sediment, would rapidly recolonized the area. However the benthic community was not productive due to the fact that the diversity and the biomass of these opportunistic species were low. The data from the 1975-mining plot showed the after 7 years of the post-mining phase, the biomass tended to increase. Interpretation of the log-normal distribution on the 1973 data clearly revealed that the impact from the mining activities on the benthic community were still pronounced. The density, biomass and diversity in the benthic community collected from the 1965-mining plot were similar to those of the non-mining plot. The log-normal analysis showed that the benthic community returned to a typical log-normal distribution. The benthic community had gone through the sequence of succession processes and regained a new equilibrium state in the surrounding environment.
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2527
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิทยาศาสตร์ทางทะเล
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/34358
ISBN: 9745632309
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Pakorn_pr_front.pdf3.75 MBAdobe PDFView/Open
Pakorn_pr_ch1.pdf2.22 MBAdobe PDFView/Open
Pakorn_pr_ch2.pdf3.22 MBAdobe PDFView/Open
Pakorn_pr_ch3.pdf15.42 MBAdobe PDFView/Open
Pakorn_pr_ch4.pdf4.63 MBAdobe PDFView/Open
Pakorn_pr_ch5.pdf1.16 MBAdobe PDFView/Open
Pakorn_pr_back.pdf2.06 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.