Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/34643
Title: การศึกษาผลกระทบของการใช้ประสิทธิประโยชน์ จากคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน ของบริษัทการค้าระหว่างประเทศ ต่อการส่งออกของประเทศไทย
Other Titles: A student on the IMPAC of privileges granted by board of investment to trading companies in Thailand on export
Authors: อัครพล เดชารักษ์
Advisors: วีระชัย เตชะวิจิตร์
กมเลศน์ สันติเวชชกุล
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Issue Date: 2528
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: รัฐบาลของประเทศไทยได้ตระหนักถึงความสำคัญของการส่งออกสินค้าในการพัฒนาระบบเศรษฐกิจของประเทศ จึงได้ให้สิทธิประโยชน์ต่างๆ เพื่อส่งเสริมการดำเนินงานแก่บริษัทการค้าระหว่างประเทศของประเทศไทย ด้วยความหวังที่ว่า การให้การส่งเสริมการลงทุนแก่บริษัท การค้าระหว่างประเทศดังกล่าวจะเป็นกลไกช่วยขยายการส่งออกสินค้าของประเทศได้ ซึ่งแนวทางดังกล่าวนี้คล้ายกับการจัดตั้งบริษัทการค้าระหว่างประเทศของประเทศเกาหลีใต้ แตกต่างกันที่ว่ารัฐบาลของประเทศเกาหลีใต้ได้คัดเลือกบริษัทการค้าระหว่างประเทศจากบริษัทนำเข้า-ส่งออกสินค้าที่มีผลการดำเนินงานดีเด่นอยู่แล้ว จึงมีพื้นฐานและประสบการณ์ด้านการค้าระหว่างประเทศเป็นอย่างดีและสามารถรองรับการดำเนินงานและการขยายตัวอย่างรวดเร็วของบริษัทได้ ส่วนบริษัทการค้าระหว่างประเทศของประเทศไทยที่ได้รับการส่งเสริมนั้น เนื่องจากเป็นธุรกิจใหม่และส่วนใหญ่มีพื้นฐานมาจากบริษัทชั้นนำที่ดำเนินธุรกิจด้านการค้าภายในประเทศเป็นหลัก จึงยังขาดความรู้และประสบการณ์ด้านการค้าระหว่างประเทศเพื่อรองรับการดำเนินงานและการขยายตัวของบริษัทในระยะแรก ดังนั้นมูลค่าการส่งออกสินค้ารวมของบริษัทการค้าระหว่างประเทศของประเทศไทยในระหว่างพ.ศ. 2522-2525 จึงยังอยู่ในระดับต่ำเมื่อเปรียบเทียบกับมูลค่าการส่งออกสินค้ารวมของประเทศไทยในระยะเวลาเดียวกัน แต่ก็มีแนวโน้มที่จะขยายตัวต่อไปได้อีกในอัตราที่ไม่สูงนักในแต่ละปี เมื่อทำการศึกษาจากแนวทางที่ว่า สิทธิประโยชน์ที่คณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนได้ให้แก่บริษัทการค้าระหว่างประเทศจะมีผลกระทบโดยตรงต่อมูลค่าการส่งออกสินค้าทั้งในยอดรวมและในแต่ละบัญชีสินค้า ซึ่งแยกออกเป็น 3 บัญชีสินค้า ได้แก่ บัญชีที่ 1 สินค้าเกษตรกรรมและเหมืองแร่ บัญชีที่ 2 สินค้ากึ่งอุตสาหกรรม และบัญชีที่ 3 ซึ่งเป็นสินค้าอุตสาหกรรม พบว่า สิทธิประโยชน์มีความสัมพันธ์ในทิศทางเดียวกันกับมูลค่าการส่งออกสินค้าในยอดรวม โดยที่มีความสัมพันธ์กับมูลค่าการส่งออกสินค้าในบัญชีที่ 3 ในระดับที่สูงมาก ในขณะที่มีความสัมพันธ์กับมูลค่าการส่งออกสินค้าบัญชีที่ 2 และ 1 ในระดับที่รองลงมาตามลำดับ สิทธิประโยชน์ที่มีความสัมพันธ์กับมูลค่าการส่งออกสินค้าของบริษัทการค้าระหว่างประเทศมากที่สุด 3 อันดับแรก ได้แก่ 1. การได้รับยกเว้นอากรขาเข้าและภาษีการค้าสำหรับวัตถุดิบ วัสดุจำเป็นที่นำเข้าจากต่างประเทศเพื่อใช้ในการผลิตสินค้าที่บริษัทการค้าระหว่างประเทศส่งออกไปจำหน่ายในต่างประเทศ 2. การยกเว้นภาษีการค้าให้ผู้ขายวัตถุดิบหรือวัสดุจำเป็นซึ่งผลิตหรือมีการกำเนิดในราชอาณาจักรให้กับบริษัทการค้าระหว่างประเทศ เพื่อผลิตสินค้าส่งออก 3. การยกเว้นภาษีการค้าให้แก่ผู้รับจ้างทำของส่งออกให้กับบริษัทการค้าระหว่างประเทศส่วนสิทธิประโยชน์ที่มีความสัมพันธ์กับมูลค่าการส่งออกสินค้าในระดับต่ำ ได้แก่ 1. การให้หักค่าใช้จ่ายที่จำเป็นในการโฆษณา การหาตลาดในต่างประเทศและค่าใช้จ่ายในการจัดตั้งสาขาในต่างประเทศ รวมถึงค่าใช้จ่ายในการส่งผู้แทนไปติดตามผลทางการค้าในต่างประเทศ ได้เป็นจำนวน 2 เท่าของที่จ่ายจริงเพื่อประโยชน์ในการคำนวณภาษีเงินได้นิติบุคคลในประเทศเป็นเวลา 5 ปี 2. การให้นำเงินภาษีเงินได้ที่สำนักงานสาขาในต่างประเทศได้ชำระไปมาหักออกจากยอดเงินได้นิติบุคคลก่อนคำนวณภาษีเงินได้นิติบุคคลในประเทศ จึงเห็นได้ว่าสิทธิประโยชน์ที่บริษัทการค้าระหว่างประเทศได้ใช้ไปเพื่อสนับสนุนการส่งออกส่วนใหญ่จะเป็นประโยชน์โดยตรงกับผู้ติดต่อทำการค้าเพื่อการส่งออกกับบริษัทการค้าระหว่างประเทศในขณะที่บริษัทการค้าระหว่างประเทศเองนั้น ไม่ได้ใช้สิทธิประโยชน์ที่จะก่อให้เกิดประโยชน์โดยตรงกับบริษัทมากเท่าที่ควร บางท่านอาจมีความเห็นว่าผลประโยชน์ทางอ้อมที่บริษัทการค้าระหว่างประเทศได้รับอยู่นั้น จะมีผลช่วยลดต้นทุนสินค้าส่งออกได้ ซึ่งก็เป็นความจริงหากว่าสินค้านั้นมีความยืดหยุ่นไปตามราคา แต่ในกรณีที่สินค้าไม่มีความยืดหยุ่นไปตามราคาแล้ว ผู้ผลิตสินค้าจะเป็นผู้ได้รับประโยชน์จากการยกเว้นภาษีเหล่านั้น ไม่ใช่บริษัทการค้าระหว่างประเทศ นอกจากนี้การศึกษายงพบว่า ผู้ผลิตสินค้าทั่วไปที่นำเข้าวัตถุดิบจากต่างประเทศเพื่อใช้ในการผลิตและส่งออกเอง ยังได้รับประโยชน์จากสิทธิพิเศษตามมาตรการสนับสนุนการส่งออกทั่วไปของรัฐบาล ที่รู้จักกันในนาม มาตรา 19 ทวิ ซึ่งคล้ายกับสิทธิประโยชน์ที่บริษัทการค้าระหว่างประเทศได้รับจากคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน ในมาตรา 36 (1) ดังนั้นบริษัทการค้าระหว่างประเทศจึงไม่สามารถใช้สิทธิประโยชน์ที่ตนได้รับเพื่อจูงใจผู้ผลิตให้มาใช้บริการของบริษัทได้มากเท่าที่ควร อีกทั้งยังประสบปัญหาจากระเบียบปฏิบัติในการใช้สิทธิประโยชน์ที่หน่วยราชการที่เกี่ยวข้องกำหนดขึ้น ทำให้การใช้สิทธิประโยชน์ของบริษัทไม่มีความคล่องตัวและเกิดค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้น เช่น การทำสูตรการผลิต และการเก็บเศษวัตถุดิบเพื่อรอการทำลาย เป็นต้น จากคำตอบที่ได้รับจากแบบสอบถาม พบว่าผู้บริหารบริษัทการค้าระหว่างประเทศส่วนใหญ่ได้ให้ความเห็นว่า ความรู้และประสบการณ์ของพนักงานในสินค้าที่ส่งออก และคุณภาพของสินค้าที่ส่งออก เป็นปัจจัยสำคัญในการวางแผนการส่งออกสินค้าทั้ง 3 บัญชี ส่วนปัญหาหรืออุปสรรคในการส่งออกสินค้าทั้ง 3 บัญชีที่บริษัทการค้าระหว่างประเทศประสบอยู่คือ ปัญหาจากพนักงานขาดความรู้และประสบการณ์ในสินค้าที่ส่งออก ปัญหาจากความไม่แน่นอนในคุณภาพของสินค้าที่ผลิตได้และปัญหาจากการขาดความสนับสนุนอย่างจริงจังและต่อเนื่องจากทางราชการ นอกจากนี้ยังพบว่าผลประโยชน์ที่ผู้ติดต่อการค้าเพื่อการส่งออกสินค้าบัญชีต่างๆต้องการได้รับจากบริษัทการค้าระหว่างประเทศ คือ ต้องการให้บริษัทช่วยในการจัดหาตลาดสินค้าส่งออกแหล่งใหม่ๆ และต้องการได้รับความช่วยเหลือทางการเงิน รวมถึง ต้องการได้รับคำสั่งซื้อในระยะยาว ประเด็นที่ผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่ายควรจะพิจารณาปรับปรุงการให้ความสนับสนุนแก่บริษัทการค้าระหว่างประเทศของประเทศไทย เพื่อให้สามารถดำเนินงานได้ตามนโยบายที่กำหนด คือ 1. ควรให้ความสนับสนุนและช่วยเหลือบริษัทการค้าระหว่างประเทศในการพัฒนาความรู้และประสบการณ์ของพนักงาน 2. การให้สิทธิประโยชน์ของบริษัทการค้าระหว่างประเทศในการพัฒนาประเทศในด้านอื่นๆ นอกเหนือจากการส่งออกสินค้าเพียงด้านเดียว เช่น การนำเข้าและการประมูลงานรัฐบาล 3. คณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรจะได้ทบทวนระเบียบปฏิบัติ แนวทางการกำหนดเงื่อนไขการดำเนินงานและสิทธิประโยชน์ เพื่อกระตุ้นให้บริษัทการค้าระหว่างประเทศได้ปรับปรุงและขยายการดำเนินงานอย่างสม่ำเสมอ รวมทั้งการปรับปรุงระบบข้อมูลเพื่อใช้ในการควบคุมและประเมินผลการดำเนินงานของบริษัทการค้าระหว่างประเทศให้เป็นประโยชน์ต่อการกำหนดนโยบายหรือเป้าหมายการดำเนินงานที่เหมาะสมต่อไปในอนาคต
