Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/35690
Title: | ความคุ้มค่าของการคัดกรองแอลบูมินปริมาณน้อยในปัสสาวะ (microalbuminuria) ในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 |
Other Titles: | Cost-effectiveness analysis of microalbuminuria screening in type 2 diabetic patients |
Authors: | อรรถสิทธิ์ ศรีสุบัติ |
Advisors: | จิรุตม์ ศรีรัตนบัลล์ เกรียง ตั้งสง่า สุรีรัตน์ งามเกียรติไพศาล |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะแพทยศาสตร์ |
Advisor's Email: | Jiruth.S@Chula.ac.th ไม่มีข้อมูล ไม่มีข้อมูล |
Subjects: | เบาหวาน -- การรักษา ปัสสาวะ ปริญญาดุษฎีบัณฑิต การตรวจคัดโรค Diabetes -- Treatment Urine Medical screening |
Issue Date: | 2555 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | เบาหวานเป็นสาเหตุที่พบมากที่สุดของโรคไตระยะสุดท้ายที่จำเป็นต้องได้รับการบำบัดทดแทนไต ส่งผลกระทบต่อค่ารักษาและคุณภาพชีวิตของผู้ป่วย การคัดกรอง microalbuminuria และให้การรักษาช่วยชะลอการเกิดโรคไตระยะสุดท้ายได้ การศึกษานี้เป็นการประเมินทางเศรษฐศาสตร์ของการคัดกรอง microalbuminuria ด้วยแถบจุ่มปัสสาวะ และการตรวจหาอัตราส่วนของแอลบูมินต่อครีเอตินีนในปัสสาวะเปรียบเทียบกับการไม่คัดกรอง ทั้งนี้ การประเมินต้นทุน-ผลได้ทำในมุมมองของผู้จ่ายเงิน และต้นทุน-ประสิทธิผลทำในมุมมองของสังคม โดยการจำลองการคัดกรองผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 อายุ 45 ปี จำนวน 10,000 คน ผู้ที่ผลคัดกรองเป็นลบจะได้รับการคัดกรองทุกปีเป็นเวลา 30 ปี ผู้ป่วยที่การคัดกรองให้ผลบวกในแต่ละปีจะเข้าสู่แบบจำลอง Markov การคำนวณต้นทุนและผลลัพธ์ใช้อัตราลดที่ร้อยละ 3 ต่อปี ผลการศึกษาพบว่าการประเมินต้นทุน-ประสิทธิผลในมุมมองของสังคมมีต้นทุนส่วนที่เพิ่มต่อปีสุขภาวะเป็นจำนวนเงิน 3,035.44 บาทจากการใช้แถบจุ่มปัสสาวะ และเป็นจำนวนเงิน 4,938.06 บาทต่อปีสุขภาวะเมื่อใช้วิธีตรวจหาอัตราส่วนของแอลบูมินต่อครีเอตินีน ซึ่งน้อยกว่า 1 เท่าของของผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศต่อหัวประชากร ในขณะที่มูลค่าปัจจุบันสุทธิจากการประเมินต้นทุน-ผลได้ในมุมมองของผู้จ่ายเงินเป็นเงิน -11,746,045.98 บาท และการตรวจหาอัตราส่วนของแอลบูมินต่อครีเอตินีนในปัสสาวะเป็นจำนวนเงิน -18,914,483.25 บาท ซึ่งไม่สามารถประหยัดงบประมาณที่ต้องใช้ในการรักษาโรคในอนาคตลงได้ สรุปผลการศึกษาได้ว่าการคัดกรอง microalbuminuria ด้วยวิธีการประเมินต้นทุน-ประสิทธิผลในมุมมองของสังคมมีความคุ้มค่า เนื่องจากต้นทุนที่ต้องจ่ายต่อปีสุขภาวะน้อยกว่าศักยภาพทางเศรษฐกิจของประเทศตามเกณฑ์ขององค์การอนามัยโลก ทั้งนี้ ผู้กำหนดนโยบายควรบรรจุการคัดกรอง microalbuminuria ไว้ในชุดสิทธิประโยชน์สำหรับผู้ป่วยเบาหวานต่อไป |
Other Abstract: | Diabetes Mellitus is the leading cause of end stage renal disease which impacts on treatment cost and patients’ quality of life. Screening for microalbuminuria is useful for early intervention to slow progression to end stage renal disease. This study was the economic evaluation of microalbuminuria screening using urine dipsticks or using albumin to creatinine ratio (ACR) at point of care compared with no screening in type 2 diabetic patients. Cost-benefit and cost-effectiveness analysis were used to assess in the perspective of third party payer and society respectively. Simulated cohort of 10,000 type 2 diabetic patients at age 45 years were screened. Patients with negative results would be screened in the next year for 30 years whereas those with positive results each year passed to Markov model. Cost and outcomes were measured with discount rate 3% a year. The results showed that the incremental cost-effectiveness ratio (ICER) of screening using urine dipsticks compared with no screening was 3,035.44 baht per quality adjusted life year (QALY) and for ACR was 4,938.06 baht per QALY which was lower than a GDPper capita. Whereas, net present value of screening using urine dipsticks or albumin to creatinine ratio method in the perspective of third party payer was -11,746,045.98 baht and -18,914,483.25 baht respectively which were not efficiency because no financial returned to health system in the future. In conclusion, microalbuminuria screening in diabetes was highly cost-effective in the perspective of society according to the WHO’s suggestion criteria. Thus, policy maker should set this screening in the core package of the universal coverage policies. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (วท.ด.) -- จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2555 |
Degree Name: | วิทยาศาสตรดุษฎีบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาเอก |
Degree Discipline: | การวิจัยและการจัดการด้านสุขภาพ |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/35690 |
URI: | http://doi.org/10.14457/CU.the.2012.1430 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.14457/CU.the.2012.1430 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Med - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
attasit_sr.pdf | 1.58 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.