Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/34378
Title: | การศึกษาเพื่อวางแนวทางในการกำหนดศูนย์กลางชุมชนในภาคตะวันตก ระดับอำเภอ |
Other Titles: | A study for indication of urban centers at amphoe level in the Western Region |
Authors: | บุษกร ศรีหะทัย |
Advisors: | เกียรติ จิวะกุล |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย |
Subjects: | ชุมชน ผังเมือง |
Issue Date: | 2527 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | ศูนย์กลางชุมชนจะทำหน้าที่ในฐานะแหล่งกลางที่จะกระจายการให้บริหารในด้านต่างๆ และการพัฒนาความเจริญออกไปยังพื้นที่โดยรอบ โดยจะมีขนาดและความสำคัญที่แตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับระดับศักยภาพและบทบาทหน้าที่ของศูนย์กลางชุมชนที่เป็นอยู่ในขณะนี้ วิทยานิพนธ์ฉบับนี้ มีสาระสำคัญเกี่ยวกับการศึกษาพื้นที่ระดับอำเภอเพื่อวางแนวทางในการกำหนดศูนย์กลางชุมชนในภาคตะวันตก โดยจะพิจารณาจากอำเภอต่างๆ ภายในภาค จำนวนทั้งหมด 54 อำเภอ โดยมีวัตถุประสงค์ของการศึกษาเพื่อจัดลำดับความสำคัญของอำเภอต่างๆ ในสภาพปัจจุบัน ซึ่งพิจารณาเปรียบเทียบจากตัวแปรในด้านกายภาพ ประชากร เศรษฐกิจ และสาธารณูปโภคและสาธารณูปการของแต่ละอำเภอ เพื่อให้ทราบถึงศักยภาพและบทบาทหน้าที่ที่แตกต่างกัน อันจะเป็นแนวทางในการกำหนดความเหมาะสมของศูนย์กลางชุมชนว่ามีความสำคัญต่อภาคในระดับได้ จากการศึกษาพบว่า อำเภอที่เป็นศูนย์กลางชุมชนที่สำคัญที่สุดของภาค ได้แก่ อำเภอเมืองนครปฐม และอำเภอเมืองราชบุรี ซึ่งมีฐานะเป็นศูนย์กลางหลักในทุกๆ ด้าน คือ เป็นศูนย์กลางทางด้านการค้าและบริการ การอุตสาหกรรม การคมนาคม การศึกษา การสาธารณสุข และสาธารณูปโภคสาธารณูปการอื่นๆ ของภาค และอำเภอเมืองเพชรบุรี เมืองสมุทรสาคร บ้านโปร่ง ฯลฯ เป็นอำเภอที่มีความสำคัญรองลงมา โดยมีฐานะเป็นเมืองรองของภาคตะวันตก ส่วนอำเภอที่มีลำดับความสำคัญและความเหมาะสมน้อยที่สุดของภาค คือ กิ่งอำเภอหนองหญ้าปล้อง อำเภอศรีสวัสดิ์ อำเภอสังขละบุรี ฯลฯ มีฐานะเป็นเพียงเมืองศูนย์กลางในระดับท้องถิ่น จำเป็นต้องอาศัยบริการในด้านต่างๆ จากเมืองศูนย์กลางที่มีระดับสูงกว่า นอกจากนั้นยังพบว่า ระดับการพัฒนาของอำเภอต่างๆ ในภาคตะวันตก จะมีความแตกต่างกันมาก ความเจริญต่างๆ เช่น การค้า บริการ การบริหารราชการ อุตสาหกรรม และอื่นๆ จะรวมตัวอยู่ในอำเภอเมือง ซึ่งเป็นศูนย์กลางของจังหวัด การเน้นความสำคัญในการพัฒนาจะมุ่งเฉพาะในอำเภอที่มีลำดับความสำคัญสูง การกระจายความเจริญออกไปยังอำเภออื่นๆ ยังมีอยู่อย่างจำกัด จึงเป็นผลให้ระดับความเป็นเมืองและความเจริญของอำเภอต่างๆ มีความแตกต่าง และขาดความต่อเนื่องกัน ดังนั้นในการวางแผนพัฒนาภาคตะวันตกจึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะส่งเสริมให้มีการพัฒนาในอำเภอที่มีความสำคัญในลำดับต่ำให้มีระดับการพัฒนาความเจริญที่สูงขึ้นต่อไป |
Other Abstract: | An Urban Centers can be defiend as an area which is centrally located for the purpose of developing its surrounding rural area and distributing different forms of services. Those centres are different according to their size and functions that they should be like in the region In this thesis a main study attempts to indicate of urban centres in the Western Region (taking the ‘Amphoe’ into consideration) with approximately54 ‘Amphoe’. The objective of this study tries to rankthe importance of various ‘Amphoe’ in the hierarchical order based on numerous factors namely:-physical features, population, economic features and infrastructures. From these factors, potencial and roles of different centres for developing in the future can thus be found. Results obtained from this study clearly shows that the highest order of ‘Amphoe’ in the Western Region cannot escape Amphoe Maung Nakon Pathom and Amphoe Maung Ratchaburi which contain all the rezuired factore to make it a good example of a ‘Growth Area’ It is found that they are abundant with commercial activities, has easy access to transportation, includes educational facilities with public health services and infrastructive of its region. The next ranking Amphoe are Amphoe Maung Petchaburi, Amphoe Maung Samut Sakon and Amphoe Ban Pong whit the lowest ranking Amphoe is probably Amphoe Nong Ya Plong, Amphoe Si Sawat and Amphoe Sangkhla Buri having only a local centre which must receive aid form other higher ranking Amphoe. However, it has been discovered that the level of development of each Amphoe in the Western Region vary greatly from one to another. For instance, Amphoe Muang is a centre which has plenty of activity including commerce, services, administration, industries and so on while another Amphoe may only have one activity. It could be concluded that in trying to further develop a high ranking Amphoe more problems would arise so the remedy would be to start with the development of the lowest ranking Amphoe and work up the hierarchy ladder in future development projects. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (ผ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2527 |
Degree Name: | การผังเมืองมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | ผังเมือง |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/34378 |
ISBN: | 9745636703 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Grad - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Busakorn_sr_front.pdf | 7.79 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Busakorn_sr_ch1.pdf | 3.47 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Busakorn_sr_ch2.pdf | 5.55 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Busakorn_sr_ch3.pdf | 57.09 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Busakorn_sr_ch4.pdf | 7.1 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Busakorn_sr_ch5.pdf | 13.2 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Busakorn_sr_back.pdf | 45.89 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.