Other Abstract: Thai government, being aware of the importance of export in developing the economy of this country, had decided to grant promotional privileges to Thai trading companies with the hope that such promotion would trigger the export expansion. This is similar to the establishment of the South Korean trading companies. But the difference is that the South Korean trading companies were selected by the government from the existing well established export-import companies. These relatively mature companies had already possessed the basic knowledge and experience on international trade to undertake their operation and expansion. Unlike their Korean counterparts, the Thai trading companies which were domestic trade oriented, lack of the basic knowledge and sufficient experience to undertake their operation and expansion during the initial stage. Thus the performance of Thai trading companies during the years 1979-1982 was not successful as expected. The export value of trading companies has been quite low when compared with the export value of the country as a whole eventhough the future trend appears to be on the increase. It was questioned that the granted privileges had direct impact on the export value both in a whole as well as in each product category. It was found that the promotional privileges were positively related to export taken as a whole, but for product group in each of the three categories, the relation seems to be relatively strong in category 3, the industrial product, while the product groups in category 2, the semi industrial goods, and in category 1, the agricultural goods, appears to be less and less related to the extent of the promotional privileges granted by Board of Investment. Three of the highest correlated privileges on the export values taken as a whole of trading companies are: 1. Exemption of import duties and business taxes on imported raw materials for export production. 2. Exemption of business taxes granted to the sellers who sell raw materials or essential materials which are produced or originated in the kingdom to trading companies for export production. 3. Exemption of business taxes to the subcontractors who undertake export production work for trading companies. The lowest correlated privileged on the export values of trading companies are: 1. The 5 year term privileges granted to the trading firms for them in calculating taxable income to count twice as much of the actual expenses incurred in promotional and travelling by staff in the attempt to penetrate and materialize oversea market potential as well as all operating expenses incurred by oversea branch offices. 