Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/35244
Title: | การศึกษาเพื่อวางแผนการใช้ที่ดินในเขตชุมชนเมืองอุบลราชธานี-วารินชำราบ |
Other Titles: | A study for a land-use plan in the urban area of Ubon Ratchathani-Warin Chamrap |
Authors: | พิศมร เชื้อสุวรรณ |
Advisors: | เกียรติ จิวะกุล |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย |
Issue Date: | 2527 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | ปัจจุบันรัฐบาลมีนโยบายแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นในกรุงเทพฯ โดยมุ่งพัฒนาเมืองระดับต่างๆ ในส่วนภูมิภาค นโยบายดังกล่าวคือนโยบายเมืองหลักและเมืองรอง จังหวัดอุบาลราชธานีเป็นจังหวัดหนึ่งในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ที่ได้รับการส่งเสริมให้เป็นที่ตั้งเมืองรองโดยมีศูนย์กลางอยู่ที่ตัวเมือง เป็นศูนย์กลางของจังหวัดและจังหวัดใกล้เคียงประกอบด้วยยโสธรและศรีสะเกษ ในบริเวณศูนย์กลางของจังหวัดเป็นที่ตั้งของชุมชนสองชุมชน คือชุมชนเมืองอุบลราชธานี และชุมชนวารินชำราบ ซึ่งตั้งอยู่ใกล้กันคนละฝั่งของแม่น้ำมูล ในการศึกษาจึงได้ทำการศึกษาทั้งสองชุมชนควบคู่กันไป เพื่อวางแนวทางให้ชุมชนทั้งสองมีบทบาทร่วมกันในฐานะเมืองรอง ซึ่งเป็นแนวทางนำไปสู่แผนการใช้ที่ดินร่วมกันในปี 2535 ในการศึกษาได้ทำการศึกษาระดับอนุภาค-จังหวัด (ประกอบด้วยยโยธรและศรีสะเกษ), ระดับจังหวัด อำเภอ และสุขาภิบาล, และศึกษาขั้นรายละเอียดในชุมชนทั้งสองซึ่งเป็นศูนย์กลางของอนุภาค เพื่อหาแนวทางในการกำหนดแผยการใช้ที่ดินในปี 2535 รองรับการเติบโตในฐานะเมืองรอง จากการศึกษาระดับอนุภาค-จังหวัด พบว่าจังหวัดอุบลราชธานีมีความเหมาะสมที่จะเป็นศูนย์กลางของอนุภาค โดยการพิจารณาทางด้านกายภาพ เศรษฐกิจ (พิจารณาจากผลิตภัณฑ์มวลรวม) สังคม การสาธารณูปโภค และสัดส่วนประชากรเมืองต่อประชากรชนบท เกณฑ์ดังกล่าวทั้งหมดมีระดับสูงกว่าจังหวัดยโสธรและศรีสะเกษ จากการศึกษาระดับจังหวัด-อำเภอ-สุขาภิบาล พบว่าโครงสร้างการผลิตที่สำคัญของจังหวัดคือสาขาเกษตรกรรม ประมาณ 41.54% ของผลิตภัณฑ์มวลรวมของจังหวัด ปี 2523 อัตราการเติบโตของรายได้ ปี 2519-2523 เฉลี่ยประมาณ 10.33% สูงกว่าอัตราการเติบโตเฉลี่ยของภาคฯ ด้านประชากรพบว่าประชากรของจังหวัดในช่วงปี 2515-2525 มีอัตราการขยายตัว 2.77% ต่อปี ต่ำกว่าอัตราการขยายตัวของภาคฯ อัตราการเปลี่ยนแปลงประชากรช่วงปี 2520-2525 ประมาณ 11.41% ประชากรระดับอำเภอพบว่าอำเภอที่มีการเปลี่ยนแปลงสูงสุดคืออำเภอนาจะหลวยเพิ่มขึ้น 29.21% อัตราการเปลี่ยนแปลงของอำเภอเมืองฯ ลดลง 11.71% อัตราการเปลี่ยนแปลงของอำเภอวารินฯ เพิ่มขึ้น 6.54% แต่ในเขตเทศบาลเมืองฯ มีอัตราเพิ่มขึ้น 98.94% เทศบาลตำบลวารินฯ เพิ่มขึ้น 8.95% ระดับสุขาภิบาลพบว่า สุขาภิบาลบุ่งมีประชากรหนาแน่นมากที่สุด สุขาภิบาลบุณฑริกมีประชากรหนาแน่นน้อยที่สุด สำหรับประชากรระดับตำบลในอำเภอเมืองฯ พบว่า ประชากรในตำบลปทุม ขามใหญ่ แจระแม ลดลงมาก เนื่องจากมีการขยายเขตเทศบาลเข้าไปในพื้นที่ดังกล่าว ประชากรระดับตำบลในอำเภอวารินฯ พบว่าประชากรในตำบลธาตุบุ่งสวาย สระสมิง ประชากรลดลงมาก เนื่องจากบางส่วนของตำบลดังกล่าวได้จัดตั้งเป็นตำบลใหม่ ความหนาแน่นของประชากรในอำเภอเมืองฯ พบว่าตำบลท่าเรือหนาแน่นมากที่สุดและในอำเภอวารินฯ ตำบลแสนสุขมีประชากรหนาแน่นมากที่สุด จากการศึกษาระดับชุมชนตามเขตสำรวจของสำนักผังเมือง พบว่าชุมชนเมืองอุบลฯ และชุมชนวารินฯ มีความสัมพันธ์เกี่ยวเนื่องเป็นเมืองเดียวกัน แต่ละชุมชนมีเอกลักษณ์เฉพาะแห่ง เอกลักษณ์ดังกล่าวก่อให้เกิดการพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกัน เป็นชุมชนที่มีบทบาทหน้าที่แตกต่างกันในการให้บริการแก่ชุมชน หน้าที่และบทบาทดังกล่าวได้กำหนดให้มีการวางแผนพัฒนาร่วมกัน ซึ่งคาดว่าจะเกิดประโยชน์แก่ท้องถิ่นทั้งสองชุมชน ฉะนั้นทั้งสองชุมชนจึงเป็นเมืองเดียวกันในแง่ของเมืองรอง แต่ในระบบการปกครองส่วนท้องถิ่นก็ยังคงแยกกันได้กำหนดบทบาทและหน้าที่ให้แต่ละชุมชน ตามศักยภาพการพัฒนาในสาขาต่างๆ ที่มีอยู่เดิมในชุมชน โดยชุมชนเมืองอุบลฯ ให้เป็นศูนย์กลางการศึกษา ศูนย์ราชการ ศูนย์อุตสาหกรรมแปรรูปผลผลิตทางการเกษตร ศูนย์พานิชยกรรม ศูนย์การคมนาคมทางอากาศและรถยนต์ เป็นแหล่งรองรับแรงงานส่วนเกินจากชนบท สำหรับชุมชนวารินฯ กำหนดให้เป็นศูนย์รวบรวมผลผลิตทางการเกษตรและคลังสินค้า ศูนย์คมนาคมทางรถไฟ เป็นแหล่งรองรับแรงงานส่วนเกินจากชนบท และเป็นเขตพื้นที่ที่จะต้องรองรับการขยายตัวจากชุมชนอุบลฯ ในด้านที่พักอาศัย ได้ทำการคาดประมาณจำนวนประชากรและพื้นที่รองรับประชากรของชุมชนทั้งสองที่เพิ่มขึ้นในปี 2535 ให้พอเพียงกับการขยายตัวของประชากรที่พักอาศัยในพื้นที่ทุกประเภทที่คาดว่าจะขยายตัวในอนาคต จากการคำนวณพื้นที่รองรับประชากรในอนาคตพบว่า ชุมชนทั้งสองมีความต้องการพื้นที่รวมทุกประเภทเพิ่มขึ้นจากเดิมอีกประมาณ 9,837.27 ไร่ ความหนาแน่นเดิมเฉลี่ยทั้งสองชุมชนประมาณ 2.13 คน/ไร่ เพิ่มขึ้นเป็น 2.71 คน/ไร่ ในปี 2535 |
