Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/34739
Title: | ผลของกิจกรรมให้ความรู้ผู้ปกครองที่มีต่อทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ ของเด็กก่อนวัยเรียน |
Other Titles: | Effects of the parent education activities on science process skills of preschool children |
Authors: | อโณทัย อุบลสวัสดิ์ |
Advisors: | อุมา สุคนธมาน ศรินธร วิทยะสิรินันท์ |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย |
Issue Date: | 2536 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของกิจกรรมให้ความรู้ผู้ปกครองที่มีต่อทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ของเด็กก่อนวัยเรียน ตัวอย่างประชากรเป็นผู้ปกครองและเด็กก่อนวัยเรียนที่มีอายุ 5-6 ปี จำนวน 30 ครอบครัว ซึ่งได้จากการสุ่มตัวอย่างแบบหลายชั้น (Multi-stage sampling) ผู้วิจัยจัดกิจกรรมให้ความรู้ผู้ปกครอง 4 ขั้นตอน คือ การประชุมเชิงปฏิบัติการ การฝึกปฏิบัติด้วยชุดฝึกปฏิบัติ การให้คำแนะนำเป็นรายบุคคลและการประชุมสรุปและประเมินผล ผู้วิจัยนำข้อมูลที่ได้มาหาค่าเฉลี่ย และเปรียบเทียบกันโดยการทดสอบค่าที (t-test) ผลการวิจัยพบว่า หลังการทดลองความรู้ความเข้าใจในการส่งเสริมทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ให้แก่บุตรของตนของผู้ปกครองกลุ่มทดลองสูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .0005 และสูงกว่าผู้ปกครองที่เป็นกลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .0025 ในทำนองเดียวกัน ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ของเด็กก่อนวัยเรียนที่ผู้ปกครองเข้าร่วมกิจกรรมให้ความรู้ สูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .0005 และสูงกว่าเด็กก่อนวัยเรียนที่เป็นกลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .025 |
Other Abstract: | The purpose of this research was to study the effects of the parent education activities on science process skills of preschool children. Theiry parentes of five-to-six years old children were selected by multi-stage sampling. 4 steps of the parent education activities were : one-day workshop, home-based practices according to the constructed packages, individual supervision, and summary and evaluation meeting. The data were gathered and analyzed by means of t-test. The findings indicated that after the experiment, the knowledge of the parents in the experimental group was higher significantly (p<.0005), and was also significantly higher than that of the control group at the .0025 level. Similarly, the knowledge of children whose parents joined the provided activities was higher significantly (p<.0005) and was also significantly higher than that of the control group at the .025 level. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2536 |
Degree Name: | ครุศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | ประถมศึกษา |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/34739 |
ISBN: | 9745827932 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Grad - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Anotai_ub_front.pdf | 3.71 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Anotai_ub_ch1.pdf | 5.94 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Anotai_ub_ch2.pdf | 20.83 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Anotai_ub_ch3.pdf | 8.46 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Anotai_ub_ch4.pdf | 6.05 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Anotai_ub_ch5.pdf | 5.26 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Anotai_ub_back.pdf | 31.57 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.