Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/35267
Title: การศึกษาอัตราการเสียกำลังของโครงสร้างสะพานกษัตริย์ศึก
Other Titles: A study on strength deterioration of kasatsuek bridge structure
Authors: เมธา บรรจบโชคชัย
Advisors: เอกสิทธิ์ ลิ้มสุวรรณ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Issue Date: 2539
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: กำลังของโครงสร้างคอนกรีตเสริมเหล็ก จะขึ้นอยู่กับการสูญเสียกำลังของวัสดุ คือ คอนกรีต และเหล็กเสริม รวมไปถึงการสูญเสียหน้าตัดของชิ้นส่วนโครงสร้างอันเกิดจากรอยแตกร้าว และการเปลี่ยนสภาพของวัสดุ คุณสมบัติของวัสดุสามารถเปลี่ยนแปลงได้ตามเวลาจากสาเหตุหลายประการ ในการศึกษานี้ได้พิจารณาจาก การเกิดคาร์บอเนชั่น การแตกร้าว และการเกิดสนิม โดยพิจารณาผลสืบเนื่องจากสภาวะแวดล้อมของสะพานกษัตริย์ศึกษา ตามสภาพอากาศ การระบายน้ำฝน และน้ำหนักบรรทุกจากการจราจร การศึกษาเริ่มต้นด้วยการตรวจสอบสภาพสะพาน ขนาดและมิติของชิ้นส่วนโครงสร้างสะพานทั้งส่วนที่เป็นพื้น, คาน, ตอม่อ และเสา จากแบบ และจากสภาพจริงในสนาม ซึ่งประกอบด้วยขนาดและรอยแตกร้าว การแตกร่อน การเป็นสนิม ขนาดหน้าตัดจริง การแอ่นตัว ความลึกคาร์บอเนชั่น และขนาดหน้าตัดเหล็กเสริมคงแหลือจากมิติที่ตรวจวัดได้ วิเคราะห์หาขบวนการเกิดคาร์บอเนชั่นอันสืบเนื่องมาจากการเกิดปฏิกิริยาเคมี จากมิติที่ตรวจวัดได้ วิเคราะห์หาขบวนการเกิดคาร์บอเนชั่นอันสืบเนื่องมาจากการเกิดปฏิกิริยาเคมีระหว่างก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ และแคลเซียมไฮดรอกไซด์ส่งผลให้กำลังของคอนกรีตลดลงและทำให้ความเป็นด่างของคอนกรีตลดลง และยังมีผลทำให้แผ่นฟิล์มที่ป้องกันเหล็กเสริมถูกทำลาย ความชื้นสามารถซึมผ่านเข้าไปถึงเหล็กและทำปฏิกิริยาเกิดสนิมเหล็กขึ้น ปริมาตรของเหล็กเมื่อเกิดสนิมจะมากกว่าเดิม ทำให้เกิดแรงดันจนคอนกรีตปริแตก และเกิดรอยร้าว อนึ่งรอยแตกร้าวยังสามารถเกิดได้จากน้ำหนักบรรทุกที่กระทำต่อโครงสร้าง ส่งผลให้ออกซิเจนเข้าไปทำปฏิกิริยากับเหล็ก และเกิดสนิมในอัตราที่เร็วขึ้น อัตราการเกิดคาร์บอเนชั่น และการเกิดสนิม ได้ศึกษาวิเคราะห์ และสามารถพยากรณ์ได้จากสัดส่วนผสมของคอนกรีต คือปริมาณซีเมนต์ สัดส่วนน้ำต่อซีเมนต์ ความชื้นในอากาศ และความเข้มข้นของก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในอากาศ นอกจากนี้ยังพบว่า อัตราการเกิดสนิมขึ้นอยู่กับการเกิดรอยแตกร้าวด้วย ผลการศึกษาพบว่า กำลังของคอนกรีตมีกำลังสูงขึ้นตามอายุการใช้งาน แต่ส่วนที่เกิดคาร์บอเนชั่นมีกำลังลดลง และทำให้น้ำซึมผ่านได้ง่ายขึ้นตามอายุ ส่วนหน้าตัดของชิ้นส่วนจะมีพฤติกรรมคุณสมบัติหน้าตัดเปลี่ยนไปตามรอยแตกร้าว และความลึกของการเกิดคาร์บอเนชั่น เป็นผลให้กำลังรับแรงดัด, กำลังรับแรงเฉือน, กำลังรับแรงอัด และการแอ่นตัว เปลี่ยนแปลงไปตามอายุด้วย ทั้งนี้จากผลกระทบของสภาวะแวดล้อม และการเสื่อมสภาพของวัสดุ อนึ่งเมื่อเหล็กเสริมเกิดสนิม ความเสียหายและการสูญเสียกำลังยิ่งเพิ่มขึ้นในอัตราที่รุนแรงกว่า รวมทั้งการแอ่นตัวเป็นไปในอัตราที่มากขึ้น ผลจากการวิเคราะห์ภายใต้น้ำหนักรถโดยสารทั่วไปในช่วง 65 ปีของการใช้สะพาน จะทำให้กำลังเฉือนของคานลดลง 10% และกำลังของเสาลดลง 10% แต่หากบรรทุกน้ำหนักด้วยรถบรรทุก 10 ล้อ ในช่วง 65 ปี ของการใช้งานสะพาน จะทำให้กำลังดัดของคานลดลงถึง 20% กำลังเฉือนของคานลดลงถึง 20% และเสามีกำลังลดลงถึง 10% ตามลำดับ อนึ่งการแอ่นตัวในช่วง 65 ปี จะเพิ่มจาก 0.97 ชม. ถึง 1.89 ชม. เมื่อรับน้ำหนักบรรทุกรถ 10 ล้อ