2. The tax credit granted to the trading firms for the amount of taxes paid in foreign countries by their branch offices. It then can be concluded that monetary value of the privileges given to those export producers are moving in the same direction with meaning, more significant to, export volume than those privileges that benefit the trading firms directly. One may argue that the indirect benefits should however help lower the product cost. This is true if the product is price elastic but in some instances the price is not quite elastic causing the tax savings vested in the producers not in the trading companies. Further, the study found that the producers who import raw materials from abroad for export production also receive privileges similar to those of the trading companies through the supporting measures for general export promotion, called “Matra 19 Tavi”. Thus the trading companies do not really have any unique privileges to attract producers to export through them. In fact when the trading companies have exercised the granted privileges called “Matra 36 (1)”, they are faced with the problems of bureaucratic red tape such as the requirement of detailed production formula and of the burning of leftover waste materials. Ironically this not only causes the “Matra 36 (1)” privileges of trading companies to be not advantageous but also makes them costly if utilized. From interviews, the study also found that factors most vital to the success of trading companies are the quality and experience of staff and the quality of the export products. The interview further revealed that most trading firms admitted they lacked of those two fore mentioned factors. The third portion of interview identified the three important services expected by the producers from the trading firms. They are the assistance to find new market for their products, the financial assistance and the long term purchase order from oversea buyers. The issues which the government should consider to support to the trading companies are as follows: 1. Assistance in developing and improving the knowledge and experience of staff of the companies. 2. Privileges granted to trading companies in other field as well as in export activities such as imports and government tenders. 3. The Board of Investment and related agencies should spreamline the current procedures and operational conditions, and increase privileges so that the companies can profitably operate and expand their operation.
Description: วิทยานิพนธ์ (บช.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2528
Degree Name: บัญชีมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: การธนาคารและการเงิน
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/34643
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Akaraphol_da_front.pdf10.96 MBAdobe PDFView/Open
Akaraphol_da_ch1.pdf4.84 MBAdobe PDFView/Open
Akaraphol_da_ch2.pdf22 MBAdobe PDFView/Open
Akaraphol_da_ch3.pdf12.94 MBAdobe PDFView/Open
Akaraphol_da_ch4.pdf33.42 MBAdobe PDFView/Open
Akaraphol_da_ch5.pdf20 MBAdobe PDFView/Open
Akaraphol_da_ch6.pdf11.34 MBAdobe PDFView/Open
Akaraphol_da_back.pdf30.6 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.