Other Abstract: | Ubon-Ratchathani, one of the Northeastern Region’s province has promoted as a center of Northeastern Sub-Region by national policy according to the Fifth National Social and Economic Development Plan (2525-2529 B.E.). By giving it roles as a center of Northeastern Sub-Region. Sub-Region composed of the province area of Ubon Ratchathani, Yasothon and Sisaket. In the center of Ubon Ratchathani is a location of the two communities, Muang Ubon Ratchathani and Warin Chamrap, Which is closed to the Mun River. This thesis shall be study in the urban area of Ubon Ratchathani and Warin Chamrap together. This study shall be study in three scales, sub-region with province scale, province scale, amphur and sanitary districscale and emphasized on the two urbans area, to set a land use plan in 2535 B.E. for the growth of the two urbans area which is a center of Northeastern Sub Region. It is found out that urban area of Ubon Ratchathani-Warin Chamrap suitable for a center of Northeastern Sub Region which is considered for physical aspect, economic aspect, social aspect, infrastructure aspect and population aspect. The rank of Ubon Ratchathani is higher than Yasothon and Si Sa Ket in that all aspects. In two urbans area studying, found out that the two urbans have related in their functions to each other as a one community. Each area have its identity roles which can be developed together and giving their roles and function according to the trend of each urban’s activity potentiality. The roles and functions which can be set in each urban area to develop the two urban area together by setting a development plan for those area. Muang Ubon Ratchathani is a center of these activities, center of education, administratives and government services, agricultural industrial, commercial, communication by air and road, and labour center for labour plus from the rural area. Warin Chamrap is a center of these activities, center of agricultural products and storage, communication by railroad, residential area which plus from the Muang Ubon, and labour center for labour plus from the rural area. The final of this study, by forcasting the population and area required for the growth of the two communities in 2535 B.E. It found out that the two communities shall be increase required 9,837.27 Rais in next ten years and average population density 2.71 persons/Rai in 2535 B.E. mainly land use patterns area the same as existing land-use patterns. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (ผ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2527 |
Degree Name: | การวางแผนภาคและเมืองมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | การวางผังเมือง |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/35244 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Grad - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Pissamorn_ch_front.pdf | 8.86 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Pissamorn_ch_ch1.pdf | 5.45 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Pissamorn_ch_ch2.pdf | 10.5 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Pissamorn_ch_ch3.pdf | 21.68 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Pissamorn_ch_ch4.pdf | 42.32 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Pissamorn_ch_ch5.pdf | 8.08 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Pissamorn_ch_ch6.pdf | 8.54 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Pissamorn_ch_ch7.pdf | 13.79 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Pissamorn_ch_back.pdf | 38.57 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.