Other Abstract: Strengths of reinforced concrete structures are primarily deteriorated from strength of materials; concrete and reinforcing bar, and the cross section due to cracks and carbonation depth. Concrete properties are changed with time due to various causes such as carbonation, cracking and corrosion in accordance with effected from environmental condition, air, drainage and traffic loads. At first, the study has conducted bridge assessment to determine structural system such as slabs, beams, piers and columns from construction drawings and on site inspection. Various parameters have been measured and mapped such as cracks, spalls, corrosion, sections, deformation, carbonation depth and rebar condition. Mathematical model has been proposed for prediction of carbonation depth due to a chemical process of carbon dioxide and calcium hydroxide. The action will reduce concrete strength and thin film around reinforcing bars will be attacked, then moisture can penetrate to the rebar to produce rust. By mean of volume change of rust will develop internal force to induce cracks and spalling of concrete. Furthermore cracks also be induced from service loads to accelerate the corrosion of the rebars. Rate of carbonation and corrosion can be predicted and influenced from cement content, water-cement ratio, relative humidity and concentration of carbon dioxide in air, then the deterioration rate of structure from carbonation in concrete and corrosion in rebars can be estimated. The study has found that concrete strength is increased with time of curing but it is decreased by carbonation, and it is supposed to be more permeable from carbonation. Member cross-section will be changed due to cracks and carbonation depth. It will affect flexural, shear, compressive strength of structural member and will increase some deflection to affect serviceability. Therefore, corrosion of rebars will drastic damage to the structural member in strength and deflection. The analysis of Kasatsuek Bridge at 65 years old have found to be decreased by 10% in shear of beam and 10% in compression of column from passenger car. However for HS-20 loads, it found to be decreased by 20% in shear for beam, 20% in flexure for beam, 20% in flexure for pier and 10% in compression for column. For serviceability, the beams have increase deflection from cm to 0.97 cm in 65 years due to passenger car and they have found to be cm to 1.89 cm due to HS-20 loading.
Description: วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2539
Degree Name: วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิศวกรรมโยธา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/35267
ISBN: 9746339907
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Mayta_su_front.pdf6.37 MBAdobe PDFView/Open
Mayta_su_ch1.pdf2.66 MBAdobe PDFView/Open
Mayta_su_ch2.pdf9.45 MBAdobe PDFView/Open
Mayta_su_ch3.pdf4.84 MBAdobe PDFView/Open
Mayta_su_ch4.pdf4.67 MBAdobe PDFView/Open
Mayta_su_ch5.pdf3.57 MBAdobe PDFView/Open
Mayta_su_ch6.pdf759.54 kBAdobe PDFView/Open
Mayta_su_back.pdf19.94 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.